×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

เช็กเลย! เงินเดือนเท่านี้ขอคืนภาษีได้เท่าไหร่?

201

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Youtube | Facebook | TikTokInstagramLine 

 

เงินเดือนเท่านี้..ต้องจ่าย ‘ภาษี’ เท่าไหร่?

 

‘ขอคืนภาษี’ ได้แค่ไหน?…มาเช็กกันเลย

 

หากคุณเป็นพนักงานเอกชนที่มีเงินเดือนตั้งแต่ 26,000 บาทขึ้นไป คุณอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยภาษีที่ถูกหักจากเงินเดือนไม่ได้คำนวณแค่จากรายได้ แต่ยังรวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนที่สามารถนำไปหักก่อนคำนวณได้ เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว ประกันสังคม และค่าใช้จ่ายอื่นๆ แต่ถ้าคุณมีรายได้จากอาชีพอิสระ หรือมีรายได้จากหลายแหล่ง อัตราภาษีที่ต้องจ่ายอาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับประเภทของรายได้และสิทธิ์ลดหย่อนที่ใช้ได้

 

สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่หลายคนอาจมองข้าม

 

หลายคนเสียภาษีโดยไม่รู้ว่าตัวเองสามารถขอคืนภาษีได้จากค่าลดหย่อนต่างๆ เช่น 

  • ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุด 100,000 บาท/ปี
  • ค่าลดหย่อนบุตร บุตรที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้ 30,000 บาท/คน หรือ 60,000 บาท/คน กรณีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไป ที่เกิดตั้งแต่ปี 2561
  • ค่าลดหย่อนบิดามารดา หากมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท สามารถลดหย่อนได้ 30,000 บาทต่อบิดาหรือมารดา 1 คน (กรณีมีพี่น้องต้องตกลงกันว่าใครใช้สิทธิ์ได้)

 

การออม–การลงทุน ที่ช่วยลดภาษีได้จริง

 

  • กองทุน RMF (Retirement Mutual Fund)
    • ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
    • ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี และถือครองจนถึงอายุ 55 ปี
    • เหมาะกับผู้ที่ต้องการออมเงินเพื่อเกษียณ

 

  • ประกันชีวิตและประกันบำนาญ
    • ประกันชีวิตลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท
    • ประกันบำนาญลดหย่อนได้สูงสุด 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
    • เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว

 

  • กองทุน ThaiESG
    • ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 300,000 บาท
    • ต้องถือหน่วยลงทุนอย่างน้อย 5 ปีเต็ม
    • เหมาะกับผู้ที่ต้องการลงทุนอย่างยั่งยืนและมีภาระภาษีสูง

 

ทั้งนี้ในแต่ละปีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีใน “RMF + ประกันบำนาญ + PVD + กบข. + กอช. + กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน” รวมกันได้ไม่เกิน 500,000 บาท  โดยเมื่อรวมกับการลงทุนในกองทุน ThaiESG และเบี้ยประกันชีวิต จะสามารถใช้สิทธิรวมกันได้ถึง 900,000 บาทนั่นเอง

 

กองทุนใหม่! ThaiESGX–โอกาสลดหย่อนภาษีปี 2568

 

แบ่งสิทธิ์ลดหย่อนภาษีเป็น 2 ส่วน มีเงื่อนไขสำคัญดังนี้ 

 

  • เงินลงทุนใหม่ (ปี 2568)
    • ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุด 300,000 บาท
    • ต้องถือหน่วยลงทุน อย่างน้อย 5 ปี
    • คาดว่าจะเปิดให้ลงทุน 1 พ.ค. – 30 มิ.ย. 2568 (เพียง 2 เดือนเท่านั้น)

 

  • LTF ที่มีอยู่ (ซึ่งครบกำหนดแล้ว และต้องการใช้สิทธิลดหย่อนต่อ) 

ต้องโอนหน่วย LTF ทั้งหมด ทุกกองทุน ทุก บลจ. ไปกองทุน ThaiESGX ลดหย่อนภาษีสูงสุด 500,000 บาท แบ่งเป็น

    • ปีแรก (2568) สูงสุด 300,000 บาท
    • ปีที่ 2-5 (2569-2572) ทยอยลดหย่อน สูงสุดปีละ 50,000 บาท 
    • ผู้ถือหน่วยลงทุนต้องแจ้งโอนกองทุน ภายใน 2 เดือน หลังจากจัดตั้งกองทุน
    • เงินลงทุนที่เกิน 500,000 บาท แม้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนไม่ได้ ก็ต้องถือหน่วยลงทุนอย่างน้อย 5 ปี เช่นกัน

 

สรุปภาษีไม่ใช่ภาระที่ต้องจ่ายไปอย่างไร้ประโยชน์ หากคุณรู้จักวางแผนให้ดี คุณสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนเพื่อขอคืนภาษีหรือจ่ายภาษีน้อยลง พร้อมทั้งสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับตัวเองได้อีกด้วย 

 

#WealthMeUp

 

Related Stories

amazon anti fatigue mats