×

Wealth Me Up ข่าวสั้น ทันเศรษฐกิจ

99 นักวิชาการ ชี้รัฐควร ‘ยกเลิก’ แจกเงิน Digital Wallet 1O,OOO บาท เหตุ “ได้ไม่คุ้มเสีย”

575

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Facebook | Line Youtube | Instagram

 

99 นักวิชาการและคณาจารย์เศรษฐศาสตร์ ได้ออกแถลงการณ์ วันที่ 5 .. 66 โดยมีความเห็นพ้องต้องกันที่จะเรียกร้องให้ถึงรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน ยกเลิกนโยบายแจกเงิน digital 10,000 บาทเพราะเป็นนโยบายที่ได้ไม่คุ้มเสีย”  ด้วยเหตุผล 7 ข้อดังนี้

 

1. เศรษฐกิจไทยกําลังค่อย ๆ ฟื้นตัวตามศักยภาพจากวิกฤตโรคระบาด และเงินเฟ้อในช่วงปี 2562-2565 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้คาดการณ์ว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.8 ในปีนี้ และร้อยละ 4.4 ในปีหน้า จึงไม่มีความจําเป็นที่รัฐจะต้องใช้จ่ายเงินจํานวนมากเพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ เพราะที่ผ่านมาการบริโภคภายในประเทศยังคงขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับการส่งออก

 

นอกจากนี้การกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศยังอาจจะเป็นปัจจัยให้เกิดเงินเฟ้อสูงขึ้นมาอีก หลังจากที่เงินเฟ้อได้ลดลงจากร้อยละ 6.1 มาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.9 ในปีนี้ ท่ามกลางราคาพลังงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ในระยะหลังการกระตุ้นการบริโภคในช่วงเวลานี้จะทำใหเงินเฟ้อคาดการณ์ (Inflation Expectation) สูงขึ้น และอาจนําไปสู่สภาวะที่ต้องขึ้นดอกเบี้ยในที่สุด

 

เงินเฟ้อหรือสภาวะที่ข้าวของราคาแพงทั่วไปอันจะเกิดจากนโยบายนี้ จะทำให้เงินรายได้และเงินในกระเป๋าของประชาชนทุกคนมีค่าลดลง หากรวมมูลค่าที่ลดลงของประชาชนทุกคนอาจจะมีมูลค่าสูงกว่า 560,000 ล้านบาทก็ได้

 

2. เงินงบประมาณของรัฐที่มีจำกัดย่อมมีค่าเสียโอกาสเสมอ เงินจำนวนมากถึงประมาณนี้ 560,000 ล้านบาทนี้ ทำให้รัฐเสียโอกาสที่จะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในการสร้าง Digital Infrastructure หรือในการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่จะสร้างศักยภาพในการเจริญเติบโตในระยะยาวแทนการใช้เงินเพื่อการกระตุ้นการบริโภคระยะสั้น ๆ ซึ่งไม่สมเหตุสมผลต่อการสร้างภาระหนี้สาธารณะให้เป็นภาระแก่คนรุ่นต่อไป

 

3. การกระตุ้นเศรษฐกิจให้รายได้ประชาชาติ (GDP) ขยายตัวโดยรัฐแจกเงินจำนวน 560,000 ล้านบาท เข้าไปในระบบเป็นการคาดหวังที่เกินจริง เพราะปัจจุบันมีข้อมูลเชิงประจักษ์จากงานวิจัยที่ทําให้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าตัวทวีคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier) ที่เกิดจากการใช้จ่ายของรัฐในลักษณะเงินโอนหรือการแจกเงินมีค่าน้อยกว่า 1 ซึ่งต่ำมากเมื่อเทียบกับตัวทวีคูณของการใช้จ่ายของรัฐโดยตรง การที่ผู้กําหนดนโยบายหวังว่านโยบายนี้จะกระตุ้นเศรษฐกิจจึงเป็นสิ่งที่เลื่อนลอย

 

4. เราอยู่ในวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นมาตั้งแต่ปี 2565 เพราะเงินเฟ้อสูงขึ้นมาก การก่อหนี้จำนวนมาก ไม่ว่ารัฐบาลจะออกพันธบัตรหรือกู้เงินจากรัฐวิสาหกิจหรือกู้สถาบันการเงินของภาครัฐ ก็ล้วนแต่จะทำให้รัฐบาลและคนทั้งประเทศต้องเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทั้งสิ้น หนี้สาธารณะของรัฐที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 10.1 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 61.6 ของรายได้ประชาชาติ (GDP) จะต้องมีภาระที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้นในยามที่ต้องจ่ายคืนหรือกู้ใหม่ ซึ่งจะมีผลต่อภาระเงินงบประมาณของรัฐในแต่ละปี นี่ยังไม่นับจำนวนเงินค่าดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากการแจกเงิน Digital คนละ 10,000 บาทนี้ด้วย

 

5. ในช่วงที่โลกเผชิญกับวิกฤตโรคระบาดและภาวะเศรษฐกิจถดถอย รัฐบาลแทบทุกประเทศต่างก็จำเป็นที่จะต้องมีการขาดดุลการคลังและสร้างหนี้จำนวนมากเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ และรายจ่ายทางด้านสาธารณสุข แต่หลังจากวิกฤตโรคระบาดและภาวะเศรษฐกิจถดถอยผ่านไป หลายประเทศได้แสดงเจตนารมย์ที่ฉลาดรอบคอบ โดยลดการขาดดุลภาครัฐและหนี้สาธารณะลง (Fiscal Consolidation)

 

ทั้งนี้เพื่อสร้างที่ว่างทางการคลัง” (Fiscal Space) ไว้รองรับวิกฤตเศรษฐกิจในอนาคต นโยบายแจกเงิน Digital 10,000 บาทนี้ ดูจะสวนทางกับสิ่งที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยที่มีอัตราส่วนรายรับจากภาษีเพียงร้อยละ 13.7 ของรายได้ประชาชาติ (GDP) ซึ่งถือว่าต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ มาก

 

6. การแจกเงินคนละ 10,000 บาท ให้ทุกคนที่อายุเกิน 16 ปี เป็นนโยบายที่สร้างความไม่เป็นธรรมในสังคมอย่างยิ่ง เศรษฐีและมหาเศรษฐีที่อายุเกิน 16 ปี ล้วนได้รับเงินช่วยเหลือ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีความจำเป็น

 

7. สำหรับประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงวัยเช่นประเทศไทย การเตรียมตัวทางด้านการคลังเป็นสิ่งจำเป็น ขณะที่จำนวนคนในวัยทำงานลดลง แต่สัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาระการใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการและสาธารณสุขจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ผู้บริหารประเทศที่มองไกลจึงควรใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและรักษาวินัยและเสถียรภาพทางด้านการคลังอย่างเคร่งครัด

 

ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ข้างต้น บรรดานักวิชาการและคณาจารย์เศรษฐศาสตร์ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกนโยบายแจกเงิน Digital 10,000 บาทแก่ผู้มีอายุ 16 ปีขึ้นไป เพราะประโยชน์ที่ประเทศจะได้นั้นน้อยกว่าต้นทุนที่เสียไปอย่างมาก 

 

นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างบรรทัดฐานให้มีการแจกเงินเพื่อกระตุ้นให้คนจับจ่ายใช้สอยในระยะสั้น ๆ โดยไม่คำนึงถึงวินัยและเสถียรภาพการคลังในระยะยาว แม้รัฐบาลทุกรัฐบาลจะต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ต้องไม่ทำลายความยั่งยืนทางการคลัง หากจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการช่วยเหลือกลุ่มคนรายได้น้อย ก็ควรทำแบบเฉพาะเจาะจง แทนการเหวี่ยงแหครอบคลุมทุกกลุ่ม เพราะเสถียรภาพทางการคลังของไทย และความสามารถในการจัดเก็บภาษี ไม่เอื้อให้ประเทศทำเช่นนั้น

 

สำหรับรายชื่อ นักวิชาการและคณาจารย์เศรษฐศาสตร์ ที่ร่วมออกแถลงการณ์ในครั้งนี้ อาทิ 

 

1. ดร.วิรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

2. ดร.ธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

3. รศ.ดร.อัจนา ไวความดี อดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

4. รศ.ดร.สิริลักษณา คอมันตร์ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

5. ดร.บัณฑิต นิจถาวร อดีตรองผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย

6. รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

7. .ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ อดีตรองอธิการบดีและอดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

8. .ดร.ปราณีทินกร อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

9. รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

10. ดร.วิญญู วิจิตรวาทการ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats