รวมมาให้แล้ว! รายการลดหย่อนภาษีปี 2567
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Youtube | Facebook | TikTok | Instagram | Line
ก่อนยื่นภาษีปีนี้ มาเช็กสิทธิให้ชัวร์ก่อน…รายการลดหย่อนภาษีปี 2567 มีอะไรบ้าง? จะได้ไม่พลาดสิทธิประโยชน์สูงสุดในการลดหย่อนภาษี
ลดหย่อนส่วนตัว/ครอบครัว
- ส่วนตัว 60,000 บาท
- คู่สมรส (ไม่มีรายได้) 60,000 บาท
- บุตร คนละ 30,000 บาท (บุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป ที่เกิดตั้งแต่ปี 61 คนละ 60,000 บาท)
- ค่าคลอดบุตร ไม่เกินท้องละ 60,000 บาท
- ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ คนละ 30,000 บาท
- ค่าเลี้ยงดูผู้พิการ/ทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
กระตุ้นเศรษฐกิจ
- ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 100,000 บาท
- EASY e-Receipt 67 ไม่เกิน 50,000 บาท
- เที่ยวเมืองรอง 67 ไม่เกิน 15,000 บาท
- สร้างบ้านใหม่ 67-68 ไม่เกิน 100,000 บาท (10,000 บาท ต่อค่าก่อสร้างทุก 1 ล้านบาท)
เงินบริจาค
- กลุ่มการศึกษา/กีฬา/มูลนิธิด้านการแพทย์ และการสาธารณสุข 2 เท่าของเงินบริจาค ไม่เกิน 10% ของเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน (บริจาคผ่าน e-Donation เท่านั้น)
- บริจาคสถานพยาบาลของรัฐ 2 เท่าของเงินบริจาค ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
- บริจาคทั่วไป ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
- พรรคการเมือง ไม่เกิน 10,000 บาท
ประกันชีวิตและการลงทุน
- ประกันชีวิตทั่วไป/ประกันสะสมทรัพย์ ไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันสุขภาพตัวเอง 25,00 บาท
รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันสุขภาพพ่อแม่ ไม่เกิน 15,000 บาท
- ประกันชีวิตคู่สมรส (ไม่มีรายได้) ไม่เกิน 10,000 บาท
- ประกันสังคม 9,000 บาท
- เงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม ไม่เกิน 100,000 บาท
- กองทุน ThaiESG 30% ของเงินได้ไม่เกิน 300,000 บาท
- กองทุน SSF 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท
- กองทุน RMF ไม่เกิน 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
- ประกันบำนาญ 15% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท
- กอช. ไม่เกิน 30,000 บาท
- กองทุน PVD 15% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนสงเคราะห์ครูฯ ไม่เกิน 500,000 บาท
- กบข. ไม่เกิน 500,000 บาท
รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท
มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
- ช่วยค่าซ่อมบ้าน ไม่เกิน 100,000 บาท
- ช่วยค่าซ่อมรถ ไม่เกิน 30,000 บาท
(ที่จ่ายไประหว่างวันที่ 16 ส.ค. – 31 ธ.ค. 67 เฉพาะเขตพื้นที่ที่กำหนด)
การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีไม่เพียงช่วยลดภาระภาษี แต่ยังเป็นการวางแผนการเงินในระยะยาวและสนับสนุนการพัฒนาสังคมไปพร้อมกัน การศึกษาและวางแผนใช้สิทธิลดหย่อนอย่างเหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับทุกคนที่มีหน้าที่เสียภาษี