5 Steps เก็บเงินเผื่อฉุกเฉิน
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Facebook | Line | Youtube | Instagram
อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ด้วยเหตุผลนี้ทุกคนจึงต้องเก็บเงินก้อนหนึ่งเอาไว้ เงินก้อนนี้เรียกว่า เงินเผื่อฉุกเฉิน และเมื่อมีเหตุจำเป็นต้องใช้ เช่น ตกงาน เข้ารักษาที่โรงพยาบาล ก็สามารถนำเงินก้อนนี้มาใช้ ดังนั้น ทุกคนจึงควรเงินสักก้อนเพื่อให้มั่นใจได้ว่าเมื่อฉุกเฉินก็มีเงินเพียงพอที่จะช่วยให้ผ่านเหตุการณ์จนกว่าจะสามารถลุกขึ้นยืนได้
ในช่วงที่ภาวะปกติ คงไม่มีปัญหากับการเก็บเงินเอาไว้เผื่อฉุกเฉิน แต่ในช่วงวิกฤติ COVID พบว่ามีหลายคนที่ไม่สามารถเก็บเงินก้อนนี้ได้ เพราะต้องแบกค่าใช้จ่ายประจำวันมากขึ้นจึงไม่มีเงินเหลือพอที่จะแบ่งไปเก็บเผื่อฉุกเฉิน อย่างไรก็ตาม ทุกคนสามารถสร้างเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินได้ ถึงแม้ว่าจะมีภาระค่าใช้จ่ายอยู่ก็ตาม ด้วยเทคนิคเบื้องต้น ดังนี้
ตั้งเป้าหมาย
ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเศรษฐกิจขยายตัว ซบเซา หรือยิ่งอยู่ในช่วงวิกฤติ เป้าหมายสำคัญอันดับต้น ๆ ทางด้านการเงิน คือ การมีเงินก้อนหนึ่งเอาไว้เสมอเพื่อเตรียมไว้ใช้ยามเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยเงินก้อนนี้ควรมีอย่างน้อย ๆ 3 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน เช่น ค่าใช้จ่ายรายเดือนอยู่ที่ 10,000 บาท จะต้องเก็บเงินเผื่อฉุกเฉินอย่างน้อย 30,000 บาท
วางแผนแล้วต้อไปให้ถึง
เมื่อตั้งเป้าหมายแล้วก็ต้องทำให้ได้ เช่น สมมติว่าต้องการมีเก็บเผื่อฉุกเฉิน 30,000 บาทภายในหนึ่งปี แสดงว่าต้องเก็บเงิน 2,500 บาทต่อเดือน หรือ 577 บาทต่อสัปดาห์ หรือ 82 บาทต่อวัน ซึ่งตัวเลขดูเหมือนจะสูงเกินไปสำหรับบางคนจึงควรหาวิธีเพิ่มเงินเก็บ เช่น ลงทุนกองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยสั้น เพื่อให้ได้รับผลตอบแทน
ลดรายจ่าย เพิ่มเงินเก็บ
หากเงินรายได้ไม่เยอะก็ต้องมองหาตัวช่วย ซึ่งวิธีที่ง่ายและสามารถลงมือทำได้ทันที คือ ลดค่าใช้จ่าย เช่น ลดการทานอาหารนอกบ้าน ลดการช้อปปิ้ง ยกเลิกการเป็น สมาชิกาต่าง ๆ ลดแพ็กเกจมือถือและอินเทอร์เน็ต ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น จากนั้นก็นำเงินไปเก็บไว้เผื่อฉุกเฉิน
หักจากรายได้
อีกทางเลือกหนึ่ง คือ เมื่อมีรายได้ (เงินเดือน) เข้ามาในบัญชี หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วก็จะเห็นว่าเหลือเงินอยู่เท่าไหร่ ก็ให้กันเงินบางส่วนเป็นเงินเก็บเผื่อฉุกเฉิน เช่น เหลือเงิน 3,000 บาทหลังหักค่าใช้จ่าย ก็กัน 800 – 1,000 บาทเป็นเงินเก็บเผื่อฉุกเฉิน
ทำอย่างมีวินัย
หากลงมือทำอย่างมีวินัยจะทำให้มีเงินเก็บเผื่อฉุกเฉิน แต่อย่าลืมว่าเมื่ออายุมากขึ้น มีครอบครัว หรือแม้แต่เหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เช่น วิกฤติต่าง ๆ ดังนั้น ก็ต้องเพิ่มเงินเก็บเผื่อฉุกเฉินให้มากขึ้นด้วย