×

Wealth Me Up ข่าวสั้น ทันเศรษฐกิจ

#เราต้องรอด Special : อัพเดท COVID-19 จาก “คนไทยในอังกฤษ”

2,101

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

 

#เราต้องรอด Special: อัพเดท COVID-19 จาก “คนไทยในอังกฤษ”

กับ นุชนารถ โคลแมน คนไทยในอังกฤษ

สัมภาษณ์โดย เฟิร์น ศิรัถยา อิศรภักดี Investment Influencer เจ้าของแนวคิด “ใช้แรงทำเงิน ให้เงินทำงาน”

 

สาธารณสุข เข้าถึงยาก-งบน้อย ดันยอดผู้ติดเชื้อ-เสียขีวิตพุ่ง

การเข้าถึงระบบสาธารณสุขของอังกฤษ แตกต่างจากประเทศไทย (ที่ไปโรงพยาบาลได้ตลอดเวลา) คือคนไข้จะต้องโทรนัดคุณหมอล่วงหน้าเท่านั้น ถึงสามารถเข้าตรวจ และรักษาได้ โดยอาจใช้เวลา 2-3 วัน ส่วนโรค COVID-19 จะเป็นการโทร Hot Line (111) โดยหากอาการไม่หนัก ก็จะให้อยู่บ้านเป็นหลัก เนื่องจากโรงพยาบาลโอกาสติดเชื้อสูง และอุปกรณ์การแพทย์จำกัด ทำให้อัตราการเสียชีวิตที่อังกฤษมีโอกาสแซงอิตาลีในอีก 2-3 วัน

ส่วนงบประมาณด้านสาธารณสุข มักเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับงบประมาณด้านอื่น ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่ง Boris Johnson เป็นรัฐบาลเดียวในรอบทศวรรษที่จะทุ่มทุนให้ระบบสาธารณสุขหลังออกจาก Brexit แต่ยังไม่ทันดำเนินการก็เกิด COVID-19 ก่อน

 

ผู้สูงวัยแยกอยู่ที่ Nursing Home เพิ่มความเสี่ยง

ผู้สูงวัยในอังกฤษ มักไม่ได้อยู่กับลูกหลาน แต่จะรวมตัวกันที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นการอยู่รวมกันของคนอายุเยอะที่ภูมิคุ้มกันต่ำ ทำให้โอกาสติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น

 

ล้มแผน Herd Immunity ได้ไม่คุ้มเสีย

อังกฤษเป็นประเทศแรกที่ออกมาพูดถึงแผนการให้ประชากรส่วนใหญ่ (60%) ติดเชื้อไวรัส เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันด้วยตนเอง (Herd Immunity) ซึ่งสร้างเสียงฮือฮาให้กับนานาประเทศก่อนหน้านี้ กระทั่งนักวิทยาศาสตร์ 400 คน เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งอาจทำให้มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก แต่มีคนส่วนใหญ่ไม่สามารถสร้างภูมิได้ และทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จึงทำให้แผนนี้ถูกพับไป

 

ใส่หน้ากากอนามัยประมาณ 10% รัฐไม่บังคับ กังวลอุปกรณ์ขาดแคลน

คนอังกฤษใส่หน้ากากอนามัยค่อนข้างน้อย ประเมินจากที่เห็นคือประมาณ 10% (3 คน จาก 30 คนใน Supermarket) ด้วย 2 เหตุผล คือ 1.คนไม่ได้ตื่นกลัวมากนัก (คนอังกฤษมีความเชื่อด้วยว่าคนที่ต้องใส่หน้ากากอนามัยคือคนป่วย) 2. รัฐบาลกังวลว่าหากบังคับให้ใส่จะกระทบกับการขาดแคลนของอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งปัจจุบันก็มีไม่เพียงพอ

ส่วนมาตรการที่ภาครัฐย้ำคือ Social Distancing 2 เมตร, ออกไปทำงานเฉพาะที่ไม่สามารถทำงานที่บ้านเท่านั้น, ออกจากบ้านได้เฉพาะการซื้ออาหาร-ยา, ออกกำลังกายนอกบ้านได้เพียงวันละ 1 ครั้ง ไม่เกิน 2 คนต่อครอบครัว แต่ยังมีคนบางส่วนที่ไม่ได้ทำตามคำแนะนำของภาครัฐ

 

ปรากฏการณ์ “Panic Buyer” ทำ Super Market ว่างเปล่า

ในช่วงแรกที่ประกาศ Lockdown ผู้คนเข้าคิวซื้อของที่ Super Market (แหล่งเดียวที่สามารถซื้ออาหาร ของสด เพื่อรับประทานได้) โดยต่อคิวจำนวนมากก่อนเปิดให้บริการ ขณะที่สินค้าก็หมดอย่างรวดเร็ว (หมดเกลี้ยง ไม่เหลือแม้แต่อย่างเดียว (ในคลิปมีภาพประกอบ)

 

ทักทายด้วยการ จับมือ-กอด-หอม | ใส่รองเท้าเข้าบ้าน | ทานอาหารด้วยมือ ปัจจัยหนุน

พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในอังกฤษ อาจเป็นตัวเร่งให้การระบาดแพร่กระจายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทักทายด้วยการจับมือ กอด หอม, การใส่รองเท้าเข้าบ้าน (ซึ่งอาจนำเชื้อเข้ามาด้านใน), อากาศเย็น (ทำให้บางคนไม่ได้อาบน้ำทุกวัน) หรือแม้แต่อาหารการกินที่เป็น เบอร์เกอร์ มันฝรั่งทอด ที่ใช้มือทาน (ไม่เหมือนคนเอเชียที่ทานร้อน และใช้ช้อน-ส้อม เป็นหลัก)

 

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats