×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

1O กองทุนหุ้นโลก ผลตอบแทนเด่น

4,151

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

เมื่อ 2–3 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนไทยไปลงทุนหุ้นต่างประเทศมากขึ้น ปัจจัยหลัก ๆ คือ ให้ผลตอบแทนในระดับที่ดี สังเกตได้จากกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนหุ้นทั่วโลก (Global Equity Fund) มีผลตอบแทนโดดเด่นต่อเนื่องติดต่อกันหลายปี

 

กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนหุ้นทั่วโลก หรือเรียกว่า กองทุนหุ้นโลก เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในทุกที่ทั่วโลก รวมถึงเมืองไทยด้วย โดยกองทุนประเภทนี้มีจุดมุ่งหมายค้นหาและลงทุนธุรกิจที่ดีที่สุดจากทั่วโลก 

 

เหตุผลที่ควรลงทุนกองทุนหุ้นโลก คือ สามารถสร้างโอกาสด้านการกระจายพอร์ตลงทุนทั้งระดับภูมิภาค ถึงระดับโลก ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงการลงทุนจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจหรือการเมืองของประเทศใดประเทศหนึ่ง ที่อาจส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนโดยรวม ขณะเดียวกัน ก็มีหุ้นให้เลือกมากมายที่ประเทศไทยไม่มี ซึ่งช่วยลดการลงทุนแบบกระจุกตัวในประเทศ

 

โดยจากข้อมูล Morningstarthailand (9 กันยายน 2565) พบว่ากองทุนหุ้นโลกที่มีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 ปี มากกว่า 5% มีจำนวน 25 กองทุน ขณะที่ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 5 ปี มากกว่า 5% มีจำนวน 11 กองทุน 

 

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้แต่ละกองทุนมีผลการดำเนินงานแตกต่างกัน เพราะมีการลงทุนในสินทรัพย์ สัดส่วนลงทุน ลงทุนในประเทศหรือภูมิภาคที่แตกต่างกัน และถึงแม้จะลงทุนในสินทรัพย์หรือตลาดหุ้นประเทศเดียวกัน แต่ถ้านโยบายหรือกลยุทธ์ลงทุนที่ต่างกัน ผลการดำเนินงานก็ต่างกันด้วย

 

ดังนั้น ก่อนตัดสินใจลงทุนกองทุนหุ้นโลก นอกจากศึกษานโยบายการลงทุน ควรศึกษารายละเอียดพอร์ตลงทุนของกองทุนด้วย จากนั้นดูผลตอบแทนย้อนหลังว่าเติบโตสม่ำเสมอมากน้อยแค่ไหน 

 

ส่วนความเสี่ยงก็ให้ดูค่าความผันผวน (Standard Deviation) ซึ่งยิ่งต่ำยิ่งดี เพราะหมายถึงความผันผวนของผลตอบแทนต่ำ ทำให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ไม่เหวี่ยงมาก ตรงกันข้ามถ้าค่าความผันผวนสูง แสดงว่าผลตอบแทนจะมีความผันผวนมาก NAV ก็จะเหวี่ยงมาก บางจังหวะอาจจะปรับขึ้นสูง แต่อีกไม่กี่วันถัดไปก็ปรับลดลงจนน่าใจหาย

 

จากนั้นให้ดูเรื่องค่าใช้จ่าย โดยค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่นักลงทุนจ่ายให้กับ บลจ. เช่น ค่าใช้จ่ายด้านค่าธรรมเนียมการซื้อ (Front-End Fee) และค่าธรรมเนียมการขาย (Back-End Fee) 

 

อีกส่วนที่นักลงทุนต้องจ่ายให้กับกองทุนรวม โดยจะหักออกจาก NAV ของกองทุนนั้น ๆ เรียกค่าใช้จ่ายนี้ว่า Total Expense Ratio เช่น ค่าธรรมเนียมการจัดการ ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ ค่าสอบบัญชี ค่าประกาศหนังสือพิมพ์มูลค่าหน่วยลงทุน ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้จะประกาศผ่านหนังสือรายงานประจำปี

 

ถึงแม้ว่าก่อนตัดสินใจลงทุนกองทุนหุ้นโลกหรือกองทุนรวมประเภทอื่น ๆ จะดูหยุมหยิมไปบ้าง แต่ควรใส่ใจและศึกษาให้ละเอียด เพื่อทำให้การลงทุนเป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats