8 คุณสมบัติ “หุ้นปันผลที่ดี”
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Facebook | Line | Youtube | Instagram
บริษัทเต็มใจและมีความพร้อมที่จะจ่ายเงินปันผล
โดยพิจารณาจากบริษัทที่ สามารถสร้างผลกำไรได้สม่ำเสมอมั่นคง (ไม่ใช่เป็นบริษัทที่มีกำไรไม่แน่นอน ปีนี้มี กำไรมาก ปีหน้ากำไรน้อยลง ปีถัดไปขาดทุน) ดังนั้น จึงควรพิจารณาว่าบริษัทมีผลประกอบการ มีผลกาไรมั่นคงแน่นอน เพียงใด โดยดูจากผลการดำเนินงานในอดีตว่าเป็นอย่างไร และควรดูย้อนหลัง 5 ปีขึ้น ไป เพื่อดูความสม่ำเสมอของผลกำไร ว่าขึ้นๆ ลงๆ หรือไม่ สำหรับหุ้นกลุ่มที่จ่ายปันผลสม่ำเสมอและน่าจับตามอง ได้แก่ กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์, หุ้นกลุ่มธุรกิจให้บริการด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า
ราคาหุ้นไม่ผันผวนมาก
พิจารณาหุ้นที่มีค่า Beta ต่ำ หมายความว่า ความผันผวนด้านราคา จะมีไม่มากนัก ดังนั้น เมื่อลงทุนและหวังเงินปันผล ก็ไม่ต้องกังวลกับความผันผวน
บริษัทดำเนินธุรกิจที่ไม่ผันผวน
เมื่อเลือกหุ้นปันผลต้องมองข้ามหุ้นกลุ่มสินค้า โภคภัณฑ์ เพราะเป็นธุรกิจที่ไม่แน่นอน หากเป็นช่วงที่ธุรกิจเป็นวัฎจักรขาลง การซื้อ หุ้นเพื่อรอรับปันผลไปเรื่อยๆ คงไม่เหมาะสมมากนัก เนื่องจากธุรกิจมีความผันผวน ย่อมทำให้ผลการดำเนินงานมีความผันผวนตามไปด้วย
มีมาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่
พิจารณาเลือกหุ้นปันผลที่มีมาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่พอสมควร แต่ถ้าเป็นหุ้นที่มีมาร์เก็ตแคปน้อย ต้องเลือกหุ้นที่มีการกระจายการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float) มากกว่าเกณฑ์ขั้นต่าที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด
บริษัทมีฐานะทางการเงินแข็งแกร่งเพียงพอที่จะจ่ายเงินปันผล
โดยพิจารณาจากโครงสร้างหนี้ว่า มีหนี้สินต่อทุนสูงเกินไปหรือไม่ และโครงสร้างหนี้เป็นหนี้ระยะสั้น หรือระยะยาว (ถ้ามีหนี้ระยะสั้นมาก ความพร้อมในการจ่ายเงินปันผลอาจจะมีน้อย)
Pay-out Ratio 50% ขึ้นไป
Pay-out Ratio อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยอาจจะเลือกหุ้นที่มี Pay-out Ratio มากกว่า 50% ขึ้นไป เพราะเป็นระดับที่บ่งชี้ว่าบริษัทมีการดำเนินงานที่นิ่ง เพราะบริษัทใดที่อยู่ในช่วงขยายกิจการก็ต้องเก็บเงินเอาไว้ขยายกิจการทำให้ระดับการจ่ายเงินปันผลลดลงตามไปด้วย
กระแสเงินสดเป็นบวก
ซึ่งนักลงทุนรายย่อยให้ความสนใจน้อยมาก เพราะจะดูเพียงกำไรขาดทุนเป็นหลัก แต่ความจริงแล้วกระแสเงินสดมีความสำคัญที่สุด เพราะเป็นตัวบ่งชี้ว่าบริษัทมีความสามารถในการจ่ายเงินปันผลหรือไม่ โดยดูได้จากงบกระแสเงินสดว่า บริษัทนั้นๆ มีกระแสเงินสดเป็น “บวก” หรือ “ลบ” เนื่องจากเมื่อทำธุรกิจและมีรายได้เข้ามา จะเป็นกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ซึ่งผู้บริหารของบริษัทจะไปจัดสรรเงินดังกล่าวว่าจะนำไปทำอะไรบ้าง เช่น นำไปลงทุน นำไปจ่ายหนี้ หรือเป็นเงินปันผล ดังนั้น หากกระแสเงินสด “ติดลบ” หากคิดจะจ่ายปันผลก็คงต้องไปกู้เงินมาจ่ายปันผล ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ดีนัก
จ่ายเงินปันผลสูงกว่าระดับเงินเฟ้อ
เพราะถ้าต่ำกว่าระดับเงินเฟ้อก็ไม่มีประโยชน์ที่จะลงทุน และถ้าจะให้ดีที่สุดเงินปันผลจะต้องสูงกว่าระดับเงินเฟ้อบวกกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก