สรุปงานสัมมนา เปิดมุมมองวิเคราะห์การเงินและการลงทุนครึ่งหลังของปี 2565 “ถึงเวลาหรือยังที่จะลงทุนสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง”
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Facebook | Line | Youtube | Instagram
สรุปมาให้แล้วกับมุมมองการลงทุนในยุคดอกเบี้ยขาขึ้น เงินเฟ้อพุ่งสูง เศรษฐกิจก็เสี่ยงจะถดถอย…จะปรับพอร์ตลงทุนยังไงดี?
หุ้นเติบโตยังไหวหรือเปล่า… หรือจะโยกเงินไปลงทุนตราสารหนี้ดี?
ตอนนี้ได้จังหวะซื้อหุ้นจีนแล้วหรือยัง?
จากงานสัมมนาพิเศษสำหรับลูกค้า KRUNGSRI EXCLUSIVE ที่มีการลงทุนมากกว่า 5 ล้านบาท
มาค้นหาคำตอบกับผู้เชี่ยวชาญจากไทยและระดับโลกกัน…
Will China turn around?
ตลาดหุ้นจีนฟื้นตัว?
โดย Vivien Ng, UBS Asset Management (Singapore) Ltd.
- สถานการณ์ของจีนในปัจจุบัน
- สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ปัจจุบันยอดผู้ป่วย COVID-19 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ มีการผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 แต่ยังใช้นโยบาย Zero COVID โดยล็อกดาวน์บางพื้นที่ที่มีการระบาดเท่านั้น ทำให้ผลกระทบของการล็อกดาวน์เมืองที่มีผลต่อเศรษฐกิจลดลงเหลือเพียง 5% ของ GDP ประเทศ
- การส่งออกของจีนยังดี อุตสาหกรรมการผลิตกลับมาเดินเครื่องผลิต ปัญหา Supply Chain คลี่คลายลง ซึ่งส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน
- เสถียรภาพทางเศรษฐกิจคือเป้าหมายสำคัญในระยะสั้นและระยะยาว และอาจเห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น
- Sentiment ของนักลงทุนโลกเริ่มกลับมาเป็นบวก นักลงทุนกลับมาลงทุนในตลาด A-Share มากขึ้น
- เป้าหมายของจีนในระยะยาว
- Security ความมั่นคง ความปลอดภัยของประเทศ ต้องมีเทคโนโลยีด้านการผลิตเป็นของตัวเอง
- Financial Stability เสถียรภาพทางการเงินของประเทศ
- Common Prosperity ลดความเหลื่อมล้ำ ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- Environment คำนึงถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จีนมียอดรถยนต์ EV เพิ่มขึ้นมาก
- Dual Circulation ใช้การบริโภคภายในประเทศและการส่งออกผลักดันให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพในระยะยาว
- Demographics จีนกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงต้องทำให้ภาคการผลิตใช้แรงงานน้อยลง แต่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น
- แนวโน้มเศรษฐกิจจีน
-
- จีนตั้งเป้า GDP ปี 2022 ขยายตัวที่ระดับ 5% ดังนั้นจะเห็นการใช้นโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง
- ผ่อนคลายกฎระเบียบควบคุมภาคอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกระตุ้นยอดขาย
- ใช้นโยบายการคลัง มีการจัดสรรงบประมาณลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ออกมาตรการอุดหนุนให้คนใช้จ่ายซื้อสินค้า
- ใช้นโยบายการเงิน ส่งเสริมการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์
- ใช้มาตรการ Zero COVID ที่เน้นควบคุมเฉพาะพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดเท่านั้น เพื่อลดผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจ
- ปัจจุบัน–อนาคตตลาดหุ้นจีน
-
- Valuation ในปัจจุบันของตลาดหุ้นจีนอยู่ในระดับที่ถูกมากและน่าสนใจเมื่อเทียบกับปี 2016
- ปัจจัยที่จะขับเคลื่อนตลาดหุ้นในระยะยาว ได้แก่ การบริโภคสินค้าที่คนจีนเชื่อว่าคุ้มค่าเงิน มีคุณค่าทางจิตใจ อุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตของเมือง นวัตกรรมเทคโนโลยี อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้พลังงานสะอาด ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประชากรสูงวัย
- กลยุทธ์คัดเลือกหุ้นจีนของกองทุน UBS China A Opportunity
-
- โฟกัสกิจการที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตของจีน
- มุ่งเน้นอุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ที่ตอบโจทย์การเติบโตของเศรษฐกิจระยะยาวของจีน โดยคัดกรองจากปัจจัยพื้นฐาน และการวิเคราะห์เชิงลึก เพื่อเฟ้นหากิจการที่มีโอกาสเป็นผู้ชนะในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
- กองทุน Outperform มาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2015 แต่ในปี 2021 Underperform เพราะจีนจัดระเบียบอุตสาหกรรมในประเทศ
- ณ สิ้นเดือน พ.ค. 2022 กองทุนยังให้ความสำคัญกับหุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มสุขภาพ กลุ่มธุรกิจการเงิน แต่ลดน้ำหนักการลงทุนกลุ่มโรงเรียนกวดวิชา
Can growth stocks perform during FED hike cycle?
ยุคดอกเบี้ยขาขึ้น หุ้นเติบโตจะสร้างผลตอบแทนที่ดีได้หรือไม่?
โดย Stewart Hogg, Client Service Director, Baillie Gifford
- Growth Stock ยังน่าลงทุนอยู่หรือไม่?
-
- วัฏจักรขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ทำให้หุ้นเติบโต (Growth Stock) หมดคุณค่า
- ในช่วงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยปี 2015-2019 ที่ปรับจากระดับ 0% มาอยู่ที่ 25% ผลตอบแทนของหุ้นเติบโต Outperform หรือเอาชนะ Benchmark ได้ 11% ต่อปี
- ปัจจุบัน ราคาหุ้นทั่วโลกในทุกกลุ่มรวมทั้งหุ้นเติบโตปรับลดลง เนื่องจากนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นจากปัจจัยความกังวลต่างๆ เช่น อัตราเงินเฟ้อสูง สงครามรัสเซีย-ยูเครน และความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย
- ต้องเฟ้นหาหุ้นรายตัวที่เป็นผู้ชนะในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่สามารถเติบโตได้ในระยะยาว ต้องเป็นกิจการที่มีการเปลี่ยนแปลง (Transform) เป็นกิจการที่ผลักดันการ Transform และเป็นส่วนหนึ่งของการ Transform นั้นในระยะยาว
- กลยุทธ์การลงทุนแบบ Long Term Global Growth
-
- เฟ้นหากิจการจำนวนหนึ่งที่เติบโตได้ดีมากๆในระยะยาว มองหาหุ้นเติบโตที่จะชนะตลาดในช่วงเวลา 5-10 ปี
- รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกระดับโลกจากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญในหลายวงการ
- มีมุมมองเรื่องผลตอบแทนในแง่ดี และมอง Upside เสมอ หากตลาดหุ้นปรับลดลงมาก ตลาดหุ้นก็จะฟื้นตัวแรงมากเช่นกัน
- ความผันผวนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการลงทุนระยะสั้น แต่หากลงทุนตามกลยุทธ์ Long Term Global Growth ยาวนานเพียงพอ จะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ชนะตลาดได้และมีผลตอบแทนที่เป็นบวก
- ไม่ว่าสภาวะตลาดจะเป็นอย่างไร แต่หากลงทุนอย่างต่อเนื่อง และมองหากิจการที่เป็นผู้ชนะในแต่ละอุตสาหกรรมในระยะยาวได้จริง ก็จะได้รับผลตอบแทนที่ดี
- ตอนนี้ ราคาของหุ้นที่ปรับฐานลงมาไม่ได้สอดคล้องกับพื้นฐานของกิจการ แต่ปรับลดลงเพราะ Sentiment ของตลาด หลายกิจการยังมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ดังนั้นการลงทุนจึงเน้นการมองในระยะยาว หากิจการที่เติบโตพร้อมกับ Transformational Changes หรือการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่
- การเติบโตของผลการดำเนินงานเป็นตัวชี้วัดทิศทางราคาหุ้น
ข้อมูลในปี 1992-2021 แสดงให้เห็นว่าการเติบโตอย่างรวดเร็วของผลการดำเนินงานมีผลอย่างมากต่อผลตอบแทนจากการลงทุน ดังนั้น จึงพยายามมองหากิจการที่มีโอกาสเติบโตแบบก้าวกระโดด เพราะจะทำให้ราคาหุ้นมีการเติบโตเร็ว และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นที่กำไรไม่มีการเติบโตหรือเติบโตช้า
- หุ้นเติบโตจากการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ (Transformations)
-
- บริษัทที่คิดค้นนวัตกรรมเพื่อรักษาโรคต่างๆ หรือป้องกันไม่ให้คนเป็นโรค เช่น โรคทางเดินหายใจ มาลาเรีย และมะเร็ง จะมีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นธุรกิจที่เติบโต
- บริษัทที่สร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีตอบโจทย์การลดการปล่อยคาร์บอนจะเป็นบริษัทที่มีการเติบโตสูง
- เศรษฐกิจโลกเสมือนจริง (Virtual Economy) จะใหญ่กว่าเศรษฐกิจจริง (Real Economy) กิจการที่มีศักยภาพด้านนี้เป็นกิจการที่น่าสนใจ
- ปัจจุบันคือโอกาสเฟ้นหาหุ้นเติบโตระยะยาว
-
- ความผันผวนของตลาดทำให้เกิดความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดระหว่างราคาหุ้นและพื้นฐานของกิจการ ตอนนี้เป็นโอกาสสำคัญที่จะเฟ้นหาหุ้นเติบโตในระยะยาว
- การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เป็นสิ่งที่หยุดยั้งไม่ได้ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สร้างโอกาสการลงทุน ราคาหุ้นที่ลดลงมาก สามารถทำกำไรจาก Upside มหาศาลได้
The challenges of managing bond funds in rising-rate environment
ความท้าทายของการบริหารกองทุนตราสารหนี้ ยุคดอกเบี้ยขาขึ้น
โดย Gordon Harding, Vice President, Fixed Income Strategist, PIMCO
- ภาพรวมเศรษฐกิจมหภาค
-
- เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว และเติบโตช้าต่อไปประมาณ 12-18 เดือน
- อัตราเงินเฟ้อสูงเกินไปและยืดเยื้อกว่าที่คาดการณ์ไว้ การเติบโตของเศรษฐกิจต่ำเกินไป
- ธนาคารกลางเน้นจัดการเงินเฟ้อมากกว่ากระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ
- ผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้
-
- Bond Yield สหรัฐฯ ปรับขึ้นมามากแล้ว ดังนั้นมีโอกาสที่ Bond Yield จะปรับลงมากกว่าจะปรับสูงขึ้น
- จากข้อมูลในอดีต ทุกครั้งที่ Bond Yield พุ่งสู่ระดับสูงสุด ตลาดพันธบัตรจะสร้างผลตอบแทนที่แข็งแกร่งเสมอ แต่ครั้งนี้อาจไม่เหมือนในอดีต โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น อัตราเงินเฟ้อ
- ตอนนี้ Valuation หรือมูลค่าของตราสารหนี้อยู่ในระดับน่าลงทุน และ Bond Yield สูงขึ้น ทำให้มีโอกาสเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดี เช่น ปัจจุบัน Corporate Bond มี Yield เริ่มต้นดีที่สุดหากนับตั้งแต่ปี 2019
- การลงทุนในตราสารหนี้ในจังหวะที่มี Yield เริ่มต้นสูง จะมีโอกาสทำให้ภาพรวมผลตอบแทนของการลงทุนเป็นบวก
- กลยุทธ์การลงทุนของ PIMCO GIS Income Fund
-
- Flexibility มีการปรับพอร์ตลงทุนแบบยืดหยุ่นตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
- Diversify มีการกระจายความเสี่ยงการลงทุนในตราสารหนี้หลายประเภทและในหลายภูมิภาค เช่น สินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ (สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่ออกโดยภาครัฐ และหุ้นกู้ภาคเอกชนของบริษัทใหญ่) และสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง (ตราสารหนี้ของประเทศตลาดเกิดใหม่)
- พยายามรักษาเงินต้นให้ได้มากที่สุด
- ลงทุนในตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทน (Yield) สูงอย่างสม่ำเสมอ จากบริษัทที่มีการเติบโตดีในระยะยาว
- ปรับลดอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ในพอร์ตลงทุนตามสถานการณ์ เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า
- ติดตามสถานการณ์ของตลาด เพื่อหาจังหวะการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
- ผลตอบแทนของกองทุนในช่วงที่ผ่านมา
-
- ตั้งแต่จัดตั้งกองทุน กองทุนสามารถเอาชนะ Benchmark ได้ตลอด ยกเว้นปี 2020
- ปี 2021 มีการปรับอายุเฉลี่ยตราสารหนี้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สอดคล้องกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย
- การปรับพอร์ตการลงทุนแบบยืดหยุ่นช่วยให้กองทุนสามารถดีดตัวกลับมาเติบโตมีผลตอบแทนชนะ Benchmark เสมอหลังวิกฤตครั้งใหญ่
- ปรัชญาการลงทุน
-
- มองหาสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนสม่ำเสมอ
- มองหาสินทรัพย์ในตลาดตราสารหนี้ทั่วโลกและมีการลงทุนแบบยืดหยุ่นที่สอดคล้องกับแนวคิดการลงทุนหลักของกองทุน
- ในช่วงที่มีความเสี่ยงขาลง เน้นลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพสูงที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อช่วยกระจายความเสี่ยง
Is it good time to buy risky assets?
นี่คือจังหวะดีในการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง?
โดยคุณวิน พรหมแพทย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานลูกค้าไฮเน็ตเวิร์ธ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- มุมมองต่อเงินเฟ้อและราคาน้ำมัน
-
- หลังจากนี้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันจะลดลง ทำให้ราคาน้ำมันลดลงได้บ้าง ซึ่งจะทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับลดลงได้ ดังนั้น Fed น่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่แรงเกินไป
- ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นในครั้งนี้ มีผลกระทบกับเศรษฐกิจยุโรปมากกว่าสหรัฐฯ 2 เท่า
- มุมมองต่ออัตราดอกเบี้ย
-
- สหรัฐฯ – มีโอกาสที่ Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วในปีนี้ แต่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจแย่ลง
- ยุโรป – ECB ส่งสัญญาณจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- Krungsri AM มองว่า ตลาดสะท้อนข่าว (Price in) ปัญหาเงินเฟ้อและการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางไปมากแล้ว เมื่อเศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลง จึงมีโอกาสที่ธนาคารกลางจะไม่เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วเท่าที่ตลาดคาดการณ์ ซึ่งเป็นปัจจัยบวกกับตลาดตราสารหนี้
- มุมมองเกี่ยวกับเศรษฐกิจ
-
- เศรษฐกิจโลก : คาดการณ์เศรษฐกิจทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐฯ ยุโรป จีน ญี่ปุ่น เติบโตช้าลงจากที่ประเมินไว้ในปีก่อน ส่วนเงินเฟ้อคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นกว่าประมาณการเดิม
- เศรษฐกิจสหรัฐฯ : ปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อขึ้นมาสูงมากในรอบหลายปีมาจากทุกส่วน เช่น ราคาพลังงาน ภาคบริการ อาหาร ทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจค่อนข้างแย่ ช่วงนี้จึงเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ต้องลุ้นว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed จะทำให้เงินเฟ้อลดลงได้หรือไม่
- เศรษฐกิจยุโรป : เศรษฐกิจเติบโตช้าลง เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้สูงขึ้น ทำให้เกิดความกังวลเรื่องความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาลต่างๆ โดยเฉพาะประเทศกลุ่ม PIGS คือ โปรตุเกส อิตาลี กรีซ และสเปน ที่เคยมีปัญหาเรื่องความสามารถในการชำระหนี้
- เศรษฐกิจไทย : Krungsri Research คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้โต 2.8% โดยไตรมาสที่ 3 จะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตได้สูงที่สุด 3.9% ส่วนแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจจะมาจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามามากขึ้น ขณะที่การส่งออกแผ่วลง
- ปัจจัยที่มีผลต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง
-
- ปัจจัยลบ ได้แก่ วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน จีนล็อกดาวน์ อัตราเงินเฟ้อเร่งตัว ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นที่นำโดยสหรัฐฯ
- ปัจจัยบวก ได้แก่ การเปิดประเทศของไทยและอาเซียน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
- ปัจจัยที่อาจเป็นบวกหรือลบได้ ได้แก่ ความไม่แน่นอนทางการเมือง
- ทิศทางค่าเงิน
-
- ค่าเงินบาทอ่อนค่า เป็นผลจาก Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะทำให้เงินไหลเข้าสหรัฐฯ และเงินไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ ทำให้เงินอ่อนค่ากันถ้วนหน้า โดยเวียดนามเงินอ่อนค่าใกล้เคียงไทย ส่วนประเทศที่ค่าเงินอ่อนค่าหนักมากคือ ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้
- ช่วงที่ผ่านมาไทยมีเงินไหลเข้าตลาดหุ้น ส่วนตลาดตราสารหนี้ก็มีเงินไหลเข้ามาบ้าง ขณะที่ช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าถ้าการท่องเที่ยวกลับมา เงินไหลเข้าประเทศ จะเห็นค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าได้บ้าง
- Krungsri Global Market คาดการณ์ว่า เงินบาทจะกลับมาแข็งค่าเป็น 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2022 และ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2023 ส่วนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย คาดว่าจะปรับขึ้นเป็น 1.25% ในไตรมาส 2 ปี 2023 จากปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.50%
- มุมมองการลงทุน
-
- ตลาดตราสารหนี้
- เชื่อว่าธนาคารกลางเกือบทุกประเทศต้องเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากแรงกดดันเงินเฟ้อ
- คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยจะส่งสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในเดือน ส.ค. เนื่องจากแรงกดดันเงินเฟ้อ แต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะไม่แรงเหมือนสหรัฐฯ
- ตลาดตราสารหนี้
-
- ตลาดหุ้น
- Krungsri Securities คาดว่าภายในสิ้นปี 2022 ดัชนีตลาดหุ้นไทยน่าจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ 1,630–1,670 จุด นักลงทุนยังต้องระมัดระวังการลงทุนในระยะสั้น แต่ในระยะกลางและระยะยาว ตลาดหุ้นยังเดินหน้าต่อไปได้
- ตลาดหุ้น