×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

ถูกเลิกจ้าง เขียนใบลาออกดีมั้ย

20,274

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

ช่วงนี้มีข่าวเลิกจ้างกันเยอะมาก ส่วนใหญ่สาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ทำให้ตำแหน่งงานหลายอย่างสะเทือนและบางงานอาจหายไปเลยก็ได้อนาคต  

 

รายงาน Technology and the Future of ASEAN Jobs: the Impact of AI on Workers in ASEAN’s Six Largest Economies, September 2018 จัดทำโดย Cisco Oxford Economics รายงานว่า ภายในปี 2028 หรืออีก 10 ปีข้างหน้า แรงงานไทยจะหายไปจากการเข้ามาของ  AI ดังนี้

 

  • เกษตรกรรมหายไป 1.7 ล้านตำแหน่ง (14.5% ของตำแหน่งงานทั้งหมด)
  • การผลิตหายไป 8.4 แสนตำแหน่ง (11.6% ของตำแหน่งงานทั้งหมด)
  • การค้าปลีกและค้าส่งหายไป 7.6 แสนตำแหน่ง(10.4% ของตำแหน่งงานทั้งหมด)

 

แต่ก็มีตำแหน่งงานที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่อาศัยทักษะสูง

  • การผลิตเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านตำแหน่ง
  • การค้าปลีกและค้าส่งเพิ่มขึ้น 9.1 แสนตำแหน่ง
  • โรงแรมและร้านอาหาร 5.5 แสนตำแหน่ง

 

นี่เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากๆ ถ้าเราไม่รีบปรับปรุงตัวเองก่อน หากถึงตอนนั้นจริงๆ คงยากที่จะหารายได้มาใช้จ่ายในชีวิต

 

แต่หากวันนั้นมาถึงเร็วกว่าที่คิด “ตกงาน” แบบไม่ทันตั้งตัว เราควรทำอย่างไรดี อย่างน้อยควรศึกษากฎหมายต่างๆ เพื่อจะได้รู้ว่ามีสิทธิรับเงินชดเชยหรือสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง ในกรณีโดนให้ออกจากงาน หรือ เลิกจ้าง ที่ไม่ใช่การสมัครใจลาออกเอง และไม่ใช่เราทำผิด(ตามกฎหมายแรงงาน มาตรา 119)   แต่อาจเป็นเพราะบริษัทประสบปัญหาการดำเนินงาน หรือมีปรับโครงสร้างบริษัท หรือมีการเปลี่ยนธุรกิจของบริษัท ฯลฯ

 

เราจะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายมาตรา 118 ซึ่งจะได้รับเงินชดเชยต่อเมื่อมีอายุงานตามเกณฑ์ที่กำหนดดังนี้

 

  1. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 30 วัน
  2. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 90 วัน
  3. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 180 วัน
  4. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 240 วัน 
  5. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 10ปี ขึ้นไป จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 300 วัน

 

ทั้งนี้ ค่าจ้างที่ใช้คำนวณ คือ อัตราเงินเดือนในเดือนสุดท้าย

 

นอกจากนี้ ถ้าตอนออกจากงาน มีอายุงานไม่น้อยกว่า 5 ปี เรายังสามารถเลือกแยกยื่นภาษีตามมาตรา 48(5) ได้ ไม่ต้องเอาไปยื่นรวมกับเงินได้อื่น ทำให้เสียภาษีน้อยลง แต่ถ้าอายุงานเราน้อยกว่า 5 ปี เราก็ต้องนำเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานไปยื่นรวมกับเงินได้ตามปกติ

 

แถมข้อดีของค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานก็คือ ลูกจ้างจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินค่าชดเชยที่นายจ้างจ่ายให้ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่เกินเงินเดือน 300 วันสุดท้ายและต้องไม่เกิน 300,000 บาท หากเกิน ลูกจ้างก็จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เพียงแต่ส่วนที่ไม่เกินเท่านั้น

 

แต่เราจะได้รับยกเว้นเงินได้ในการคำนวณภาษีไม่เกิน 300,000 บาทต้องเป็นกรณีเลิกจ้างเท่านั้น ดังนั้น ถ้าเป็นกรณีเราถูกเลิกจ้าง แต่บริษัทให้เราเขียน “ใบลาออก” เราก็จะไม่ได้รับยกเว้นเงินได้ในการคำนวณส่วนนี้

 

แต่แย่กว่านั้นก็คือ ถ้าลาออกเอง เราจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานจากกองทุนประกันสังคมเพียง 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย แต่ถ้าถูกเลิกจ้าง เราจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงาน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย

 

ดังนั้น ในภาวะที่การเลิกจ้างเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องน่าอายหรือเสื่อมเสียประวัติ การเลือกรับหนังสือเลิกจ้างแทนการเขียนใบลาออกก็จะเป็นการรักษาสิทธิประโยชน์ของเราตามกฎหมาย

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats