×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

สิ่งต้องรู้ เมื่อคิดกู้ร่วม

8,745

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

กู้บ้านร่วมกัน ดูเป็นเรื่องธรรมดาของสังคมปัจจุบัน เพราะถือเป็นการช่วยเหลือกันในครอบครัว แต่ทราบหรือไม่ การเป็นคนกู้ร่วม มีสิ่งที่ต้องระวังก่อนตัดสินใจอะไรบ้าง

 

1) ผิดนัด ต้องรับผิด

กู้ร่วม ก็ไม่ต่างจากกู้เอง หากผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารมีสิทธิเรียกร้องจากผู้กู้รายไหนก็ได้  ไม่จำเป็นต้องเรียกร้องจากผู้กู้ชื่อแรกเสมอไป

 

ญาติสนิท คงไม่คิดหนีหรอกเรื่องเงินไม่เข้าใครออกใคร อย่าชะล่าใจกับเรื่องเงินๆ ทองๆ พี่น้องแย่งมรดกกันก็เห็นกันบ่อย ลูกไม่รักดีทิ้งขว้างพ่อแม่ก็เห็นอยู่บ้าง

 

2) ร่วมกู้ ต้องรับเต็ม

สัญญาเงินกู้ ไม่เคยระบุสัดส่วนหนี้ของผู้กู้แต่ละราย ดังนั้น ธนาคารมีสิทธิเรียกร้องหนี้จากคนใดคนหนึ่งเต็มหนี้ที่ค้างอยู่ก็ได้ โดยอาจตามจากผู้กู้ที่มีที่อยู่ หรือ ที่ทำงานเป็นหลักแหล่งก็คงไม่แปลก

 

3) ไม่ตั้งใจ แต่อาจจนใจ

บางครั้งผู้กู้หลักก็ไม่มีเจตนาจะผิดนัดชำระหนี้ หรือ ทำให้ญาติที่กู้ร่วมต้องเดือดร้อน แต่หากโชคร้ายเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพไป คงเป็นสิ่งที่โทษใครไม่ได้ แต่หนี้ที่เหลือผู้กู้ร่วมก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกัน

 

สำหรับความเสี่ยงกรณีเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพก็พอจัดการได้ ด้วยการทำ MRTA (ประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อบ้าน) แต่ค่าเบี้ยประกันก็ไม่ใช่ว่าถูกๆ ก่อนกู้จึงต้องหารือกันให้ดีก่อน

 

แต่กรณีตกงานหรือรายได้ลดลงคงต้องจัดการด้วยการมีเงินส่วนตัวสำรองเผื่อไว้เพื่อเป็นค่าผ่อนยามฉุกเฉิน

 

4) ยึดบ้าน หนี้ยังไม่จบ

กู้ร่วมไปบ้านนั้นก็ไม่ใช่ของเรา มีปัญหาอย่างมากก็แค่ยึดบ้านไป แต่ความจริงแล้ว หากเงินที่ธนาคารได้จากการนำบ้านไปขายทอดตลาดยังไม่พอกับหนี้ที่ค้างอยู่ ธนาคารสามารถเรียกร้องจากผู้กู้ได้

 

ดังนั้น ภาระหนี้จึงเป็นสิ่งที่ติดตัว ตราบใดที่หนี้นั้นยังไม่หมด ชีวิตเราก็ต้องแบกรับต่อไป

 

5) ต่อไป กู้ยากขึ้น

หนึ่งในปัจจัยของที่ธนาคารใช้พิจารณาอนุมัติเงินกู้ คือ ภาระผ่อนหนี้เดิมและใหม่ต้องไม่เยอะเกินไป เมื่อเทียบกับรายได้ ดังนั้น หากผ่อนบ้านร่วมกับใครแล้ว ยอดผ่อนนั้นจะติดตัวไป และ หากอยากกู้ซื้อบ้าน/รถ เป็นของตัวเอง  อาจได้วงเงินต่ำกว่าที่ควรจะได้ หรือ อาจถึงขั้นกู้ไม่ผ่านเลยก็ได้ หากยอดผ่อนเดิม เกิน 40%-50%ของรายได้แต่ละเดือน

 

   แม้ต่อให้ยอดผ่อนเดิมเป็นเพียงไม่กี่ % ของรายได้ แต่มีการถือกรรมสิทธิ์บ้านร่วมกัน จะส่งผลต่อ % เงินกู้สูงสุดต่อมูลค่าบ้าน (LTV) ของการกู้ซื้อบ้านในอนาคตได้ เพราะธนาคารอาจมองว่าเป็นการกู้ซื้อบ้านหลังที่ 2-3 ขึ้นไป ทำให้ได้รับวงเงิน LTV ต่ำกว่าการกู้บ้านหลังแรก

 

  กู้ร่วมต้องคิด อย่าติดแค่กลัวเสียหน้าเพราะถ้ารับไปแล้ว อย่าหวังแคล้วคลาด จากหนี้ก้อนโต

 

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats