×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

5 คำถามการเงิน สำหรับชีวิตคู่

5,391

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

เมื่อตัดสินใจใช้ชีวิตคู่ ไม่ว่าจะเป็นคู่แบบไหน เรื่องที่ควรเปิดใจ คือ การเงิน ทั้งการออม นิสัยการใช้จ่าย หนี้สิน รวมถึงแผนการเงิน ซึ่งควรจัดอันดับความสำคัญเป้าหมายการเงินร่วมกัน ตั้งแต่ก่อนจะตกลงปลงใจใช้ชีวิตคู่ และหมั่นหารือเรื่องเหล่านี้กันบ่อยๆ เพราะเป้าหมายการเงินเปลี่ยนแปลงได้ และนี่คือตัวอย่างคำถามเพื่อเช็กเป้าหมายทางการเงินของชีวิตคู่

 

มีแผนรับมือเมื่อความเห็นไม่ตรงกันมั้ย

ชีวิตคู่ก็มีเรื่องขัดแย้งกันบ้าง อาจมีคนใดคนหนึ่งใช้จ่ายมากกว่าอีกคนหนึ่ง แต่ต้องระลึกไว้เสมอว่า ความเท่าเทียมกันแม้แต่ในเรื่องเงินทองเป็นสิ่งที่ต้องเอาใจใส่ เพื่อให้เรื่องการเงินที่วางแผนไว้เป็นไปตามเป้าหมาย 

 

แม้จะมีไลฟ์สไตล์หรือวิธีการใช้เงินแตกต่างกัน ก็ยังสามารถกำหนดเป้าหมายร่วมกันได้ และสามารถมีบัญชีส่วนตัวได้ แต่ขอให้ทุกเดือน มีเวลาพูดคุยและพิจารณาว่ากำลังเดินไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือเปล่า หลายคนอาจใช้วิธีหารือกันก่อนจะใช้จ่ายเพื่อลดความขัดแย้ง และประเมินว่าสถานะการเงินยังพอจะบริหารจัดการได้อยู่หรือไม่

 

เราสองคนเก็บเงินไว้เพื่ออะไร

เมื่อเริ่มชีวิตคู่ ควรนั่งคุยแล้วทำลิสต์เป้าหมายในอีก 5 ปี 10 ปี หรือ 20 ปี  ลองพิจารณาดูว่าเป้าหมายแต่ละอันเหมาะกับเรา และสามารถบริหารจัดการให้เกิดขึ้นได้ อาจรวมถึงการใช้หนี้ เก็บเงินซื้อบ้าน เรียนต่อ ท่องเที่ยว และเริ่มทำธุรกิจ 

 

สิ่งสำคัญคือ การทบทวนความคืบหน้าสิ่งที่วางแผนร่วมกัน เพื่อช่วยให้แผนต่างๆ เป็นไปตามเป้าหมาย แต่ความไม่แน่นอนเป็นธรรมดาโลก แผนการต่างๆ อาจพลิกผัน เช่น ต้องเปลี่ยนงาน มีลูก มีค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดมาก่อน ซึ่งที่ปรึกษาทางการเงินอาจช่วยให้การบริหารทรัพย์สินได้ผลตอบแทนเหมาะกับสถานการณ์และช่วงเวลามากขึ้น 

 

มีแผนการเงินสำหรับมีลูกหรือไม่

บางคนอาจไม่เคยคิดว่า การเลี้ยงดูเด็กเล็กนั้น นอกจากค่าผ้าอ้อม ค่าเลี้ยงดู ค่ารักษาพยาบาล และค่าเล่าเรียนแล้ว ยังต้องเตรียมเงินอีกเท่าไหร่เพื่อให้ลูกเติบโตแข็งแรงทั้งกาย ใจ และสติปัญญา 

 

การวางแผนทางการเงินไม่ใช่แค่การออมเท่านั้น แต่หมายถึงการให้เงินทำงาน และการบริหารภาษี เพื่อเตรียมเงินใช้จ่ายจนกว่าลูกจะเรียนจบตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ การวางแผนที่ดีจะทำให้ชีวิตคู่ไม่เครียดมาก ความเครียดทางการเงินเป็นจุดเปราะบางของชีวิตครอบครัว ดังนั้นควรรอบคอบและหารือกันอย่างสม่ำเสมอ

 

แผนสำหรับชีวิตหลังเกษียณคืออะไร

นั่งคุยและทำลิสต์ว่าหลังเกษียณ อยากมีชีวิตแบบไหน เริ่มจากคำถามเหล่านี้ เช่น จะทำงานถึงอายุเท่าไหร่ จะอยู่ที่ไหน จะใช้เวลาทำอะไร จะท่องเที่ยว หรือไปเป็นอาสาสมัครโดยอาศัยทักษะความสามารถที่มีอยู่ 

 

เช็กคำตอบนี้ทุกๆ ปี และดูว่าสิ่งที่ตั้งใจไว้กับแผนการเงินที่เป็นอยู่สอดคล้องกันหรือไม่ และได้ให้ความสำคัญถูกต้องเหมาะสมแล้วหรือเปล่า เราอยู่ที่ตรงไหนและหวังว่าจะไปอยู่ที่จุดไหน ลองพิจารณาว่าเราอยู่จุดที่ใกล้หรือไกลกับแผนที่วางไว้แค่ไหน และลองหาทางที่เหมาะสม บางครั้งหากยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายก็ต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม เช่น เลื่อนเวลาเกษียณ หรือทบทวนสถานะทางการเงินและแผนการลงทุนให้เหมาะสม เมื่อถึงวันเกษียณจะได้ไม่มีคำว่าสายเกินไป

 

อยากให้คนอื่นจดจำเราอย่างไร 

การเตรียมการเพื่อค่ารักษาพยาบาล ค่าดูแลยามแก่เฒ่าเพื่อไม่ให้เป็นภาระลูกหลาน การเตรียมส่งต่อสมบัติให้ลูกหลานเมื่อจากโลกนี้ไป หรืออยากให้ก่อนเสียชีวิต เพื่อเป็นกำลังใจให้ลูกหลานได้ทำตามความฝัน หรืออยากจะมีกองทุนเพื่อสร้างสาธารณะกุศล (กรณีไม่มีลูกหลาน) 

 

การวางแผนหลังจากไม่อยู่ในโลกนี้ ไม่เพียงแค่การทิ้งเงินทองไว้ แต่สิ่งสำคัญ คือ ความทรงจำและคุณค่าที่คนข้างหลังจะระลึกถึงเมื่อเราจากโลกนี้ไปแล้ว 

 

ว่างๆ ก็ชวนคู่ของคุณมาตอบคำถามเหล่านี้ เพื่อจะได้เดินไปสู่เป้าหมายอย่างมีความสุขด้วยกัน

 

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats