×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

3 เรื่องเข้าใจผิด ของคนคิดว่าไม่ต้องยื่นภาษี

1,433

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเงินหรือรายได้ที่ได้รับมา ไม่ต้องเสียภาษี หรือคิดว่าเมื่อถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องยื่นภาษีอีก ซึ่งล้วนเป็นความเข้าใจผิด เพราะภาษีเงินได้แต่ละปีต้องคำนวณจากเงินที่เราได้ทั้งปี และคนที่มีรายได้ล้วนมีหน้าที่ต้องแจ้งหรือยื่นภาษีกับสรรพากรทั้งสิ้น โดย 3 สิ่ง ที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด ได้แก่

 

ความเข้าใจผิดที่ 1: เงินที่ได้ถูกหักภาษี” = “เสียภาษีถูกต้อง

 

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นอัตราภาษีก้าวหน้า ที่เมื่อรายได้หรือเงินได้สุทธิสูงขึ้นอัตราที่ใช้คำนวณภาษีก็สูงขึ้น ดังนั้นแม้เงินที่ได้จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว แต่ก็ไม่ใช่จำนวนภาษีที่ต้องจ่ายจริง เพราะต้องรอนำรายได้ทั้งปีมาคำนวณอีกครั้ง ซึ่งอาจสูงหรือต่ำกว่าภาษีที่ถูกหักไปได้

 

ดังนั้นการยื่นภาษีช่วงเดือน ม..-มี.. ของปีถัดจากปีที่มีรายได้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นไม่ว่าถูกหักภาษีไปเท่าไร หรือไม่ถูกหักภาษีก็ตาม

 

  • กรณีถูกหักภาษีไว้ น้อยเกินไป >> ต้องจ่ายภาษีเพิ่มภายในสิ้นเดือน มี.. หากไม่จ่ายก็ถือเป็นการหนีภาษี
  • กรณีถูกหักภาษีไว้ มากเกินไป >> เลือกขอคืนภาษีส่วนที่ถูกหักไว้เกินได้ หากไม่ขอคืนก็เสมือนการจ่ายภาษีมากเกินจริง

 

ความเข้าใจผิดที่ 2: รายได้น้อยไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี” = “ไม่ต้องยื่นภาษี

 

สรรพากรมีการกำหนดรายได้ขั้นต่ำของผู้มีหน้าที่ต้องยื่นภาษี ซึ่งขึ้นกับประเภทรายได้ที่มีและสถานภาพสมรส โดยแบ่งได้ 4 กรณี ดังนี้

 

  • คนโสด ที่มีเฉพาะเงินได้ 40(1) อย่างเงินเดือน ค่าล่วงเวลา โบนัส ฯลฯ และมีรายได้ทั้งปีเกิน 120,000 บาท
  • คนโสด ที่มีเงินได้อื่นนอกจาก 40(1) อย่างค่ารับจ้างอิสระ เช่น ไรเดอร์ส่งอาหาร ค่านายหน้า ค่าเช่าบ้าน ขายของออนไลน์ ฯลฯ โดยปัจจุบันบางรายได้หรือบางอาชีพ มีการรับรายได้ผ่านระบบหรือแพลตฟอร์ม และมีรายได้ทั้งปีเกิน 60,000 บาท
  • คนที่มีคู่สมรส ที่ทั้งคู่มีเฉพาะเงินได้ 40(1) และมีรายได้ทั้งปีรวมกันทั้งสองคนเกิน 220,000 บาท
  • คนที่มีคู่สมรส ที่คนใดคนหนึ่งหรือทั้งคู่มีเงินได้อื่นนอกจาก 40(1) และมีรายได้ทั้งปีรวมกันทั้งสองคนเกิน 120,000 บาท

 

ดังนั้น แม้รายได้ยังน้อยไม่เสียภาษี แต่หากถึงเกณฑ์ต้องยื่นภาษี ก็มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีตามกฎหมาย

 

ความเข้าใจผิดที่ 3: “ไม่ทำงาน” = “ไม่ต้องยื่นภาษี

 

ภาษีเงินได้ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกรณีมีรายได้จากการทำงานเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นตอนที่มีรายได้อื่นด้วย เช่น ดอกเบี้ยเงินฝาก/พันธบัตร/หุ้นกู้ เงินปันผลกองทุน/หุ้น ฯลฯ ซึ่งได้ถูกหักหรือจ่ายภาษีล่วงหน้าไปแล้ว เช่น 10%, 15%, 28% ฯลฯ ดังนั้นหากใครมีรายได้เฉพาะดอกเบี้ยและเงินปันผล ก็สามารถเลือกยื่นภาษี เพื่อขอคืนภาษีส่วนที่ถูกหักหรือจ่ายไปได้ เช่น

 

  • ได้รับเงินปันผลกองทุน 10,000 บาท (หลังหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%) อาจขอภาษีคืนได้ 1,111 บาท
  • ได้รับดอกเบี้ยเงินฝาก/พันธบัตร/หุ้นกู้ 10,000 บาท (หลังหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%) อาจขอภาษีคืนได้ 1,765 บาท
  • ได้รับเงินปันผลหุ้น 10,000 บาท (หลังคิดภาษีนิติบุคคล 20% และหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%) อาจขอภาษีคืนได้ 3,889 บาท

 

หลายคนมักมองข้ามการยื่นภาษี เพราะคิดว่าไม่จำเป็นสำหรับตน ทั้งที่เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือหากยื่นก็อาจได้ประโยชน์จากการขอเงินคืนภาษีได้

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats