LTF ค่าธรรมเนียมต่ำที่สุด
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Facebook | Line | Youtube | Instagram
ปัจจุบัน ยังมีนักลงทุนหลายคนที่เข้าใจว่า เมื่อซื้อ LTF แล้วจะไม่เสียค่าธรรมเนียม เพราะในเมื่อเป็นกองทุนที่ลดหย่อนภาษีได้ ก็ต้องยกเว้นค่าธรรมเนียมตามไปด้วย นับเป็นความเชื่อที่ผิดมหันต์
ความจริงแล้ว LTF ทุกกองจะมีค่าธรรมเนียมที่ผู้ซื้อต้องจ่าย ส่วนค่าธรรมเนียมจะมากจะน้อย ขึ้นอยู่กับ บลจ.ว่าจะกำหนดเท่าไหร่
โดยค่าใช้จ่ายกองทุนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
1.ส่วนที่ต้องจ่ายให้กับ บลจ. และตัวแทนขาย โดยเมื่อซื้อกองทุน ผู้ซื้อต้องเสียค่าธรรมเนียม หรือสับเปลี่ยนกองทุนก็จะมีค่าธรรมเนียม แต่ก็มีบาง บลจ. ที่ไม่เก็บค่าธรรมเนียม เช่น ตอนซื้อไม่เก็บ แต่ตอนขายเก็บ หรือไม่มีค่าธรรมเนียมทั้งตอนซื้อและขาย หรือยกเว้นค่าธรรมเนียมเมื่อสับเปลี่ยนกองทุน
2.ส่วนเรียกเก็บจากกองทุน ค่าใช้จ่ายนี้เรียกว่า Total Expense Ratio เป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนรวม โดยกองทุนจะเก็บหลังจากได้ซื้อกองทุน พูดง่ายๆ เก็บตอนได้กลายเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนไปแล้ว ค่าใช้จ่ายหลักๆ ส่วนนี้ ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการจัดการ, ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์, ค่าธรรมเนียมนายทะเบียน, ค่าธรรมเนียมที่ปรึกษาการลงทุน, ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าการตลาด ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการขาย จัดกิจกรรม เป็นต้น
เนื่องจาก LTF มีนโยบายการลงทุนในหุ้น ดังนั้นค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายจะอยู่ในระดับสูงพอสมควร เพราะมีการบริหารจัดการค่อนข้างยาก ต้องใช้ประการณ์จากผู้จัดการกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญ
ดังนั้น ก่อนตัดสินใจซื้อ LTF ควรเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายก่อน เพราะถ้านโยบายลงทุนเหมือนกัน บางครั้งผลตอบแทนที่โดดเด่นอาจตัดสินใจจากความถูก ความแพงของค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่าย
อย่างไรก็ตาม ค่าธรรมเนียมเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเพื่อประกอบการตัดสินใจเท่านั้น ดังนั้นต้องดูค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นๆ เปรียบเทียบด้วย เช่น ถ้าดูเฉพาะ Total Expense Ratio กองทุนกรุงศรีหุ้นระยะยาว SET50 ต่ำที่สุด แต่ก็มีค่าธรรมเนียมซื้อและขาย รวมถึงต้องใช้เงินสูงในการซื้อครั้งแรก แต่ถ้าดูกองทุนภัทร หุ้นระยะยาวปันผล จะยกเว้นค่าธรรมเนียมซื้อและขาย และใช้เงินลงทุนครั้งแรกต่ำ
นอกจากนี้ นักลงทุนต้องดูผลประกอบการด้วยว่ากองทุนไหนสร้างผลงานดีในระยะยาวได้อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากว่าเมื่อซื้อ LTF ไปแล้วต้องถือไปอย่างน้อย 7 ปีปฏิทิน