×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

8 หุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ มีความสามารถจ่ายหนี้สูง

358

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Youtube | Facebook | TikTokInstagramLine 

 

ในช่วงที่เศรษฐกิจ ภาพการลงทุนยังไม่มีความแน่นอน ปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนนำมาประกอบการตัดสินใจก่อนซื้อหุ้น คือ ตัวเลขหนี้สิน พูดง่ายๆ ถ้าหุ้นตัวไหนมีหนี้สินสูงๆ ก็อาจหลีกเลี่ยง ตรงกันข้ามหุ้นที่หนี้สินต่ำ หรือไม่มีหนี้เลย ก็เก็บเอาไว้ในลิสต์ จากนั้นก็ไปวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน อัตราส่วนทางการเงินอื่นๆ เพื่อให้มั่นใจว่าเลือกหุ้นไม่ผิดตัว

 

สำหรับอัตราส่วนทางการเงินที่บอกว่าบริษัทมีภาระหนี้สินมากน้อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับส่วนของเจ้าของ คือ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio)

 

  • D/E Ratio สูง หมายความว่า ก่อหนี้สูง ดำเนินธุรกิจด้วยการพึ่งพาการกู้ยืมเป็นส่วนใหญ่
  • D/E Ratio ต่ำ หมายความว่า ก่อหนี้ต่ำ ดำเนินธุรกิจด้วยการพึ่งพาการกู้ยืมเพียงเล็กน้อย
  • D/E Ratio = 0 หมายความว่า ไม่ได้ก่อหนี้ ดำเนินธุรกิจด้วยการพึ่งพาเงินทุนของเจ้าของหรือผลกำไรจากการดำเนินงาน

 

โดยทั่วไปแล้ว D/E Ratio ที่ดีควรอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 1.5 เท่า แต่อัตราส่วนนี้ที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปตามประเภทอุตสาหกรรม เนื่องจากบางอุตสาหกรรมจะใช้การกู้ยืมเพื่อดำเนินธุรกิจมากกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น ธุรกิจการเงิน มักจะมี D/E Ratio ค่อนข้างสูงมากกว่า 2 เท่า

 

นอกจาก D/E Ratio แล้ว เพื่อความสบายใจมากขึ้น ควรดูอัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio) โดยใช้วัดความสามารถว่ามีกำไรที่จะจ่ายหนี้ที่กู้ยืมมาได้มากน้อยเพียงใด โดยตัวเลขผลลัพธ์จะแสดงถึงการนำกำไรมาจ่ายได้กี่เท่าของดอกเบี้ยทั้งหมดที่ค้างชำระ 

 

โดยอัตราส่วนนี้วิเคราะห์จากค่ากำไรจากการดำเนินงานต่อดอกเบี้ยจ่าย อัตราส่วนนี้ยิ่งสูงก็ยิ่งเพิ่มความมั่นใจแก่เจ้าหนี้ในการที่จะได้รับชำระดอกเบี้ย

 

สูตร = กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี / ดอกเบี้ยจ่าย

 

  • Interest Coverage Ratio สูง หมายความว่า มีเงินสดเพียงพอหลังจากชำระหนี้ เพื่อลงทุนในธุรกิจต่อไป แสดงว่ามีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ต่ำ
  • Interest Coverage Ratio ต่ำ หมายความว่า มีเงินสดไม่พอหลังจากชำระหนี้ เพื่อลงทุนในธุรกิจต่อไป แสดงว่า มีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้สูง

 

Interest Coverage Ratio อาจแตกต่างกันไปตามประเภทอุตสาหกรรม แต่โดยรวมแล้วควรมีมากกว่า 1 เท่า แต่นักลงทุนและนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มักมองหาหุ้นที่มีอัตราส่วนนี้อย่างน้อย 3 เท่า ซึ่งสะท้อนว่ารายได้ของธุรกิจมีความน่าเชื่อถือและสม่ำเสมอ 

 

ในทางกลับกัน Interest Coverage Ratio ต่ำกว่า 1 เท่า อาจหมายความว่ารายได้ของธุรกิจไม่เพียงพอต่อการชําระหนี้สินที่มีอยู่ และหากเห็นตัวเลขติดลบ อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าบริษัทมีความเสี่ยงต่อการล้มละลายในอนาคต

 

ถัดมาดูอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนผู้ถือหุ้น (Interest Bearing Debt to Equity Ratio) แสดงว่าหนี้สินที่มีดอกเบี้ยมีสัดส่วนเป็นกี่เท่าของส่วนของผู้ถือหุ้น โดยหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยประกอบไปด้วยเงินเบิกเกินบัญชี เงินกู้ยืมธนาคาร (หนี้สิน) ทั้งระยะสั้นและระยะยาว หุ้นกู้ เป็นต้น ในขณะที่เจ้าหนี้การค้านั้นไม่ได้มีภาระดอกเบี้ย และเป็นเพียงหนี้ที่เกิดจากบริษัทซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบเข้ามาเพื่อผลิตสินค้าและรอชำระเงินให้กับคู่ค้าหรือซัพพลายเออร์เท่านั้น 

 

ดังนั้น ถ้าหักหนี้สินที่ไม่มีภาระดอกเบี้ยออกไป จะแสดงถึงความมั่นคงของฐานะทางการเงินได้ดีกว่า โดยทั่วไปอัตราส่วนนี้ไม่ควรเกิน 1 เท่า (หนี้สินไม่เกินส่วนของผู้ถือหุ้น) แต่บริษัทขนาดใหญ่อาจสูงเกิน 1 เท่า เช่น ธุรกิจการเงิน

 

สูตร = หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย / ส่วนผู้ถือหุ้น

 

ปัจจุบันบริษัทมักจะก่อหนี้ด้วยการกู้ยืมสถาบันการเงินหรือออกหุ้นกู้ซึ่งผลที่ตามมา คือ ภาระผูกพันเกิดขึ้นในรูปดอกเบี้ยและเงินต้นที่ต้องจ่ายคืนเมื่อถึงเวลากำหนด ดังนั้น ถ้าบริษัทมีภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายสูงก็จะมีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาด้านสภาพคล่องทางการเงิน ก็มีโอกาสนำไปสู่ปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ (Default) ที่เจ้าหนี้ไม่ได้รับดอกเบี้ยหรือเงินต้นคืนตามเวลาที่กำหนด

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats