×

Wealth Me Up ใช้แรงทำเงิน

หลักการจัดเก็บ ‘ภาษี’ ที่ทุกคนควรรู้!

1,405

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Facebook | Line Youtube | Instagram

 

ทุกคนที่มีรายได้ ไม่ว่าคนไทยหรือต่างชาติ ล้วนมีหน้าที่ต้องยื่นคำนวณและเสียภาษี โดยสิ่งที่ได้รับเกือบทุกอย่างถือเป็นรายได้ที่ต้องคำนวณภาษีทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น

 

  1. เงิน เช่น ธนบัตร/เหรียญ หรือการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร
  2. ทรัพย์สิน เช่น รางวัลชิงโชค ค่าตอบแทนที่ได้มาเป็นหุ้นบริษัท 
  3. ผลประโยชน์อื่น ที่แม้ไม่ได้รับก็หาซื้อ/เช่าได้ เช่น สิทธิบ้านพักสำหรับพนักงาน 

 

รวมถึงสิ่งอื่น ๆ ที่ได้รับ และไม่ได้มีประกาศยกเว้นภาษี เช่น เงินภาษีที่นายจ้างหรือคนอื่นออกให้ เงินส่วนที่เกิดจากเครดิตภาษีเงินปันผล ฯลฯ

 

เมื่อเกือบทุกอย่างที่ได้มาล้วนเป็นรายได้ต้องเสียภาษี สิ่งที่ควรรู้ต่อมาคือหลักการในการจัดเก็บภาษี ซึ่งประเทศไทยใช้อยู่ 2 รูปแบบตามแหล่งที่มาของรายได้ ได้แก่

 

เงินได้เกิดจากแหล่งเงินในประเทศ

 

มักเรียกว่าหลักแหล่งเงินได้ ที่ครอบคลุมรายได้เกือบทุกอย่างที่เกิดขึ้นในไทย ได้แก่

 

  • เงินที่ลูกจ้างได้รับจากกิจการนายจ้างในประเทศไทย เช่น เงินเดือน โบนัส ค่าล่วงเวลา ฯลฯ
  • เงินจากหน้าที่งานที่ตนทำในประเทศไทย เช่น รับจ้างทั่วไป ฟรีแลนซ์ ค่านายหน้า ฯลฯ
  • เงินจากกิจการที่ตนทำในประเทศไทย เช่น ธุรกิจนามส่วนตัว ค้าขาย ขายของออนไลน์ ฯลฯ
  • เงินจากทรัพย์สินของตนที่อยู่ในประเทศไทย เช่น ค่าเช่าคอนโด ดอกเบี้ย เงินปันผล กำไรจากการขายหุ้น/กองทุน ฯลฯ

 

เงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศไทย  

 

มักเรียกว่าหลักถิ่นที่อยู่ ซึ่งครอบคลุมคนที่อยู่อาศัยในไทยรวม 180 วันขึ้นไปภายในปี พ.. เดียวกัน และมีรายได้เกิดขึ้นที่ต่างประเทศ ได้แก่

 

  • เงินหน้าที่งานที่ตนทำในต่างประเทศ เช่น รับจ้างที่ไม่ใช่การเป็นพนักงานประจำ ฯลฯ
  • เงินจากกิจการที่ตนทำในต่างประเทศ เช่น มีธุรกิจหรือร้านค้าที่ต่างประเทศ ฯลฯ
  • เงินจากทรัพย์สินของตนที่อยู่ในต่างประเทศ เช่น ลงทุนหุ้น Offshore ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ (บัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศ)​ ซื้อขายเหรียญดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มต่างประเทศ ฯลฯ

 

โดยอดีตจนถึงปี 2566 หากมีการนำรายได้จากต่างประเทศเข้าไทยในปีภาษีเดียวกับที่เกิดรายได้นั้น เงินส่วนนั้นเข้าข่ายต้องยื่นภาษีไทย เช่น กำไรจากการซื้อขายหุ้นที่ต่างประเทศ (Offshore)​ ปี 65 หากนำเงินกำไรนั้นกลับเข้าไทยปี 65 ก็ต้องนำกำไรมายื่นภาษีที่ไทย หลายคนจึงเลือกนำรายได้กลับเข้าไทยข้ามปีภาษี เช่น นำกลับเข้าไทยปี 66 ก็จะไม่เข้าข่ายต้องยื่นภาษีที่ไทยโดยอัตโนมัติ

 

อย่างไรก็ตามเมื่อ 15 .. 66 ที่ผ่านมาได้คำสั่งกรมสรรพากร ระบุว่าเงินที่นำเข้าไทยตั้งแต่ปี 67 เป็นต้นไป ต้องนำเงินส่วนที่เป็นรายได้ (ตามหลักถิ่นที่อยู่)​ มายื่นภาษีที่ไทย ไม่ว่ารายได้นั้นเกิดขึ้นในปีเดียวกันหรือปีอื่นก็ตาม

 

ทำให้นับตั้งแต่ปี 67 เป็นต้นไป รายได้ที่เกิดขึ้นที่ต่างประเทศเมื่อนำเข้าไทย ก็ต้องยื่นและเสียภาษีที่ไทยด้วย เช่นเดียวกับรายได้ที่เกิดขึ้นในประเทศ ทำให้เกิดความเป็นธรรมในการเสียภาษีมากขึ้น เช่น พนักงานประจำที่ถูกส่งไปทำงานต่างประเทศโดยรับรายได้จากนายจ้างไทยเพื่อนำไปใช้จ่าย ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเช่นเดียวกับพนักงานคนอื่นที่ทำงานในไทย

 

ดังนั้นคนที่ไปทำงานหรือมีรายได้จากต่างประเทศ การเสียภาษีให้สรรพากรไทยจึงอาจไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจนัก อย่างไรก็ตามสรรพากรไทยก็มีอนุสัญญาภาษีซ้อนอยู่กับ 61 ประเทศ (ข้อมูล ณ 29 .. 66 www.rd.go.th/765.html) ที่ส่งผลให้รายได้บางอย่างเมื่อเสียภาษีที่ต่างประเทศแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเสียภาษีที่ไทยอีก

 

ภาษีเงินได้ เรื่องใกล้ตัวของทุกคนที่มีรายได้ ไม่ว่าอาชีพใดหรือมีรายได้จากไหน เพื่อให้เงินภาษีนั้นได้มีโอกาสถูกนำไปกระจายสร้างโอกาสให้กับผู้มีรายได้น้อยกว่าเราที่อาจมีอยู่จำนวนมากในประเทศไทย

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats