LHUSFIN โอกาสลงทุนรับดอกเบี้ยขาขึ้น
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Facebook | Line | Youtube | Instagram
แม้ภาวะการลงทุนทั่วโลกในเวลานี้ค่อนข้างมีความผันผวนจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนต่าง ๆ แต่สิ่งหนึ่งที่ค่อนข้างแน่นอนและชัดเจน และที่สำคัญมีผลต่อการลงทุนก็คือ “เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น”
จากการที่ตัวเลขเศรษฐกิจ อย่างดัชนีราคาผู้บริโภค ( CPI ) ของสหรัฐเดือน ก.พ. พุ่งสูงขึ้นเป็น 7.9% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด ส่งสัญญาณอย่างชัดเจนในการใช้นโยบายทางการเงินและมีโอกาสสูงที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้ เพื่อสกัดภาวะเงินเฟ้อ และจากสถิติที่ผ่านมาหุ้นกลุ่มการเงิน ( Financial Sector ) มักให้ผลตอบแทนที่โดดเด่นในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น
กลุ่ม financial Sector มีธุรกิจอะไรบ้าง?
- ธนาคาร ( Banking ) ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ , ธนาคารเพื่อรายย่อย , บริษัทเงินทุน
- ตลาดทุน ( Capital Markets ) ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ,โบรกเกอร์ / ตลาดแลกเปลี่ยน , วาณิชธนกิจ , บริหารจัดการสินทรัพย์ ,หน่วยงานอันดับเครดิต
- ประกันภัย ( Insurance ) ได้แก่ ประกันชีวิต , ประกันสุขภาพ , ประกันภัยทั่วไป
- สินเชื่อผู้บริโภค ( Consumer Finance ) ได้แก่ การให้บริการชำระเงินเครดิตและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง , บริการทางการเงินและสินเชื่อต่าง ๆ
5 เหตุผลที่ทำให้ Financial Sector น่าสนใจ
- Net Interest Margin (NIM) รายได้ของธนาคารมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย
- ยอดสินเชื่อ หรือ Loan growth ปรับตัวดีขึ้น จากสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่มีแนวโน้มเติบโตดี ส่งผลให้หลายบริษัทมีแนวโน้มลงทุนมากขึ้น คนมีรายได้กู้ซื้อบ้านมากขึ้น ซึ่งเป็นผลบวกต่อธนาคาร
- แนวโน้มการทำ M&A (การควบรวมกิจการ) มีเพิ่มมากขึ้น จากสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ประกอบปริมาณเงินในบริษัทที่มีมากกว่าเฉลี่ย ทำให้หลายธุรกิจหันมาทำ M&A เพื่อปรับโครงสร้าง รักษาอัตราการเติบโตและความสามารถในการทำกำไร ส่งผลดีต่อธุรกิจ Investment banking ที่อยู่ใน Financial Sector
- รายได้ของบริษัทหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น จากธุรกรรมการซื้อขายที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในระยะหลังจากความผันผวนที่เพิ่มขึ้น
- Valuation (P/E) ไม่แพง (14.6 เท่า) เมื่อเทียบกับ Sector อื่น ๆ (ข้อมูล Bloomberg Data ณ วันที่ 25 Feb 2022)
นโยบายการลงทุนของกองทุน LHUSFIN
กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ หรือ “กองทุนหลัก” (Master Fund ) ที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุน และ/หรือหุ้นกลุ่มบริการทางการเงิน (Financial Service) โดยจะลงทุนในกองทุนหลักเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ซึ่งกองทุนหลักที่ลงทุนได้แก่ iShares U.S. Financial Services ETF ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ NYSE Arca ( New York Stock Exchange) บริหารและจัดการโดย BlackRock Fund Advisors (BFA)
ทั้งนี้ กองทุนหลักมีเป้าหมายเน้นลงทุนในหุ้นกลุ่ม Financial Service ในประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น Investment banks ,Commercial banks , Asset management, Credit card companies , Securities exchanges โดยมีเป้าหมายสร้างผลการดำเนินงานให้ใกล้เคียงกับดัชนี Dow Jones U.S. Financial Services Index
5 อันดับหลักทรัพย์ที่มีการลงทุนสูงสุด
- JPMorgan Chase & Co (สัดส่วน 10.26%) เป็นอุตสาหกรรมธนาคาร
- Visa Inc (สัดส่วน 9.07%) เป็นอุตสาหกรรมบริการด้านเทคโนโลยี
- Mastercard Inc (สัดส่วน 7.90%) เป็นอุตสาหกรรมบริการด้านเทคโนโลยี
- Bank of America Corp (สัดส่วน 7.81%) เป็นอุตสาหกรรมธนาคาร
- Wells Fargo & Co (สัดส่วน 5.14%) เป็นอุตสาหกรรมธนาคาร
ที่มา: Black Rock, Bloomberg as of 31 Jan 2022
ผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุนหลัก iShares U.S. Financial Services
- ย้อนหลัง 3 เดือน อยู่ที่ 1.6%ต่อปี
- ย้อนหลัง 6 เดือน อยู่ที่ 0.2%ต่อปี
- ย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 17.7%ต่อปี
- ย้อนหลัง 3 ปี อยู่ที่ 16%ต่อปี
- ย้อนหลัง 5 ปี อยู่ที่ 12.9% ต่อปี
ที่มา: Black Rock, Bloomberg as of 31 Jan 2022
สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนในกองทุนเปิดแอล เอช ยูเอส ไฟแนนเชียล ( LHUSFIN ) สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ LH Fund โทร. 02 286 3484 คลิกดูรายละเอียดที่ https://hubs.la/Q016jVNt0
หรือที่ผู้สนับสนุนการขายที่ได้รับการแต่งตั้ง
คำเตือน :
- ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
- ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต
- กองทุนหลักมีการกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมที่มุ่งลงทุนเฉพาะเจาะจงในหมวดอุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน (Financial) เพียงหมวดเดียว ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบ ต่อการลงทุนดังกล่าวผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก และอาจมีความเสี่ยงและความผันผวนของราคาสูงกว่ากองทุนรวมทั่วไปที่มีการกระจายหลายอุตสาหกรรม
- เนื่องจากกองทุนป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวนผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้