×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

‘ช้อปดี’ ให้ได้มากกว่าแค่ ‘มีคืน’

800

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

1 . – 15 .. 66 รัฐประกาศให้สามารถใช้สิทธิช้อปดีมีคืนได้สูงสุดถึง 40,000 บาท แต่รู้หรือไม่ ช้อปทั้งทีเราทำให้ได้เงินคืนหรือประโยชน์มากกว่าเงินภาษีคืน ที่ต้องรอหลังยื่นภาษีช่วงต้นปี 67 ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น มาหาคำตอบไปพร้อมกัน

 

เงินคืนภาษี

 

การซื้อสินค้าหรือบริการทั่วไป จากร้านค้าที่สามารถออกใบกำกับภาษี (VAT) สามารถนำยอดที่จ่ายไปซึ่งรวม VAT แล้ว มาลดหย่อนภาษีได้ โดยแบ่งเอกสารใช้เป็นหลักฐาน ได้เป็น

 

  • ยอดไม่เกิน 30,000 บาท สามารถใช้ใบกำกับภาษีเต็มรูป แบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
  • ยอดส่วนที่เกิน 30,000 บาท ใช้สิทธิเพิ่มได้อีก 10,000 บาท แต่ต้องใช้ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ออกโดยร้านค้าเท่านั้น (ไม่รวมการสแกน/ถ่ายรูป ใบกำกับกับภาษีฯ แบบกระดาษ)

 

อีกทั้งยังมีสินค้าที่ใช้สิทธิได้โดยไม่ต้องซื้อจากร้านค้าจด VAT ได้แก่ หนังสือ หรือ e-book หรือสินค้า OTOP 

 

สำหรับการซื้อสินค้า/บริการหลายอย่างในครั้งเดียว ควรเช็กยอดสิทธิให้ดี เพราะบางรายการที่จ่ายไปอาจไม่มี VAT เช่น เนื้อสัตว์สด ไข่ นม ฯลฯ จึงไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ รวมถึงยังมีสินค้าที่แม้เสีย VAT แต่อยู่ในข้อยกเว้นของโครงการ เช่น สุรา รถยนต์ จักรยานยนต์ ที่พักโรงแรม บริการนำเที่ยว ฯลฯ

 

ทั้งนี้ ด้วยยอดใช้สิทธิ 40,000 บาทเท่ากัน แต่เงินคืนภาษีที่ได้รับ จะต่างกันขึ้นกับรายได้หรือฐานภาษีของแต่ละคน* เช่น

 

  • เงินเดือน 27,000 – 40,000 บาท/เดือน ฐานภาษี 5% เงินคืนภาษีสูงสุด 2,000 บาท
  • เงินเดือน 40,000 – 56,000 บาท/เดือน ฐานภาษี 10% เงินคืนภาษีสูงสุด 4,000 บาท
  • เงินเดือน 56,000 – 77,000 บาท/เดือน ฐานภาษี 15% เงินคืนภาษีสูงสุด 6,000 บาท
  • เงินเดือน 77,000 – 98,000 บาท/เดือน ฐานภาษี 20% เงินคืนภาษีสูงสุด 8,000 บาท
  • เงินเดือน 98,000 – 181,000 บาท/เดือน ฐานภาษี 25% เงินคืนภาษีสูงสุด 10,000 บาท
  • เงินเดือน 181,000 – 431,000 บาท/เดือน ฐานภาษี 30% เงินคืนภาษีสูงสุด 12,000 บาท
  • เงินเดือน 431,000 บาท/เดือนขึ้นไป ฐานภาษี 35% เงินคืนภาษีสูงสุด 14,000 บาท

 

*คำนวณเบื้องต้น จากเงินได้ 40(1) หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ประกันสังคม 9,000 บาท และยังคำนึงถึงกรณีฐานภาษีเปลี่ยนแปลงหลังใช้สิทธิ

 

โปรโมชันและคะแนนสะสม

 

  • โปรโมชันพิเศษ: ร้านค้าที่จด VAT มักเป็นร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่หรือมีสาขามากมาย ซึ่งมักจัดโปรโมชันทั้งของร้านค้าเองหรือร่วมกับ บัตรเครดิต และ e-wallet ต่างๆ เพื่อดึงดูดนักช้อป ให้มาใช้สิทธิ การใช้สิทธิจึงควรเปรียบเทียบโปรโมชันสินค้าหรือบริการที่ใกล้เคียงกัน ก่อนตัดสินใจ

 

  • คะแนนสะสม: ไม่ว่าจะเป็น บัตรเครดิต หรือ e-wallet หรือร้านค้าที่มีระบบสมาชิก ทุกยอดการใช้จ่ายจะถูกคิดเป็นคะแนนสะสมเพื่อแลกเป็นเงินคืนหรือของรางวัล เช่น บัตรเครดิต ยอดใช้จ่าย 40,000 บาท ถูกคิดเป็นคะแนนเพื่อแลกเป็นเงินคืนได้ประมาณ 160 บาท หรือ 0.40% ของยอดใช้จ่าย โดยยังไม่รวมคะแนนที่อาจได้จาก e-wallet หรือระบบสมาชิกร้านค้าด้วย

 

เงินเพิ่ม 

 

คนที่มีบัตรเครดิต มักรู้กันอยู่แล้วว่าเมื่อถึงกำหนดชำระบัตร หากเราชำระเต็มจำนวนจะไม่มีภาระดอกเบี้ยใดๆ โดยหากนับจากหลังวันที่สรุปยอดจนถึงวันที่ครบกำหนดชำระการใช้จ่ายผ่านบัตรบางครั้ง อาจมีระยะเวลานานถึง 55 วัน ก่อนถึงกำหนดชำระบัตร

 

ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวเราสามารถกันเงินส่วนที่ใช้จ่ายบัตรเครดิตไปพักในเงินฝาก e-Savings ที่ให้ดอกเบี้ยสูง เพื่อรับเงินเพิ่มจากดอกเบี้ยเงินฝากได้ เช่น กันเงิน 40,000 บาท เป็นเวลา 55 วัน ในเงินฝาก e-Savings ดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี จะทำให้เราได้ดอกเบี้ยรับเพิ่มขึ้นประมาณ 90 บาท (= 40,000 บาท x 1.5% ต่อปี x 55 วัน ÷ 365 วัน) หรือ 0.23% ของยอดใช้จ่าย

 

หรือหากช้อปครั้งนี้ มีโปรโมชันผ่อน 0% ด้วยแล้ว เงินที่พักไว้ก็จะได้รับดอกเบี้ยสูงขึ้นไปอีก เช่น กันเงิน 40,000 บาท เพื่อทยอยชำระ 10 เดือน เดือนละ 4,000 บาท จะได้ดอกเบี้ยรับเพิ่มขึ้นประมาณ 312 บาท หรือ 0.78% ของยอดใช้จ่าย

 

ช้อปดีมีคืนจะดีได้เมื่อช้อปในสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ โดยอาจเป็นสินค้าชิ้นใหญ่ที่ตั้งใจซื้ออยู่แล้ว หรือของใช้ประจำวันที่ซื้อได้บ่อยๆ ทีละน้อยๆ จาก Big C, Lotus’s, 7-ELEVEN ส่วนใครที่คิดจะซื้อของชิ้นใหญ่แล้วทิ้งไว้ไม่ได้ใช้ ลองเปลี่ยนจากนำเงินไปใช้สิทธิช้อปดีมีคืน เป็นซื้อกองทุน SSF หรือประกันชีวิตแบบจ่ายเบี้ยครั้งเดียว เพื่อเปลี่ยนจากค่าใช้จ่ายเป็นเงินเก็บและใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats