×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

1O กองทุน SSF ผลตอบแทน 3 ปีท็อปฟอร์ม

866

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Facebook | Line Youtube | Instagram

 

นับตั้งแต่ดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นมาตลอดกว่า 1 ปี ประกอบกับเงินเฟ้อปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว ความกังวลเศรษฐกิจถดถอย ทำให้ผลตอบแทนในช่วงปี 2565 ของกองทุนรวมการออมระยะยาว (กองทุน SSF) ปรับลดลง และหลายกองทุนมีผลตอบแทนติดลบ ทำให้นักลงทุนเริ่มถามตัวเองว่าควรลงทุนต่อ หรือนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น

 

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นวัยทำงาน กองทุน SSF ถือเป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ เพราะระยะเวลาในการถือครองเพียง 10 ปี (ต้องถือครองอย่างน้อย 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อแบบวันชนวัน) ที่สำคัญไม่ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี (ปีไหนต้องการซื้อก็ค่อยลงทุน หรือปีไหนเสียภาษีสูงก็ค่อยลงทุน) ที่สำคัญมีเงินเพียง  1 บาท ก็สามารถเริ่มต้นลงทุนได้ และในแต่ละปีจะลงทุนกองทุนของ บลจ. ไหน ลงทุนจำนวนกี่กองทุนก็ได้ ขอเพียงลงทุนตามเงื่อนไขที่กำหนดเอาไว้เท่านั้น

 

สำหรับการลงทุนกองทุน SSF มักตัดสินใจลงทุนตามอายุ ถ้าอายุน้อย ๆ เช่น ต่ำกว่า 30 ปี สามารถเน้นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นในสัดส่วนสูง เช่น 80% ที่เหลืออีก 20% ก็ลงทุนกองทุนที่มีนโยบายลงทุนตราสารหนี้ และเมื่ออายุมากขึ้นก็ลดสัดส่วนหุ้น และเพิ่มน้ำหนักตราสารหนี้

 

นอกจากนี้ อาจลงทุนด้วยกฎ Rule of Thumb ด้วยการหาสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูง โดยนำปัจจุบันหักออกจาก 100 ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นสัดส่วนที่ควรลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูง เช่น อายุ 30 ปี ควรมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้น 70% (100 – 30 = 70) หมายความว่า ควรลงทุนกองทุน SSF มีนโยบายลงทุนในหุ้น 70% อีก 30% ลงทุนกองทุนที่มีนโยบายลงทุนตราสารหนี้

 

อีกทั้ง สไตล์การลงทุนจะมีความแตกต่างกัน จึงควรเลือกกองทุน SSF ให้สอดคล้องกับสไตล์ตัวเอง โดยข้อมูลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แนะนำว่า 

 

  • สาย DCA หากถนัดลงทุนกองทุน SSF แบบสม่ำเสมอทุกเดือน ก็ต้องใช้รูปแบบ DCA ซึ่งเหมาะกับผู้ที่วางแผนภาษีตั้งแต่ต้นปี และรู้ว่าต้องซื้อกองทุน SSF ทั้งหมดเท่าไรในปีนั้น
  • สายตุน เป็นการลงทุนกองทุน SSF แบบซื้อตุน เช่น เมื่อได้โบนัสช่วงต้นปีก็แบ่งเงินสักก้อนมาลงทุนกองทุน SSF ตุนไว้ก่อน เมื่อในระหว่างปีนั้นหากเห็นว่าภาวะตลาดปรับลดลงก็ค่อยเข้าลงทุนในจังหวะขาลง ราคาซื้อก็จะลดลงด้วย
  • สายถัว เป็นการลงทุนกองทุน SSF แบบรอซื้อถัว ด้วยการรอจังหวะตลาดปรับลดลงแล้วเข้าซื้อถัวไปเรื่อย ๆ แต่จะไม่มีการวางแผนแบ่งซื้อด้วยเงินจำนวนเท่า ๆ กัน เหมือนรูปแบบ DCA แต่จะขึ้นอยู่กับโอกาสการลงทุนในปีนั้น ๆ
  • สายเปย์ปลายปี เป็นวิธีการลงทุนกองทุน SSF ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนจะสิ้นปีแบบครั้งเดียว ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ต้องการรอรายได้ในรูปแบบอื่น ๆ มารวมกับรายได้ประจำเพื่อคำนวณรายได้รวมทั้งปีให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการซื้อเกินสิทธิลดหย่อนภาษี

 

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะถนัดลงทุนสายไหน หากยังไม่ได้ลงทุนหรือลงทุนไปบ้างแล้ว อาจพิจารณาลงทุนกองทุน SSF ให้เต็มสิทธิด้วยเหตุผลที่ว่าเงินคืนจากสิทธิลดหย่อนภาษี เป็นเหมือนฉนวนปกป้องจากภาวะขาดทุนได้ในระดับหนึ่ง เพราะเงินคืนภาษีถือเป็นกำไรก้อนแรกจากการลงทุนกองทุน SSF

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats