×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

เทคนิคง่ายๆ เริ่มสร้าง ‘เงินสำรองฉุกเฉิน’

132

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Youtube | Facebook | TikTokInstagramLine 

 

อยากเริ่มเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี?

 

มาดูเทคนิคง่ายๆ พร้อมทางเลือกสำหรับการเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน

 

ในยุคที่ความไม่แน่นอนทางการเงินมีมากขึ้น เงินสำรองเผื่อฉุกเฉินจะช่วยป้องกันความเสี่ยงทางการเงินและลดความเครียดเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ เช่น การเจ็บป่วย การซ่อมแซมบ้าน หรือการถูกเลิกจ้างงาน

 

ความสำคัญ ของเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน

 

เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เงินสำรองเผื่อฉุกเฉินช่วยให้ไม่ต้องกู้ยืมเงิน ซึ่งอาจทำให้สถานการณ์ทางการเงินแย่ลง อีกทั้งยังช่วยลดความเครียดและความกังวลลง ทำให้สามารถจัดการกับสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ตัวอย่างเช่น คนอาชีพฟรีแลนซ์ที่ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับครอบครัว แต่วันหนึ่งเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลและไม่สามารถทำงานได้เป็นเวลากว่า 1 เดือน หากมีเงินสำรองที่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายครอบครัวในช่วงที่ไม่สามารถทำงานได้ และมีประกันหรือเงินสำรองที่ครอบคลุมการรักษาครั้งนี้ ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการเงินและมุ่งเน้นไปที่การฟื้นฟูสุขภาพได้อย่างเต็มที่

 

เริ่มต้นสร้าง เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน

 

ด้วยการวางแผนและมีความมุ่งมั่นในการออมเงิน โดย

 

1. กำหนดเป้าหมายเงินสำรอง 

 

สำหรับคนโสดหรือเพิ่งทำงานไม่กี่ปี ควรมีเงินสำรองให้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย 3-6 เดือน 

 

ส่วนคนที่มีครอบครัวหรือทำงานมาแล้วหลายปี ควรมีเงินสำรองให้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย 6-12 เดือน 

 

และควรทบทวนจำนวนเงินที่ว่าอยู่เสมอโดยเฉพาะเมื่อค่าใช้จ่ายมีการเปลี่ยนแปลง

 

2. วิเคราะห์รายได้-ค่าใช้จ่ายปัจจุบัน

 

ตรวจสอบรายได้และค่าใช้จ่ายเดือนปัจจุบันหรือเดือนที่ผ่านมา เพื่อเช็กว่าสามารถออมเงินได้เดือนละเท่าไหร่ ซึ่งอย่างน้อยควรออมให้ได้ 10%-20% ของรายได้แต่ละเดือน

 

3. หักเงินออมจากรายได้ 

 

ด้วยการตั้งโอนเงินหรือลงทุนอัตโนมัติทุกเดือน ในวันที่เงินเดือนเข้าหรือคาดว่ามีรายได้เข้าบัญชี เพื่อเป็นการสร้างเงินออมและเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินอย่างมีวินัย

 

3 ทางเลือก สำหรับเงินสำรองฉุกเฉิน

 

ทางเลือกที่เหมาะสมกับเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถเข้าถึงเงินได้ง่ายและได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม เช่น

 

1. บัญชี e-Savings 

 

ที่โอน/จ่ายได้ทุกที่ผ่านแอปธนาคารในมือถือ และถอนเงินได้ที่ตู้ ATM ของธนาคารเจ้าของบัญชี ปัจจุบันดอกเบี้ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 1.5% ต่อปี สูงกว่าออมทรัพย์ทั่วไปประมาณ 5-6 เท่า และอาจสูงกว่าดอกเบี้ยหลังหักภาษีของเงินฝากประจำ 12 เดือนด้วย

 

2. บัญชีเงินฝากประจำ 

 

ยิ่งเลือกฝากนานดอกเบี้ยที่ได้ยิ่งสูง สามารถถอนได้ที่สาขาธนาคารแม้ยังฝากไม่ครบกำหนดแค่อาจได้ดอกเบี้ยน้อยลงเท่านั้น โดยมีทั้งแบบเงินฝากประจำทั่วไปที่เลือกฝากเป็นครั้งๆ หรือเงินฝากประจำปลอดภาษีที่ต้องฝากเท่ากันทุกเดือน อย่างน้อย 24 เดือนติดต่อกัน

 

3. กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น

 

แบบที่ขายคืนได้ทุกวันทำการ รอ 1 วันทำการก็ได้เงิน ความเสี่ยงต่ำ โอกาสขาดทุนน้อย ผลตอบแทนที่ได้รับจากการขายคืนไม่เสียภาษี

 

การสร้างเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินเป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางการเงินและการเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ด้วยการวางแผนและออมเงินอย่างมีวินัย เพื่อให้สามารถสร้างเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินที่เพียงพอและพร้อมใช้งานเมื่อถึงยามจำเป็น

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats