×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

โอกาส vs. วิกฤต COVID-19…พลิกพอร์ตยังไงดี?

2,260

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

Wealth Me Up มีโอกาสดำเนินรายการใน Clubhouse ในประเด็น โอกาส vs. วิกฤต COVID-19…พลิกพอร์ตยังไงดี? ร่วมกับ 2 นักกลยุทธ์มากประสบการณ์ คุณโชติช่วง ธีรขจรโชติ รองกรรมการผู้จัดการ สายการลงทุน Thanachart Fund Eastspring และคุณบดินทร์ พุทธอินทร์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน TMBAM Eastspring สำหรับใครที่พลาดโอกาสในการฟัง เราสรุปมาให้แล้ว

 

DM โดดเด่น EM ถูกลดความน่าสนใจ

 

COVID-19 ที่กลับมาระบาดอีกครั้ง พร้อมการกลายพันธุ์ ทำให้สถานการณ์ทั่วโลกเข้าสู่ความ “ไม่สมดุล” ของการฟื้นตัว โดยตลาดของประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Market: DM) ฟื้นตัวได้ดีกว่าประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Market : EM) จากการกระจายวัคซีนที่ทั่วถึง เช่น สหรัฐอเมริกา ที่ประชากรประมาณ 1 ใน 3 ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว และสามารถควบคุมการระบาดได้ค่อนข้างดี แตกต่างจากประเทศในกลุ่ม EM ที่เผชิญกับการระบาดระลอกใหม่ เช่น อินเดีย กระทั่งมีผู้ติดเชื้อใหม่รายวันสูงเกือบ 380,000 ราย

 

ส่งผลให้โอกาสการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และความน่าสนใจในการลงทุนกลับไปสู่ประเทศกลุ่ม DM อีกครั้ง โดยเฉพาะในเดือนเมษายน ตลาดหุ้นสหรัฐ-ยุโรป ปรับตัวขึ้นแล้วประมาณ 6-7%

 

ไม่ถึงกับ “Sell in May” แค่ “Sideway in May

 

ในช่วง 10 ที่ผ่านมาตลาดหุ้นที่มีแรงขายในช่วง “เดือนพฤษภาคม” พบว่าไม่มีนัยสำคัญมากนัก ยกเว้นตลาดหุ้นไทย

 

  • ตลาดหุ้นสหรัฐ ติดลบ 3 ปี
  • ตลาดหุ้นยุโรป ติดลบ 4 ปี
  • ตลาดหุ้นจีน ติดลบ 5 ปี
  • ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ติดลบ 5 ปี
  • ตลาดหุ้นไทย ติดลบ 8 ปี

 

โดยภาพหลังจากนี้ “ตลาดหุ้นไทย” ไม่น่าเผชิญกับแรงขายหนักถึงกระทั่งมีเหตุการณ์ Sell in May เนื่องจากการระบาดระลอก 3 มาพร้อมกับวัคซีนที่ทอยเข้ามาถึง 4 ยี่ห้อ (Sinovac, Astrazeneca, Johnson & Johnson และ Moderna) ต่างจากรอบแรกที่ประเทศไทย และภาคธุรกิจยังไม่มีแนวทางในการรับมือ เนื่องจากไม่สามารถคาดการณ์สถานการณ์ได้

 

บลจ. จึงคาดว่าเดือนพฤษภาคมจะเป็นเพียงแค่ Sideway in May เท่านั้น ซึ่งกลุ่มหุ้นที่น่าจะได้รับผลกระทบน้อยกว่ากลุ่มอื่นคือ Global Play, ปิโตรเคมี, ผู้ให้บริการสินเชื่อสำหรับกลุ่มรายย่อย ดังนั้นผู้ลงทุนควรลงทุนแบบ Selective ในตลาดหุ้นไทย

 

ขณะที่ตลาดหุ้นต่างประเทศก็มีแนวโน้ม Sector Rotation ในรูปแบบเดียวกัน คืออิงกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก (Recovery Theme) ทำให้หุ้นที่คาดว่าจะได้รับอานิสงค์หลักคือกลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี และสินค้าโภคภัณฑ์

 

กดปุ่ม “Risk On” แต่ต้องจับตา 2 ปัจจัยเสี่ยง

 

สำหรับช่วง Q2-Q3/2021 คาดว่าจะมีปัจจัยบวก สนับสนุนการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกได้ต่อเนื่อง (Risk On Mode) แต่สิ่งที่ต้องจับตาในระยะต่อไปคือ

 

  • มาตรการการขึ้นภาษีของรัฐบาลสหรัฐ ทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา-นิติบุคคล และภาษีกำไรจากการลงทุนในตลาดหุ้น หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐ อัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลัง เพื่อรับมือกับ COVID-19 รวมแล้วคิดเป็นสัดส่วนถึงประมาณ 40% ของ GDP ซึ่งการขึ้นภาษีดังกล่าวมีแนวโน้มจะกดดันบรรยากาศการลงทุนในระยะต่อไป

 

  • QE Tapering หรือการลดวงเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่าง ๆ ที่ก่อนหน้านี้อัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนมาก โดยมีการประเมินว่าหากเพียงแค่ธนาคารกลางสหรัฐ ส่งสัญญาณในการลดวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็อาจส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับฐานลงประมาณ 5-10% แต่ทั้งนี้คาดว่า FED จะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป จนกระทั่งปี 2023 จึงค่อยทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย (แบบค่อยเป็นค่อยไป)

 

กระจายลงทุน | เพิ่มน้ำหนักหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐ – กลุ่ม Income

 

การปรับขึ้นของตลาดหุ้นก่อนหน้านี้มากจาก “Hope” (ความหวัง) แต่ ณ ปัจจุบันเป็นการปรับขึ้นจาก “Fact” (ความจริง) หลังมีการทยอยประการงบ Q1/2021 ออกมา ซึ่งพบหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในสหรัฐ ผลประกอบการช่วง 3 เดือนแรกออกมาสดใส ส่งผลให้เดือนเม.ย. หุ้นกลุ่มนี้ขยับขึ้นไปประมาณ 7% สวนทางกับกลุ่ม Value ที่ร่วงลงประมาณ 3%

 

ดังนั้น บลจ. จึงแนะนำนักลงทุนสำหรับการปรับพอร์ตดังนี้

 

1. สำหรับพอร์ตความเสี่ยงปานกลางสามารถเพิ่มน้ำหนักลงทุนในหุ้นได้เพิ่มขึ้นจากเดิม 50% ของพอร์ต เป็น 60% ของพอร์ต (โดยแบ่งเป็นหุ้นสหรัฐ 20% หุ้นยุโรป 15% หุ้นเอเชีย-จีน 15-20%)

 

2. หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐ เริ่มมีแรงซื้อกลับมาหลังผลประกอบการ Q1/2021 ออกมาสดใสสะท้อนภาพการเติบโตในระยะยาว และรับอานิสงค์มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง

 

  • American Rescue Plan $1.9 ล้านล้าน (อนุมัติแล้ว)
  • American Job Plan $2.3 ล้านล้าน (ยังไม่อนุมัติ)
  • American Family Plan $1.8 ล้านล้าน (ยังไม่อนุมัติ)

 

3. นักลงทุนควรกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุนและจัดพอร์ตให้สมดุลมากขึ้น เนื่องจากธนาคารกลาง และรัฐบาล ของแต่ละประเทศที่เคยเป็นพระเอกในการกระตุ้นเศรษฐกิจ-ตลาดหุ้น อาจลายเป็นความเสี่ยงในระยะต่อไป จากการปรับทิศนโยบายการเงิน-การคลัง

 

4. ควรเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างรายได้ (กลุ่ม Income) เพื่อเพิ่มเสถียรภาพให้กับพอร์ตการลงทุนในช่วงเวลานับจากนี้

 

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats