×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

รวมมาให้แล้ว! เงินฝาก e-Saving ดอกเบี้ย ‘สูง’

13,786

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

ถ้ารู้สึกว่าดอกเบี้ยบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่ได้รับในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ อาจต้องมองหาทางเลือกใหม่ คือ บัญชีเงินฝากดิจิทัลหรือ e-Saving ที่ส่วนใหญ่จะให้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป

 

จุดเด่นของ e-Saving คือ เป็นบริการเงินฝากที่สามารถเปิดบัญชีได้ด้วยตนเองผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารนั้น ๆ โดยไม่ต้องไปที่สาขา ไม่มีสมุดคู่ฝาก ทำธุรกรรมทุกอย่างผ่านอินเทอร์เน็ตหรือมือถือได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทุกที่ทุกเวลา 

 

นอกเหนือจากนี้ e-Saving ยังสามารถฝากเงินธนาคารได้ที่ตู้เอทีเอ็มหรือสาขาของธนาคารได้ฟรีแบบไม่มีเสียค่าธรรมเนียมฝากข้ามจังหวัด และที่สำคัญได้ดอกเบี้ยเงินฝากสูงกว่าแบบมีสมุดคู่ฝากออมทรัพย์ทั่วไป ซึ่งวิธีการสมัครเปิดบัญชีก็ทำได้ง่าย คือ อยู่ที่ไหนก็ทำได้ผ่านมือถือ โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สาขาธนาคาร

 

เมื่อเปิดใช้บริการแล้ว e-Saving ก็คือ เงินฝากออมทรัพย์รูปแบบหนึ่ง ที่โอน ถอน ผ่านมือถือได้ทันที ทุกที่ทุกเวลา หรือถ้าไม่ถนัดใช้ e-Saving ก็โอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ปกติของตัวเองเพื่อไปทำธุรกรรมก็ได้ ไม่เสียค่าธรรมเนียมการโอนด้วย เพราะทำผ่านแอปพลิเคชัน

 

อย่างไรก็ตาม ธนาคารบางแห่งอาจมีข้อกำหนด ดังนั้น ก่อนตัดสินใจเปิด e-Saving ควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียด เช่น จำนวนเงินขั้นต่ำในการเปิดบัญชี จำนวนเงินสูงสุดในการฝาก ค่าธรรมเนียมในการฝากเงินสดจากต่างจังหวัด เงื่อนไขการจ่ายดอกเบี้ย และระยะเวลาในการฝากค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการปิดบัญชีก่อนกําหนด รวมถึงเงื่อนไขอื่น ๆ เช่น ต้องมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์แบบมีสมุดคู่ฝากกับธนาคารนั้น ๆ หรือต้องสมัครบัตรเดบิตด้วย

 

โดยก่อนเปิดบัญชี e-Saving ต้องรู้ข้อมูลไม่ต่างจากบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แนะนำว่าควรรู้อัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทนที่แท้จริง โดยในการเลือกเปิดบัญชีเงินฝากไม่ว่าจะเป็นประเภทใด สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาและเปรียบเทียบ คือ ดอกเบี้ยและผลตอบแทนที่จะได้รับ ซึ่งสถาบันการเงินต้องเปิดเผยเงื่อนไขการจ่ายดอกเบี้ยให้เราทราบ เช่น วิธีการคำนวณดอกเบี้ย ความถี่ในการจ่าย จำนวนวันต่อปีที่ใช้ในการคิดดอกเบี้ย ซึ่งต้องปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทำการทุกแห่ง และเผยแพร่ในเว็บไซต์ และอย่าลืมสังเกตวันที่อัตราดอกเบี้ยมีผลบังคับใช้ ที่สำคัญ คือ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยผู้ฝากเงินต้องเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของประเภทบัญชีแต่ละประเภทและแต่ละธนาคารแล้ว ก็ต้องคำนึงถึงภาษีหัก ณ ที่จ่าย ด้วย เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลตอบแทนที่แท้จริงที่จะได้รับลดลงไป ซึ่งเมื่อธนาคารจ่ายดอกเบี้ยก็จะทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% กรณีดอกเบี้ยรับเกิน 20,000 บาทต่อปี

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats