×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

เช็กสิทธิลดหย่อนบุตร

40,751

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

เมื่อประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ภาครัฐก็ทยอยออกมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีลูกกันมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ “ค่าลดหย่อนบุตร” แต่จะมีรายละเอียดยังไงบ้างนั้น มาดูกัน

 

เพื่อช่วยลดภาระของคนเป็นพ่อเป็นแม่และกระตุ้นให้คนมีลูกไปในตัว สรรพากรได้ปรับเพิ่มการหักค่าลดหย่อนบุตรเป็นคนละ 30,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวน และไม่สนใจบุตรเรียนหนังสือหรือไม่ แต่ต้องเป็นบุตรแท้ๆเท่านั้น

 

แต่ถ้าจะหักลดหย่อนบุตรบุญธรรมด้วย จำนวนบุตรที่จะหักลดหย่อนรวมบุตรชอบด้วยกฎหมายกับบุตรบุญธรรมทั้งหมดห้ามเกิน 3 คน

 

สรุป คือ ถ้าอยากจะหักลดหย่อนบุตรเยอะๆ เกิน 3 คนต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายทั้งหมด คือ บุตรจริงๆ เท่านั้น แต่ถ้ามีบุตรบุญธรรมแซมเข้ามาแค่เพียงคนเดียว ก็จะหักลดหย่อนรวมทั้งหมดได้เต็มที่ไม่เกิน 3 คน

 

และตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป สรรพากรเพิ่มค่าลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ขึ้นไปจากคนละ 30,000 บาทเป็นคนละ 60,000 บาท และสามารถเอาค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการคลอดบุตร เช่น ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรมาหักลดหย่อนได้ตามจ่ายจริงแต่ไม่เกิน 60,000 บาท/ปี

 

ถ้ามีค่าฝากครรภ์และคลอดคร่อมปี ก็สามารถเอาค่าใช้จ่ายที่เกิดในแต่ละปีมาลดหย่อนได้ตามจ่ายจริงในปีภาษีนั้น แต่ท้องนั้นจะลดหย่อนรวมกันได้สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท

 

สำหรับเงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนบุตร คือ

 

  • บุตรต้องเป็นผู้เยาว์ (อายุไม่เกิน 20 ปี)

 

  • ถ้าบุตรอายุเกิน 20 ปี แต่ไม่เกิน 25 ปี ต้องกำลังศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยหรืออุดมศึกษา หรือ

 

  • เป็นผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถอันอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู

 

  • บุตรต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีนั้นตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป โดยเงินได้พึงประเมินนั้นต้องไม่เข้าลักษณะตามมาตรา  42  แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี เช่น ดอกเบี้ยสลากออมสิน ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์ ฯลฯ

 

แปลว่า ถ้าปีไหน บุตรมีเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 ดังกล่าว จะมีเท่าไหร่ก็ได้ พ่อแม่ยังหักลดหย่อนบุตรได้ แต่ถ้าปีไหนบุตรมีเงินได้ที่ไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 42 เช่น ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ เงินปันผล ฯลฯ ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป ปีนั้นพ่อแม่ก็หักลดหย่อนบุตรคนนั้นไม่ได้

 

รู้อย่างนี้ การบริหารเงินให้บุตรมีเฉพาะเงินได้ตามมาตรา 42 จะดีกว่า นอกจากเงินได้ดังกล่าวจะได้รับยกเว้นภาษีแล้ว ยังไม่กระทบสิทธิในการหักลดหย่อนบุตรของพ่อและแม่อีกด้วย

 

เรื่องการหักลดหย่อนบุตรนี้เป็นเรื่องปีใครปีมัน ปีนี้หักลดหย่อนไม่ได้ก็ไม่ได้หมายความว่าปีต่อๆ ไป หักลดหย่อนไม่ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าปีไหน บุตรมีเงินได้ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป ปีนั้นพ่อแม่ก็หักลดหย่อนบุตรไม่ได้ แต่ถ้าปีถัดไปบุตรมีเงินได้ไม่ถึง 30,000 บาท ปีนั้นพ่อแม่ก็หักลดหย่อนบุตรได้

 

แต่ละปี ก็ตรวจสิทธิกันให้ดี จะได้ไม่เสียประโยชน์

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats