4 เทคนิค "ตามเงิน" ว่ากำลังจะไปไหน
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Facebook | Line | Youtube | Instagram
ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้มีเงินใช้จ่ายแบบไม่ขาดมือ หรือเรียกว่า มีอิสรภาพทางการเงิน นั่นคือ การติดตามการใช้จ่ายของตัวเอง ซึ่งมีกระบวนการก็ไม่มีอะไรซับซ้อน ขอแค่ลงมือทำทันที
รวบรวมเอกสารการจ่าย
ขั้นตอนแรกในการติดตามค่าใช้จ่าย คือ การรวบรวมบันทึกค่าใช้จ่ายรายเดือนทั้งหมด
- ใบแจ้งยอดบัญชีการเงินทั้งหมดในแต่ละเดือน
- ใบแจ้งยอดชำระหนี้รายเดือน เช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หนี้ผ่อนต่าง ๆ
- ใบเสร็จรับเงินจากการซื้อของด้วยเงินสด
ข้อมูลเหล่านี้ทำให้รู้ว่าวันที่ซื้อข้าวข้องแต่ละครั้ง ราคาที่ซื้อ และรายละเอียดเกี่ยวกับทางการเงิน เช่น เงินต้น ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย นอกเหนือจากนี้ ต้องติดตามค่าใช้จ่ายคงที่ด้วย เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ามือถือ ที่ต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน
ใช้แอปฯ การเงิน
ปัจจุบันมีแอพพลิเคชั่นด้านการวางแผนการเงินให้บริการฟรีและใช้งานได้ง่าย เพียงดาวน์โหลดเข้ามาในมือถือ และเมื่อไปซื้อข้าวของไม่ว่าจะเป็นชิ้นใหญ่หรือแม้แต่ซื้อกาแฟแก้วเดียว หลังจากจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ก็ควรทำการบันทึกข้อมูลค่าใช้จ่ายทันที
จัดประเภทค่าใช้จ่าย
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้รู้เส้นทางการเงินในแต่ละเดือนหรือรู้ว่าจ่ายเงินซื้อข้าวของอะไรบ้าง คือ การจัดประเภทค่าใช้จ่ายเป็นหมวดหมู่ หลัก ๆ มีอยู่ 3 ประเภท
- ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน พบว่าประมาณ 50 – 60% ของรายได้ในแต่ละเดือน จะเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีวิต เช่น ค่าอาหาร ข้าวของที่ใช้ในบ้าน ค่าเดินทาง ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ รวมถึงค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ามือถือ
- ค่าใช้จ่ายเพื่อสร้างความสุขให้กับตัวเอง แต่อาจส่งผลกระทบต่อการก่อหนี้ในระยะยาว เช่น ซื้อมือถือเครื่องใหม่ปีละครั้ง ซื้อทีวีเครื่องใหม่ทั้ง ๆ ที่พึ่งซื้อเมื่อครึ่งปีที่แล้ว สังสรรค์กับเพื่อนทุกเย็นวันศุกร์
- ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตทางอ้อม เช่น ท่องเที่ยว ค่าใส่ซองตามงานพิธีต่าง ๆ รวมถึงเงินที่แบ่งไปเก็บออมและลงทุน
เมื่อจัดประเภทค่าใช้จ่ายให้เป็นระเบียบ จะทำให้สามารถติดตามว่าเงินหมดไปกับอะไรได้ง่าย ผลก็คือ สามารถบริหารจัดการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพว่าควรซื้อและไม่ควรซื้ออะไร
ประเมินเส้นทางของเงิน
เมื่อเห็นข้องมูลค่าใช้จ่ายของตัวเองแล้ว จะเห็นว่าเงินที่จ่ายไปนั้นจ่ายไปกับอะไรบ้าง จำนวนเท่าไหร่ ที่สำคัญคุ้มค่ากับค่าแรงต่อชั่วโมงในการทำงานหรือไม่
เช่น ทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ได้รับค่าจ้างวันละ 400 บาท (1 ชั่วโมง ได้ค่าจ้าง 50 บาท) แต่ซื้อกาแฟแก้วละ 100 บาททุกวัน แสดงว่าต้องทำงาน 2 ชั่วโมงเพื่อแลกกับกาแฟแก้วนี้
การเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับรายได้แบบนี้ เพื่อทำให้เกิดคำถามกับตัวเองว่าพอใจกับผลลัพธ์หรือไม่ ถ้าคำตอบ ใช่ แปลว่า ไม่มีปัญหาทางด้านการเงิน แต่ถ้าคำตอบ ไม่ใช่ อาจมีปัญหาทางด้านการเงิน แต่เมื่อรู้ที่มาที่ไปของเงิน ย่อมแก้ปัญหาได้ตรงจุด
การทำแบบนี้ นอกจากจะทำให้ไม่ลืมจดบันทึกข้อมูลทางการเงิน ยังทำให้รู้ว่าเงินหมดไปกับอะไรบ้าง หากซื้อของที่ไม่จำเป็นหรือของฟุ่มเฟือย ย่อมทำให้เกิดการใส่ใจมากขึ้นกับค่าใช้จ่ายในครั้งถัดไป และเห็นคุณค่าของเงินมากขึ้น