×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

เทียบผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ‘ไทย vs สหรัฐฯ’

2,262

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

ถ้ามองว่าการลงทุนปี 2566 ยังคงมีความผันผวนและเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ขณะเดียวกันธนาคารกลางประเทศทั่วโลกยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อควบคุมความร้อนแรงของอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวขึ้นต่อเนื่องและกดดันให้ตลาดหุ้นปรับลดลง ด้วยสถานการณ์แบบนี้ อาจเป็นโอกาสลงทุนพันธบัตรรัฐบาลเพราะมีความเสี่ยงต่ำ ลงทุนแล้วเงินต้นไม่หาย ได้รับผลตอบแทนที่ดี เพราะเมื่อถึงเวลาไถ่ถอนตามกำหนดสัญญาก็จะได้รับเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายปี

 

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล จะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลในแต่ละช่วงอายุคงเหลือ (Time to Maturity: TTM) โดยที่อัตราผลตอบแทน คือ อัตราผลตอบแทนที่นักลงทุนคาดว่าจะได้รับจากการลงทุน เช่น อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี เท่ากับ 2% ต่อปี หมายความว่า ในแต่ละปีที่นักลงทุนที่ลงทุนพันธบัตรดังกล่าวจะได้รับผลตอบแทนโดยเฉลี่ย 2% และ ​Time to Maturity คือ อายุคงเหลือของตราสารหนี้โดยนับระยะเวลาตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงวันที่ตราสารหนี้ครบกำหนดไถ่ถอน เช่น พันธบัตรอายุ 10 ปี ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2560 อายุคงเหลือของพันธบัตร ณ วันที่ 1 มกราคม 2566 คือ 4 ปี (1 มกราคม 2570)

 

โดยปกติแล้ว อัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะมีลักษณะขยับขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวจะสูงกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น เพราะนักลงทุนต้องการผลตอบแทนเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ต้องคงเงินลงทุนไว้ เนื่องจากการลงทุนในระยะยาวจะมีความเสี่ยงโดยรวมจากระยะเวลาการถือครองพันธบัตรที่นานกว่า โดยในภาวะที่เศรษฐกิจเติบโตดีและอัตราดอกเบี้ยคงที่ เส้นอัตราผลตอบแทนจะลาดชันขึ้น ซึ่งนักลงทุนจะนิยมลงทุนในพันธบัตรระยะยาวที่ให้อัตราผลตอบแทนที่สูงเพื่อชดเชยอัตราเงินเฟ้อ

 

อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งจะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Inverted Yield Curve ที่อัตราผลตอบแทนระยะสั้นสูงกว่าอัตราผลตอบแทนระยะยาวในบางช่วงหรือตลอดทั้งเส้นของเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร โดยนักลงทุนจะดูจากส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี และ 2 ปี เป็นหลัก

 

ในอดีตที่เกิดปรากฏการณ์มักเกิดก่อนที่เศรษฐกิจจะถดถอยหรือเกิดขึ้นเมื่อเศรษฐกิจขยายตัวมากกว่าระดับศักยภาพ ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นมากและสูงกว่ากรอบเป้าหมายที่ธนาคารกลางกำหนดไว้ จึงจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด ด้วยการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สูงขึ้น เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคา ทำให้ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีเหตุผลว่าทำไมส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี และ 2 ปี ไม่ได้บอกว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือไม่ แต่เมื่อธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Fed) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปเรื่อยๆ ควรต้องติดตามปรากฏการณ์อัตราผลตอบแทนระยะสั้น เช่น 3 เดือน 6 เดือน ที่ปรับสูงขึ้นกว่าอัตราผลตอบแทน 10 ปี เพราะอาจสะท้อนว่า Fed ยังคงปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อไป

 

สำหรับกลยุทธ์การลงทุนพันธบัตรรัฐบาล ควรระมัดระวังการลงทุนพันธบัตรระยะยาว เนื่องจากอาจจะได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์อัตราผลตอบแทนมีความชันเพิ่มขึ้น โดยเน้นลงทุนพันธบัตรระยะสั้นถึงระยะกลาง เพื่อลดความผันผวนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวที่ยังมีโอกาสปรับสูงขึ้น

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats