×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

8 หุ้นดี ราคาถูก

20,400

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

ก่อนจะลงทุนหุ้นก็ต้องประเมินมูลค่าหุ้นตัวนั้นเสียก่อน เพื่อเปรียบเทียบกับราคาตลาด จากนั้นค่อยตัดสินใจซื้อหรือขาย ซึ่งวิธีหนึ่งที่ใช้ประเมินราคาหุ้นได้ก็คือ

 

การหาราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV Ratio)

P/BV Ratio = ราคาตลาดของหุ้น

                มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น

 

P/BV Ratio จะบอกให้ทราบว่าราคาหุ้น ณ ขณะนั้น สูงเป็นกี่เท่าของมูลค่าทางบัญชีของหุ้นดังกล่าว ดังนั้น ยิ่งซื้อหุ้นได้ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีมากเท่าไหร่ (P/BV Ratio ต่ำ) แปลว่าสามารถซื้อหุ้นได้ในราคาต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีของบริษัท ซึ่งตามทฤษฎีแล้ว ค่ามาตรฐานราคาต่อมูลค่าทางบัญชีจะอยู่ที่ระดับ 1 เท่า เพราะว่าราคาของหุ้น ณ ปัจจุบันควรจะมีค่าเท่ากับ (หรือใกล้เคียง) กับราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชี

 

เช่น หุ้น ABC ปัจจุบันราคา 10 บาท มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น 10 บาท ดังนั้น ราคาต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้นอยู่ที่ 10/10 = 1 เท่า

 

ดังนั้น ยิ่งซื้อหุ้นได้ต่ำกว่าราคามูลค่าทางบัญชีมากเท่าไหร่ (P/BV Ratio ต่ำ) แปลว่าสามารถซื้อหุ้นได้ในราคาต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีของบริษัท ซึ่งตามทฤษฎีบอกว่า P/BV Ratio ยิ่งต่ำยิ่งดี   

 

เช่น หุ้น XYZ ปัจจุบันราคา 5 บาท มูลค่าตามบัญชี 10 บาท คำนวณตามสูตร 5/10 จะได้ค่า P/BV Ratio เท่ากับ 0.50 เท่า แปลว่า ถ้าซื้อหุ้นตัวนี้จะซื้อถูกกว่าเจ้าของ 50 สตางค์

 

หุ้น EFG ปัจจุบันราคา 30 บาท มูลค่าตามบัญชี 10 บาท คำนวณตามสูตร 30/10 จะได้ค่า P/BV Ratio เท่ากับ 3.00 เท่า แปลว่า ถ้าซื้อหุ้นตัวนี้จะซื้อแพงกว่าเจ้าของ 2 บาท

 

ในเบื้องต้น หากต้องการซื้อหุ้นที่ได้ราคาถูก หุ้นตัวนั้นควรมี P/BV Ratio น้อยกว่า 1 เท่า

 

แต่เดี๋ยวก่อน ในทางปฏิบัติการใช้ P/BV Ratio ตัดสินลงทุน โดยเฉพาะการเลือกหุ้น P/BV Ratio ต่ำๆ อาจเกิดความผิดพลาด เช่น ไม่ได้กำไร เพราะในความเป็นจริงคงไม่มีบริษัทไหนขายทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อมาจ่ายหนี้ แล้วนำเงินที่ได้นั้นมาจ่ายให้กับผู้ถือหุ้น

 

ดังนั้น นอกจากจะดู P/BV Ratio แล้ว ยังต้องดูข้อมูลอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น ความสามารถในการทำกำไร ธุรกิจยังเติบโตได้ต่อเนื่อง หนี้สินต่ำ ผู้บริหารทำงานมีประสิทธิภาพ โปร่งใส มีจรรยาบรรณ เป็นต้น

 

ในการตัดสินใจลงทุนซื้อหรือขายหุ้น นักลงทุนต้องศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลในระดับมหภาค ข้อมูลในระดับอุตสาหกรรม และข้อมูลของบริษัท แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประกอบในการประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัท ซึ่งบริษัทที่มีฐานะทางการเงินและมีแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีอาจไม่ใช่บริษัทที่น่าลงทุนเสมอไป ขึ้นอยู่กับราคาหุ้นที่ผู้ลงทุนจะเข้าไปลงทุนในแต่ละขณะด้วยว่ามีความเหมาะสมและคุ้มค่าต่อเงินลงทุนเพียงใด

 

และนี่คือตัวอย่าง 8 หุ้นที่มีค่า P/BV Ratio ขณะเดียวกันก็มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง

 

 

#WealthMeUp

 

Related Stories

amazon anti fatigue mats