Fed ขึ้นดอกเบี้ยหนักสุดรอบ 28 ปี-เศรษฐกิจยังผันผวน บลจ.กสิกรไทย แนะทางรอดปรับพอร์ตสู้วิกฤติ
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Facebook | Line | Youtube | Instagram
ภายใต้ความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนในปัจจุบัน ยังคงมีโอกาสสำหรับการเข้าลงทุนได้ แม้ว่าจะมีความกังกลเรื่องเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงที่สุดรอบ 40 ปี ซึ่งล่าสุดคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ได้ลงมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% สู่ระดับ 1.5 – 1.75% สูงที่สุดในรอบ 28 ปี ทั้งนี้ต้องติดตามกันต่อไปว่าจะสามารถคุมเงินเฟ้อรวมทั้งจะเลี่ยงเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ ได้หรือไม่? บลจ.กสิกรไทย แนะนำใช้หลักกระจายการลงทุนในหลากหลายประเภทสินทรัพย์และเลือกลงทุนในภูมิภาค/ประเทศ ที่มีการเติบโตสูงจากการฟื้นตัวจากสถานการณ์ COVID-19
มุมมองการลงทุนแต่ละ Asset Class
“ผลกระทบของการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นยังส่งผลกระทบไปในหลากหลายสินทรัพย์ โดยเฉพาะสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นและทองคำ เผชิญแรงเทขายอย่างรุนแรง ส่วนตราสารหนี้และน้ำมันปรับตัวขึ้นมาในระยะสั้น อย่างไรก็ดี ในระยะยาวยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อกองทุนหุ้น มากกว่ากองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ” คุณนาวิน อินทรสมบัติ Chief Investment Officer (รองกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุนต่างประเทศ) กล่าวและมีมุมมองต่อสินทรัพย์ต่าง ๆ ในช่วงนี้ ดังนี้
- เงินสด (มุมมองเป็นลบ) : เนื่องจากเงินเฟ้อที่อยู่ระดับสูง ส่งผลให้การถือครองเงินสดมีมูลค่าแท้จริงลดลง แม้ในช่วงสั้น ความตึงเครียดทางด้านการเมือง จะทำให้เงินสดถูกมองเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยก็ตาม
- ตราสารหนี้ (มุมมองเป็นลบเล็กน้อย) : แนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นเป็นปัจจัยลบต่อตราสารหนี้ที่มีอายุยาว รวมทั้ง Credit Spread ของกลุ่มตราสารหนี้เอกชนได้มีการปรับตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบหลายปี
- REITs (มุมมองเป็นลบเล็กน้อย) : แนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นเป็นปัจจัยกดดัน Valuation แต่ทังนี้ในเชิงปัจจัยพื้นฐานการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจการปรับค่าเช่าและ Discount ซึ่งภูมิภาคเอเชียมีการฟื้นตัวที่ดีในปีนี้
- ทองคำ (มุมมองเป็นกลาง) : เนื่องจากความกังวลเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ และเงินเฟ้อ ในระยะกลางดอกเบี้ยโยบายที่เป็นขาขึ้นส่งผลกดดันราคาทองคำ
- น้ำมัน (มุมมองเป็นกลาง) : ในระยะสั้นราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับสูงจากความตึงเครียดของสงครามรัสเซีย-ยูเครน อย่างไรก็ตามการเจรจาระหว่างเรื่องการเพิ่มอุปทานน้ำมันระหว่างสหรัฐและอิหร่านในที่สุดหากสำเร็จจะเป็นปัจจัยราคาน้ำมันต่อไป
- หุ้น (มุมมองเป็นบวกเล็กน้อย) : แม้สินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นจะได้รับแรงกดดันจากการขึ้นดอกเบี้ยในตลาด ซึ่งส่งผลให้เกิดความผันผวนในช่วงสั้น แต่การที่เศรษฐกิจยังคงโตต่อได้ และอดีตที่ผ่านมา ตลาดหุ้นจะกลับมาฟื้นตัวได้ 2-4 ไตรมาส
จากมุมมองดังกล่าว จึงแนะนำให้นักลงทุนกระจายการลงทุน โดยเฉพาะตลาดหุ้นเอเชียทั้งประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) นอกจากนี้ นักลงทุนควรกระจายการลงทุนบางส่วนไปยังกองทุนสินทรัพย์ทางเลือกอย่าง กองทุนน้ำมัน และกองทุนทองคำ ในสัดส่วนไม่เกิน 5-10% ของพอร์ต
มุมมองตลาดหุ้นไทย และประเทศใน AEC
ในระยะสั้นยังคงผันผวนอยู่ในกรอบแคบ ตามความกังวลต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed เพื่อควบคุมสถานการณ์เงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง สืบเนื่องมาจากความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวขึ้นรุนแรง อย่างไรก็ตาม ทาง บลจ. กสิกรไทยยังคงมองเป้าหมายดัชนี SET Index ปลายปี 65 อยู่ที่ระดับ 1750 จุดหรืออาจยืนในระดับที่สูงกว่านี้ได้ หากสถานการณ์เงินเฟ้อเริ่มคลี่คลายลง เนื่องจากคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลัง เศรษฐกิจไทยจะได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก
- การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
- การระบาดของ COVID-19 ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
- มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านหลายโครงการของรัฐบาล
- การบริโภคในประเทศและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะฟื้นตัวต่อเนื่องอย่างต่อเนื่อง
คุณธิดาศิริ ศรีสมิต, CFA, Chief Investment Officer (รองกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุน) กล่าวต่อว่า กลยุทธ์การลงทุนจะเน้นเป็นการเลือกลงทุนหุ้นรายตัว (Selective) โดยพิจารณาเลือกหุ้นที่มีการเติบโตที่แน่นอน (Quality Earnings Growth) มีโอกาสฟื้นตัวสูง (High Potential for Recovery) และได้รับประโชน์จากการเปิดประเทศ (Reopening Theme)
สำหรับการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน (AEC) บลจ.กสิกรไทย มองว่าประเทศเวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความน่าสนใจใน 5 มิติ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก
- เศรษฐกิจในประเทศเติบโตต่อเนื่องทั้งในระยะกลางและยาว
- ระบบการเงินที่มีเสถียรภาพ
- การสนับสนุนจากรัฐบาลในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
- ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานทำให้การบริโภคในประเทศและกิจกรรมทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่สูง
- การไหลเข้าของเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่องจากการย้ายฐานการผลิต
จากความน่าสนใจของดังกล่าว นักลงทุนสามารถหาโอกาสจากการลงทุนในกองทุนเปิดเค เวียดนาม หุ้นทุน (K-VIETNAM) ที่มีนโยบายการลงทุนที่ส่วนใหญ่เน้นลงทุนตรงในหุ้นเวียดนาม และบางส่วนลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศที่ลงทุนในหุ้นเวียดนาม ซึ่งรวมถึง ETF ด้วย ทั้งนี้ สำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการวางแผนเกษียณก็สามารถเลือกลงทุนใน กองทุน เปิดเค เวียดนาม หุ้นทุน เพื่อการเลี้ยงชีพ (K-VIETNAM-RMF) ได้เช่นกัน
มุมมองตลาดตราสารหนี้ไทย
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond Yield Curve) ปรับตัวขึ้นทุกประเทศ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับต่ำมาเป็นเวลานาน และอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้นมากจากหลายปัจจัย สำหรับตลาดตราสารหนี้ไทย แม้คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% แต่ Yield Curve ได้ปรับตัวสูงขึ้นในระดับที่สะท้อนอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75-2.00%ไปแล้ว ค่าเงินบาทอ่อนตัวตามค่าเงินในภูมิภาค กระแสเงินไหลเวียนของผู้ลงทุนต่างชาติ (Fund Flow) สุทธิแล้วเป็นเงินไหลเข้าเล็กน้อย แม้ปัจจัยพื้นฐานโดยรวมจะยังคงดีอยู่ และ Yield Curve ได้สะท้อนภาพการขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว
ในช่วงเวลานี้ตลาดยังมีความผันผวนอยู่บ้าง นักลงทุนจึงควรพิจารณาลงทุนในกองทุนตราสารหนี้โดยเลือกพักเงินในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น และหากรับความผันผวนของราคาได้ก็สามารถทยอยลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะกลางได้
- กองทุนตลาดเงิน แนะนำกองทุน K-Cash
- กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นมาก แนะนำกองทุน K-SF
- กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นปานกลาง แนะนำกองทุน K-SFplus
- กองทุนตราสารหนี้ทั่วไป แนะนำกองทุน K-CBond
คุณชัชชัย สฤษดิ์อภิรักษ์ Chief Investment Officer (รองกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุน) กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ผู้ลงทุนควรพิจารณาเลือกกองทุนตราสารหนี้ที่มีขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องดี และตรงกับวัตถุประสงค์ของการลงทุน
คำเตือน:
- ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
- K-VIETNAM ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
- การลงทุนในหุ้นต่างประเทศอาจมีความผันผวนตามสภาวะตลาดและค่าเงิน
- กองทุนที่ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้