×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

Checklist ก่อนเสียภาษีกลางปี

4,224

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

ภาษีกลางปีแม้ยังขอคืนไม่ได้เหมือนตอนสิ้นปี แต่ก็สามารถวางแผนให้จ่ายน้อยลงได้ ด้วย 3 ขั้นตอนง่ายๆ

 

เช็กตนเอง ว่าต้องยื่นภาษีกลางปีไหม?

สำหรับคู่ที่แต่งงานแล้ว หากมีรายได้ 40(5)-40(8) ในช่วงครึ่งปีแรกรวมกันเกิน 120,000 บาท (คนโสดเกิน 60,000 บาท) ต้องนำรายได้ที่ว่าไปยื่นภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในช่วง ก.ค.-ก.ย. ของปีนั้นๆ

 

สำหรับรายได้ 40(5)-40(8) ที่ว่า ได้แก่

   – 40(5) คือ รายได้จากการให้เช่า เช่น ค่าเช่าบ้าน/คอนโด/ที่ดิน รวมถึงค่าเช่าทรัพย์สินอื่นๆ ด้วย ฯลฯ

   – 40(6) คือ รายได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ ซึ่งมักผันแปรตามความยากง่ายของเนื้องาน เช่น รายได้ของคุณหมอที่ขึ้นกับความยากของโรคที่รักษา รายได้นักบัญชีจากการทำหรือสอบบัญชี รายได้วิศกรจากการออกแบบ รายได้ทนายความจากการว่าความ ฯลฯ

   – 40(7) คือ รายได้จากการรับเหมา เช่น รับเหมาก่อสร้าง รับเหมาทำเครื่องใช้/เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ โดยต้องเป็นการรับเหมาที่จัดหาเครื่องมือ วัสดุ และอุปกรณ์ต่างๆ มาเอง

   – 40(8) ครอบคลุมรายได้หลายแบบ เพราะคือรายได้ใดๆ ที่ไม่ใช่ 40(1)-40(7) นั่นเอง ตัวอย่าง 40(8) ที่เห็นได้บ่อย เช่น รายได้จากการค้าขายไม่ว่าจะขายออนไลน์หรือมีหน้าร้าน รายได้ของนักร้องนักแสดง ฯลฯ

 

เช็กสิทธิว่าใช้ตัวช่วยได้เท่าไหร่?

ตัวช่วยลดหย่อนภาษีกลางปีนั้น หลายตัวมีความใกล้เคียงกับตอนสิ้นปี เช่น

   – กองทุน LTF ที่ลดหย่อนได้ตามเงินที่ลงทุนจริงในช่วงครึ่งปีแรก สูงสุด 15% ของเงินได้ที่ต้องยื่นภาษีกลางปี แต่ไม่เกิน  500,000 บาท

   – กองทุน RMF ที่ลดหย่อนได้ตามเงินที่ลงทุนจริงในช่วงครึ่งปีแรก สูงสุด 15% ของเงินได้ที่ต้องยื่นภาษีกลางปี*

   – ประกันบำนาญ ที่ลดหย่อนได้ตามเบี้ยที่จ่ายจริงในช่วงครึ่งปีแรก สูงสุด 15%ของเงินได้ที่ต้องยื่นภาษีกลางปี แต่ไม่เกิน  200,000 บาท*

 

* กองทุน RMF + ประกันบำนาญ + กอช. + กบข. + PVD” รวมแล้วลดหย่อนได้ไม่เกิน  500,000 บาท

 

สำหรับตัวช่วยที่ต่างจากสิ้นปี เช่น เบี้ยประกันชีวิตลดหย่อนได้ตามเบี้ยที่จ่ายจริงในช่วงครึ่งปีแรก แต่ไม่เกิน 95,000 บาท (สิ้นปีใช้สิทธิได้ไม่เกิน 100,000 บาท)

 

เช็กรายได้ครึ่งปี ว่ารวมได้เท่าไร?

เพราะรายได้ที่ต้องยื่นภาษีกลางปี ส่วนใหญ่มักไม่แน่นอน ดังนั้นเมื่อรับเงินต้องเก็บหนังสือรับรองรายได้และภาษีหัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) จากผู้ว่าจ้างทุกครั้ง ซึ่งจะระบุจำนวนรายได้ ลักษณะงานที่ว่าจ้างหรือประเภทรายได้ ว่าเป็นประเภทไหนใน 40(1) – 40(8)

 

แต่หากผู้ว่าจ้างยังไม่ออกให้ทันทีก็ต้องจดบันทึกรายได้ต่างๆ และลักษณะงานที่ทำไว้ด้วยตนเอง เพื่อที่จะได้สามารถเช็กสิทธิตัวช่วยลดภาษี อย่างกองทุน LTF/RMF และประกันบำนาญได้

 

ไม่ว่าจะจ่ายภาษีให้น้อยหรือจ่ายให้ช้าอย่างถูกวิธี ล้วนเป็นการวางแผนภาษี เพื่อให้เรามีโอกาสนำเงินส่วนนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก่อนที่ต้องส่งให้สรรพากรตามหน้าที่ของผู้มีเงินได้ทุกคน

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats