#เราต้องรอด Special : ตราสารหนี้...เลือดหยุดไหล?
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Facebook | Line | Youtube | Instagram
#เราต้องรอด Special : ตราสารหนี้…เลือดหยุดไหล?
กับ อริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
สัมภาษณ์โดย เฟิร์น ศิรัถยา อิศรภักดี Investment Influencer เจ้าของแนวคิด “ใช้แรงทำเงิน ให้เงินทำงาน”
ตลาดตราสารหนี้…เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ
มูลค่าตลาดตราสารหนี้ไทย ณ ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ13.2 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็นตราสารหนี้ภาครัฐ 70% และตราสารหนี้ภาคเอกชน (หุ้นกู้) 30% (คิดเป็นปะมาณ 3.4 ล้านล้านบาท)
โดยตลาดตราสารหนี้เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยก่อนหน้านี้มีเงินไหลออกจากกองทุนตราสารหนี้กว่า 300,000 ล้านบาท แต่ปัจจุบันเริ่มมีเงินเข้ามาลงทุน โดยผู้ลงทุนสถาบัน (กองทุนรวม) มาเป็นผู้ซื้อสุทธิ (วันละประมาณ 15,000 ล้านบาท) อีกทั้งมีผู้เตรียมออกหุ้นกู้ในช่วงเดือนพ.ค. ถึงต้นเดือนมิ.ย. กว่า 10 แห่ง
ปัจจัยที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดตราสารหนี้คือการเข้ามาดูแลจากธนาคารกลางประเทศต่างๆ รวมถึงแบงก์ชาติ ทำให้สภาพคล่องในตลาดรองเริ่มกลับมา อัตราผลตอบแทนเริ่มมีเสถียรภาพ
High Yield Bond กระทบวงจำกัด
นักลงทุนที่ซื้อ High Yield Bond มีเพียง 2 กลุ่ม คือ นักลงทุนสถาบัน (Institutional Investor: II) ซึ่งแทบไม่ลงทุนเลย กับอีกกลุ่มคือนักลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth)
โดยช่วงที่เหลือของปีนี้ High Yield Bond มีที่ครบกำหนดกว่า 30,000 ล้านบาท โดยประมาณ 50% (16,000 ล้านบาท) ไม่มีหลักประกัน แต่ 80% ของมูลค่าดังกล่าวออกโดยบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งมีการเปิดเผยข้อมูล มีมาตรฐานสูง ถูกกำกับดูแล และฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง จึงคาดว่าผลกระทบค่อนข้างจำกัด แม้มีบางบริษัทยื่นขอยืดเวลาชำระหนี้ แต่คาดว่าเป็นเพียงมาตรการชั่วคราวจากผลกระทบของ COVID-19
BSF = โรงพยาบาลสนาม
กองทุน BSF (กองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้) มูลค่า 400,000 ล้านบาท ซึ่งออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย เข้ามาช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน และสร้างเสถียรภาพทางการเงิน ด้วยหลักของโรงพยาบาลสนาม (คือมีไว้ จำเป็นจะได้ใช้ ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใช้) และ Last Resort (คือเป็นแหล่งสุดท้ายของบริษัทที่ต้องการ Rollover โดยต้องใช้กลไกตลาดแบบเดิมก่อนอย่างน้อย 50% ทั้งการออกหุ้นกู้ ขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ หรือเพิ่มทุน หากยังขาดจึงค่อยมาใช้ BSF ด้วยต้นทุนที่สูงกว่าตลาด (ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กองทุน BSF มากกว่าตลาด))
นักลงทุนตราสารหนี้ต้องเข้าใจว่า “ราคาติดลบได้”
การลงทุนในตราสารหนี้ สำหรับการลงทุนโดยตรง นักลงทุนควรพิจารณาความเสี่ยงด้านเครดิต งบการเงิน สัดส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย กระแสเงินสด ผู้บริหาร ฯลฯ ก่อนลงทุน
สำหรับการลงทุนผ่านกองทุนรวม ในความเป็นจริงกองทุนรวมในบ้านเรามักลงทุนในตราสารหนี้ Investment Grade (Credit BBB- ขึ้นไป) ดังนั้นความเสี่ยงด้านเครดิตค่อนข้างต่ำ แต่สิ่งที่ต้องเข้าใจคือกองทุนรวมต้องทำการ Mark to Market ซึ่งราคาอาจเปลี่ยนแปลง (ติดลบได้) จากอัตราผลตอบแทนที่เปลี่ยนแปลง เพื่อจะได้ไม่ตื่นตระหนกและเทขายในราคาที่ไม่ควรจะเป็น