7 หุ้นราคาขยับขึ้น สวนตลาดขาลง
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Facebook | Line | Youtube | Instagram
วันที่ 4 มกราคม 2565 ดัชนีหุ้นไทยอยู่ที่ระดับ 1,670.28 จุด ศุกร์ 13 พฤษภาคม 2565 ดัชนีหุ้นไทยอยู่ที่ระดับ 1,584.38 จุด ในปีนี้ดัชนีหุ้นไทยซื้อขายสูงสุดที่ระดับ 1,713.20 จุด ต่ำสุด 1,584.38 จุด ซึ่งโดยรวม ๆ แล้ว ตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม นักลงทุนต้องเผชิญกับสภาวะการลงทุนผันผวนรุนแรง เป็นจังหวะที่ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการลงทุน ถ้าซื้อหุ้นถูกตัวก็ได้กำไร แต่ถ้าซื้อผิดตัวก็ขาดทุน
ช่วงต้นปี นักลงทุนมีความหวังว่าตลาดหุ้นจะกลับมาสดใสคึกคักอีกครั้ง หลังสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 คลี่คลาย แต่แล้วเมื่อสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนยืดเยื้อและรุนแรง ขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อเป็นขาขึ้นอย่างชัดเจน จนทำให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง
ผลลัพธ์ ตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงตลาดหุ้นไทยผันผวนอย่างรุนแรง และจากที่คิดว่าการลงทุนในหุ้นไทยจะเป็นงานง่าย กลายเป็นงานหิน เมื่อนักลงทุนเริ่มขาดทุนและใช้กลยุทธ์ขายตัดขาดทุนเพื่อรักษาเงินต้นเอาไว้ (Cut Loss)
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่หุ้นทุกตัวที่จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไม่มีความแน่นอน ยังมีหุ้นอีกหลายตัวที่เมื่อลงทุนแล้วจะสร้างผลตอบแทนที่น่าดี พูดง่าย ๆ ถ้าซื้อหุ้นถูกตัวก็ยังมีกำไร โดยราคาหุ้นยังสามารถปรับขึ้นได้
แต่หากดูสถิติแล้ว พบว่าในช่วงเกิดวิกฤติหรือสถานการณ์ไม่แน่นอน หุ้นที่ราคาสามารถปรับขึ้นได้ไม่จำนวนไม่มาก เมื่อเทียบกับหุ้นที่มีราคาปรับลดลง โดยวันที่ 4 มกราคม – 13 พฤษภาคม 2565 พบว่า
- หุ้นที่มีราคาปรับขึ้น 20% ขึ้นไป จำนวน 65 ตัว
- หุ้นที่มีราคาปรับขึ้น 15% ขึ้นไป จำนวน 85 ตัว
- หุ้นที่มีราคาปรับขึ้น 10% ขึ้นไป จำนวน 110 ตัว
- หุ้นที่มีราคาปรับขึ้น 5% ขึ้นไป จำนวน 155 ตัว
- หุ้นที่มีราคาปรับขึ้น 3% ขึ้นไป จำนวน 172 ตัว
- หุ้นที่มีราคาไม่เปลี่ยนแปลง (0%) จำนวน 14 ตัว
- หุ้นที่มีราคาปรับลดลง 592 ตัว
จากสถิติ หุ้นที่มีราคาปรับขึ้น อาจมองว่ามีจำนวนมาก แปลว่านักลงทุนมีตัวเลือกในการลงทุนมากตามไปด้วย เพราะโดยปกติแล้วนักลงทุนคนหนึ่งก็ซื้อหุ้นเก็บไว้ในพอร์ตไม่มาก คงไม่มีนักลงทุนคนไหนที่มีหุ้นอยู่ในพอร์ต 100 ตัว
อย่างไรก็ตาม ก่อนลงทุนต้องดูข้อมูลต่าง ๆ ประกอบการตัดสินใจ คือ ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยเทคนิค และยิ่งเป็นช่วงตลาดหุ้นขาลงยิ่งต้องศึกษาข้อมูลและใช้ความระมัดระวังมากขึ้น หากพูดถึงปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อราคาหุ้นมี 3 ประการ ได้แก่
ปัจจัยพื้นฐาน
อธิบายให้ง่ายที่สุด คำว่า “ปัจจัยพื้นฐาน” ประกอบด้วย 2 สิ่งที่สำคัญ ก็คือ ความสามารถในการทำกำไรและตัวคูณมูลค่า ซึ่งจะกำหนดความพอใจที่จะซื้อขายหุ้นกัน
ความสามารถในการทำกำไรของหุ้น เรียกว่า ผลกำไรต่อหุ้น (EPS) คือ บริษัทมีกำไรเท่าไรก็หารด้วยจำนวนหุ้นที่มี ความสามารถในการทำกำไรนี้ ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ตามภาวะของบริษัทว่ามีโอกาสทำกำไรได้มากน้อยอย่างไร
ส่วนตัวคูณมูลค่า เรียกว่า P/E Ratio คือ นักลงทุนพอใจจะจ่ายเงินเป็นกี่เท่าของผลกำไรของบริษัท เพื่อซื้อหุ้นนั้นมา และคาดหวังกระแสของกำไรที่จะได้มาอย่างต่อเนื่องในอนาคต
นี่คือนิยามของคำว่าปัจจัยพื้นฐาน ดังนั้นเมื่อบริษัทมีกำไรมาก ราคาหุ้นย่อมแพงขึ้น หรือเมื่อใดที่บริษัทมีแนวโน้มทำกำไรได้ดีในอนาคต นักลงทุนย่อมจ่ายเงินด้วยตัวคูณที่มากขึ้น เพื่อซื้ออนาคตที่สดใสอย่างไรก็ดี ในแง่ของความสามารถในการทำกำไร บางครั้งนักลงทุนก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาจากตัวเลข Earning เสมอไป บางครั้งอาจจะดูจากกระแสเงินสด หรืออัตราการจ่ายเงินปันผลก็ได้
ปัจจัยเทคนิค
นอกจากการดูกราฟ ซึ่งเป็นการพิจารณาเทรนด์หรือแนวโน้มของราคาหุ้นแล้ว ปัจจัยทางเทคนิคยังครอบคลุมอีกหลายด้าน แนวคิดหลักก็คือ ปัจจัยที่ไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัท แต่ส่งผลต่อราคาหุ้นได้
ภาวะตลาด
ทิศทางตลาดเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่กำหนดราคาหุ้นได้ ภาวะตลาดหุ้นที่กำลังไปได้สวย นักลงทุนจะเห็นหุ้นแทบทุกตัวปรับขึ้น ในขณะที่ภาวะตลาดหุ้นขาลง แม้ตัวหุ้นจะดีแค่ไหน ราคาก็ขึ้นยาก
ทั้งหมดนี้ คือ ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อราคาหุ้น หากนักลงทุนเป็นนักลงทุนระยะยาว อาจจะให้ความสำคัญกับปัจจัยพื้นฐานอย่างมาก ในขณะที่ถ้าเป็นนักลงทุนระยะสั้น คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องดูปัจจัยเทคนิคและภาวะตลาดให้ละเอียดรอบคอบ