×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

1O กองทุน SSF ผลงานโดดเด่น

2,838

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

SSF ย่อมาจาก Super Savings Fund หรือกองทุนรวมเพื่อการออม เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อมาทดแทนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่สิ้นสุดลงในปี 2562 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางถึงน้อย และผู้ที่เริ่มเข้าสู่วัยทำงานมีการออมระยะยาวมากขึ้น และได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างเต็มที่ ซึ่งหากเคยซื้อ LTF คงรู้ว่ามีนโยบายลงทุนในหุ้นไทยเป็นหลัก

 

แต่สำหรับ SSF บอกได้เลยว่ามีนโยบายลงทุนให้เลือกหลากหลายการลงทุนในสินทรัพย์แทบทุกประเภททั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ กองทุนดัชนี ผสมกันทั้งหุ้นและตราสารหนี้ ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ดังนั้น ก่อนตัดสินใจคงต้องพิถีพิถันและศึกษาข้อมูลให้ถ้วนถี่ขึ้น

 

ก่อนอื่นต้องถามตัวเองก่อนว่าพร้อมแค่ไหนโดยเฉพาะเรื่องเงิน เพราะเมื่อซื้อ SSF ไปแล้วจะต้องถือครองไม่น้อยกว่า 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ พูดง่าย ๆ ซื้อไปแล้วจะขายออกได้ก็ต่อเมื่อครบ 10 ปี ดังนั้น จึงต้องมีเงินเย็นเพื่อแบ่งมาซื้อ

 

จากนั้นก็คำนวณภาษีที่ตัวเองจะต้องจ่ายให้กรมสรรพากรแต่ละปี เพื่อจะได้แบ่งเงินมาซื้อ SSF ได้ไม่เกินสิทธิ ขณะเดียวกันก็ทำความเข้าใจและยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆ เพราะอย่าลืมว่าเป็นกองทุนที่มีเงื่อนไขเยอะกว่ากองทุนรวมทั่ว ๆ ไป ที่สำคัญหากทำผิดเงื่อนไขจะต้องมีบทลงโทษและถูกปรับสิทธิประโยชน์จากกรมสรรพากร

 

เมื่อพร้อมแล้วก็ต้องเข้าไปดูรายละเอียดแต่ละกองทุนว่าเป็นอย่างไร เช่น นโยบายการลงทุน ค่าธรรมเนียม ผลตอบแทนย้อนหลัง การจ่ายเงินปันผล เป็นต้น

 

สำหรับการทำความเข้าใจในเบื้องต้นว่าตัวเองเป็นนักลงทุนสายไหน ผู้จัดการกองทุน บลจ.กรุงไทย มีคำแนะนำและทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ได้ทันที

 

สไตล์สายเสมอ ซื้อทีเดียวตอนปลาย

 

หลายคนมีงานยุ่งตลอดทั้งปี พอคิดได้อีกก็ปลายปีจึงตัดสินใจซื้อ SSF ทีเดียวตอนเดือนธันวาคม หรือบางคนโบนัสออกจึงใช้โอกาสนี้ไปซื้อ แต่ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ช่วงปลายปีตลาดหุ้นอาจปรับขึ้นกลายเป็นได้ซื้อแพงไป หรือในระหว่างปีอาจใช้เงินก้อนใหญ่ ๆ อาจเหลือเงินไม่มากในตอนปลายปีก็แบ่งเงินมาซื้อ SSF ได้เพียงเล็กน้อย ทำให้ได้รับสิทธิทางภาษีน้อยลงตามไปด้วย

 

สไตล์สายเกร็ง จับจังหวะซื้อตอนตลาดร่วง

 

กลุ่มนี้ชอบจับจังหวะ รอวันที่มีข่าวร้าย วันที่ตลาดการลงทุนปรับลดลงแรง ๆ ก็เข้าซื้อ SSF วันต่อมาตลาดร่วงอีกก็ซื้ออีก ถ้าโชคดีจับจังหวะตลาดถูกก็จะได้ต้นทุนต่ำ แต่ถ้ายิ่งซื้อยิ่งลง ซื้อจนเงินหมด ก็ไม่ต่างอะไรกับการซื้อแล้วถัวเฉลี่ยขาลง ซึ่งจากประวัติศาสตร์ของตลาดทั่วโลก เป็นเรื่องยากมากที่จะคาดเดาการขึ้นลงได้อย่างแม่นยำ

 

สไตล์สายกลาง ซื้อทุกเดือน

 

กลุ่มนี้เชื่อว่าตลาดลงทุนมีขึ้นมีลง จับจังหวะไม่ถูก ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ซื้อถัวเฉลี่ยทุกเดือน หรือวิธี DCA ถึงแม้ว่าต้นทุนจะไม่ได้ต่ำที่สุด แต่ก็จะไม่ได้ซื้อในราคาแพงที่สุดเช่นกัน ที่สำคัญเหมือนเป็นการออมเงินและฝึกวินัยการลงทุนไปในตัวด้วย

 

สไตล์สายผสม ลงก็ซื้อ ไม่ลงก็ซื้อ

 

ออกแนวรักพี่เสียดายน้อง กลุ่มนี้จะแบ่งเงินลงทุนเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน ส่วนหนึ่งก็ DCA ทุกเดือน อีกส่วนหนึ่งก็จับจังหวะ เห็นช่วงไหนตลาดลงก็ซื้อไป ผ่านไปอีกเดือนสองเดือน ตลาดลงไปอีกก็ซื้ออีก ซื้อจนครบโควต้าที่ต้องการ

 

ทั้ง 4 สไตล์คงบอกไม่ได้ว่าเหมาะกับใคร ดังนั้น ต้องถามตัวเองให้ดี ๆ ว่าชอบสไตล์ไหนและซื้อ SSF แบไหนที่ไม่เดือดร้อนเงินในกระเป๋าก็เลือกสไตล์นั้น ส่วนจะเลือกกองทุนไหนก็เริ่มต้นจากการดูผลตอบแทนย้อนหลังว่าสร้างผลงานได้ดีสม่ำเสมอมากน้อยแค่ไหน ที่สำคัญนอกจากจะได้ประโยชน์ด้านภาษีแล้ว SSF ยังเป็นแหล่งออมเงินระยะยาวเพื่อนำไปใช้หลังเกษียณ ดังนั้น ถ้าพร้อมก็ควรซื้อกันตั้งแต่วันนี้ได้เลย

 

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats