×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

ประหยัดภาษีด้วยประกันชีวิต

7,296

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

“ภาษีเก็บ เจ็บช่วย ป่วยจ่าย ตายได้ สบายคืน อายุยืนเลี้ยงดู”

 

นี่คือประโยชน์ต่างๆ ของประกันชีวิต นับจากวันนี้เราจะมาคุยรายละเอียดในแต่ละด้านของประกันชีวิตกัน

เริ่มจาก “ภาษีเก็บ” กันก่อน ประกันชีวิตเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแบบ 2 เด้ง แบ่งเป็น

 

เด้งที่ 1 เงินขาเข้าลดหย่อนภาษีได้

 

แบ่งเป็น 2 กรณี คือ

1. เงินจ่ายค่าเบี้ยสำหรับประกันชีวิตทั่วไป เอาไปลดหย่อนภาษีได้

โดยกรมธรรม์ต้องมีอายุ10 ปี ขึ้นไป เงินคืนระหว่างปีไม่เกิน 20%ของเบี้ยที่ชำระระหว่างปีและเป็นของบริษัทประกันชีวิตที่ทำกิจการในประเทศไทย หักได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 100,000 บาท

โดยส่วนแรกหักได้ 10,000 บาทไม่สนใจว่าผู้มีเงินได้จะมีเงินได้เท่าไหร่ ส่วนที่เกิน 10,000 บาทจะหักได้ไม่เกินเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 90,000 บาท

แปลว่าถ้ามีเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายเท่ากับ 80,000 บาท ก็ลดหย่อนภาษีได้อีกแค่ 60,000 บาท รวม 10,000 บาทแรกจะหักลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด 70,000 บาทเท่านั้น หรือกรณีสามีมีเงินได้ ส่วนภรรยาไม่มีเงินได้ สามีก็สามารถหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตที่ภรรยาชำระได้เพียง 10,000 บาทเท่านั้น

ทั้งนี้ เฉพาะประกันชีวิตที่จะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีนี้ ต้องเป็นประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และการประกันชีวิตนั้นได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร ดังนั้นประกันชีวิตที่มีอายุกรมธรรม์น้อยกว่า 10 ปี จะลดหย่อนภาษีไม่ได้

 

2. เงินจ่ายค่าเบี้ยสำหรับประกันชีวิตแบบบำนาญ เพิ่มเติมค่าลดหย่อนได้


เช่นจากปกติลดหย่อนได้ 100,000 บาท เพิ่มขึ้นอีก 200,000 บาท ซึ่งวงเงินที่เพิ่มขึ้นต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี ดังนั้นคนที่มีเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีตั้งแต่ 1,333,333.33 บาทขึ้นไปเท่านั้นจึงจะสามารถใช้สิทธิประกันบำนาญได้เต็มเพดาน 200,000 บาท

แต่การใช้สิทธิลดหย่อนประกันบำนาญมีเงื่อนไขคือ เบี้ยประกันที่จ่ายเมื่อรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณีหรือเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน

สรุปหากต้องการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีประกันชีวิตสูงสุดจะสามารถใช้ได้ถึง 300,000 บาทในแต่ละปีภาษี แต่จากกฎหมายดังกล่าว พวกสัญญาเพิ่มเติม เช่น ประกันอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรง ฯลฯ ลดหย่อนภาษีไม่ได้

 

เด้งที่ 2 เงินขาออก เช่น เงินปันผล เงินครบสัญญา ไม่ต้องเสียภาษี

คือ ผลประโยชน์ของประกันชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเงินคืน เงินปันผล เงินครบสัญญา ผลประโยชน์ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ ฯลฯ ยกเว้นภาษี คือ ได้เท่าไหร่เป็นของเราเท่านั้นไม่ต้องแบ่งให้สรรพากร

จะเห็นได้ว่าประกันชีวิตให้ประโยชน์ด้านภาษีค่อนข้างมาก นี่ยังไม่คุยกันถึงความคุ้มครอง หรือ การออม ที่เป็นประโยชน์หลักของประกันชีวิตเลย ไว้มาคุยกันต่อครั้งหน้า

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats