×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

ประกันสังคมกับการว่างงาน

9,570

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

“มนุษย์เงินเดือน กับ คนทำอาชีพอิสระ ใครเสี่ยงกว่ากัน”

 

เสี่ยงกว่าในที่นี้หมายถึง ความเสี่ยงเรื่องการเงิน ความมั่นคงของรายได้ ถ้าเป็นสมัยก่อน คำตอบคงชัดเจน คนทำอาชีพอิสระอย่างพวกตัวแทนประกันชีวิตเสี่ยงกว่า เพราะรายได้ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความขยัน ความเก่ง และความเฮง

 

ส่วนมนุษย์เงินเดือน รายได้มั่นคง ได้วันไหน ได้เท่าไหร่ ชัวร์ไม่มีผิด และรู้สึกว่าจะมั่นคงเกินไปด้วยซ้ำ กี่ปีๆก็ได้เท่าเดิม เงินเดือนไม่ขึ้นเลย

 

แต่มาระยะหลังๆ จากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี หลายบริษัทต้องปิดตัวลง หลายธนาคารต้องลดพนักงาน และอื่นๆ ทำให้หลายคนเริ่มไม่มั่นใจแล้วว่าระหว่างมนุษย์เงินเดือนกับอาชีพอิสระ ใครเสี่ยงกว่า?

 

เมื่อความเสี่ยงด้านรายได้ของมนุษย์เงินเดือนเพิ่มมากขึ้น ในวันที่ต้องออกจากงาน เราควรวางแผนอย่างไรดี

 

อย่างแรกเลย คือ ดูว่าเรามีสวัสดิการอะไรบ้าง สวัสดิการที่ควรรีบทำอย่างยิ่ง คือ เงินชดเชยกรณีว่างงานจากประกันสังคม

 

สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (คือพวกผู้ประกันตนในรูปแบบบริษัทที่เรากับนายจ้างร่วมกันจ่ายเงินสมทบเข้าประกันสังคม)  จะมีสิทธิได้รับเงินชดเชยกรณีว่างงานจากประกันสังคมก็ต่อเมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน (ถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา อย่างไหนก็ได้)

 

โดยต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณี ดังนี้  เช่น ทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง, ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร,  ฯลฯ และต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพื่อเป็นการแสดงสิทธิในเบื้องต้น หากขึ้นทะเบียนเกินกว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง

 

แปลว่าถ้ามาขึ้นทะเบียนว่างงานจากการลาออกที่สำนักงานจัดหางานวันที่ 30 นับตั้งแต่วันที่มีผลเป็นการออกจากงานพอดี เงินชดเชยจะได้ครบ 90 วัน แต่ถ้ามาวันที่ 31 เงินไม่ได้หายไป 1 วัน แต่จะหายไป 31 วัน คงเหลือรับเงินชดเชย 59 วัน  ยิ่งถ้าไปช้าเท่าไหร่ จำนวนวันเงินที่จะได้เงินชดเชยยิ่งหายไปมากเท่านั้น และหากขึ้นทะเบียนเกินวันที่จะได้รับสิทธิไปแล้ว ก็จะหมดสิทธิรับเงินชดเชยกรณีว่างงานเลย เช่น ถ้าลาออกงานแล้วไปขึ้นทะเบียนตอนเกิน 90 วันไปแล้ว ก็จะไม่ได้เงินชดเชยกรณีว่างงานจากประกันสังคมเลย

 

เงินชดเชยกรณีว่างงานจากประกันสังคมจะให้ใน 2 กรณีแตกต่างกัน คือ กรณีถูกเลิกจ้าง กับ กรณีลาออก โดยกรณีถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินชดเชยมากกว่ากรณีลาออก คงเพราะประกันสังคมมองว่าคนที่ลาออกเองน่าจะเดือดร้อนน้อยกว่าคนถูกเลิกจ้าง

 

 

นอกจากนี้เมื่อผู้ประกันตนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (กรณีออกจากงาน) เราสามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพและกรณีเสียชีวิต) รู้เผื่อเอาไว้ เกิดเป็นอะไรช่วงตกงาน ชีวิตก็จะไม่เลวร้ายเกินไป

 

หมายเหตุ : การคำนวณวันขึ้นทะเบียนให้นับเป็นวัน ไม่นับเป็นเดือน ถ้าออกวันที่ 21 นับวันที่ 21 เป็น 1 เลย ดูดีๆ อย่าให้เกิน 30 วัน เพราะบางเดือนมี 31 วัน หลายคนเสียสิทธิประโยชน์เพราะนับเป็นเดือนมาแล้ว

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats