×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

4 สิ่งต้องรู้ เมื่อกองทุนตราสารหนี้ติดลบ

3,543

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

กองทุนตราสารหนี้ ที่ใครๆ ว่าเป็นทางเลือกการลงทุนความเสี่ยงต่ำ แต่ทำไมถึงติดลบได้ และเมื่อติดลบควรทำอย่างไรกับกองทุนที่ถืออยู่ดี มาหาคำตอบได้ใน 4 สิ่งต้องรู้ เมื่อกองทุนตราสารหนี้ติดลบ

 

 การลงทุนมีความเสี่ยง

 

ขึ้นชื่อว่ากองทุนย่อมมีความเสี่ยง ขึ้นอยู่กับว่ามากหรือน้อย เพราะไม่มีการคุ้มครองเงินต้นเหมือนเงินฝากทั่วไป สำหรับกองทุนตราสารหนี้มักมีความเสี่ยงระดับ 1-4 จากสูงสุด 8 ระดับ จึงถือว่าเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงตั้งแต่ต่ำ ไปจนถึงปานกลางค่อนข้างต่ำ จึงไม่แปลกที่เงินลงทุนจะมีกำไร/ขาดทุนสลับกันได้บ้าง

 

ทำไมราคาถึงเปลี่ยนแปลง

 

กองทุนตราสารหนี้ทั่วไป ต้องมีการคำนวณราคากองทุน หรือ NAV ทุกสิ้นวันทำการ โดยอ้างอิงราคาตลาดของตราสารหนี้ที่ลงทุนอยู่ ซึ่งขึ้นลงได้ทุกวันทำการ จากความคาดหวังหรือความกังวลเรื่องอัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้ที่จะออกใหม่ในอนาคต

 

เช่น หากคาดว่าตราสารหนี้ที่ออกใหม่จะให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าตราสารหนี้เดิม นักลงทุนก็มักขายตราสารหนี้เดิมเพื่อซื้อตราสารหนี้ใหม่ที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่า ราคาตราสารหนี้เดิมลดลง และกองทุนตราสารหนี้จึงลดลง

 

เมื่อไรราคาถึงกลับมา

 

ตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชน ฯลฯ มักจ่ายดอกเบี้ยในจำนวนและความถี่ตามที่ระบุไว้ ดังนั้นหากผู้ออกตราสารหนี้ยังคงจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นได้ตามสัญญา การถือตราสารหนี้ไปจนกว่าครบกำหนดก็จะไม่มีผลขาดทุนเกิดขึ้น แม้ระหว่างทางราคาตลาดของตราสารหนี้อาจมีขึ้นลงบ้างก็ตาม

 

สำหรับกองทุนเปิดตราสารหนี้ จะมีการนำเงินไปลงทุนหลายๆ ตราสารหนี้ ซึ่งจะทยอยครบกำหนดไม่พร้อมกัน โดยแต่ละกองทุนจะมีอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ที่ถืออยู่ (portfolio duration) ต่างกัน ดังนั้นหากไม่มีตราสารหนี้ไหนในกองทุนผิดนัดชำระหนี้ นักลงทุนที่ถือเงินลงทุนได้นานกว่า portfolio duration ก็มีโอกาสสูงที่จะได้ผลกำไรจากการลงทุน แม้ระหว่างทางราคากองทุนอาจขาดทุนบ้างก็ตาม

 

 

ทำไมแต่ละกองทุนถึงเสี่ยงต่างกัน

 

ความเสี่ยงของกองทุนตราสารหนี้ หลักๆ ดูได้จาก

 

  •    ระดับความเสี่ยง : ความเสี่ยงระดับ 1 ถือว่าเสี่ยงต่ำที่สุด

 

  •    อายุเฉลี่ยตราสารหนี้ : ยิ่งสั้น ความผันผวนของ NAV ยิ่งต่ำ

 

  •    ผู้ออกตราสารหนี้ : ตราสารหนี้ภาครัฐมีความเสี่ยงต่ำที่สุด ส่วนตราสารหนี้เอกชนที่มี credit rating ระดับ AAA, AA, A, BBB ฯลฯ มีความเสี่ยงสูงขึ้นตามมา

 

  •    การลงทุนต่างประเทศ : กองทุนที่ลงทุนเฉพาะในประเทศไทย ถือว่าเสี่ยงต่ำกว่ากองทุนที่ลงทุนต่างประเทศ ส่วนกองทุนที่ลงทุนต่างประเทศหากป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำกว่ากองทุนที่ป้องกันเพียงบางส่วนหรือไม่ป้องกันเลย

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats