×

Wealth Me Up ข่าวสั้น ทันเศรษฐกิจ

#เราต้องรอด Special : “เรียนหนัก แต่ไม่เรียนรู้” ปัญหาการศึกษาที่หนักกว่า COVID-19

4,094

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

 

#เราต้องรอด Special : “เรียนหนัก แต่ไม่เรียนรู้” ปัญหาการศึกษาที่หนักกว่า COVID-19

กับ ดร.พงศกร สายเพ็ชร์ ครูวิทยาศาสตร์ จบด้านฟิสิกส์การแพทย์จาก UCLA

สัมภาษณ์โดย เฟิร์น ศิรัถยา อิศรภักดี Investment Influencer เจ้าของแนวคิด “ใช้แรงทำเงิน ให้เงินทำงาน”

 

การเปลี่ยนแปลง…ทำให้เกิดความเครียด

ประโยชน์ของ “โรงเรียน” อันดับ 1 คือการมาเจอกัน เพื่อเข้าสังคม ดังนั้นวิกฤต COVID-19 ที่เกิดขึ้นทำให้ในช่วงแรกทั้งนักเรียน คุณครู และผู้ปกครอง เกิดอาการช็อค เนื่องจากต้องปรับตัวอย่างมาก และบางครอบครัวอุปกรณ์ก็อาจไม่พร้อม อีกทั้งการเปลี่ยนแปลง (กะทันหัน) ยังทำให้เกิดความเครียดอีกด้วย

โดยการเรียนรู้ของเด็กเล็ก อาจท้าทายที่สุด เพราะยังดูแลตัวเองไม่ค่อยได้ ต้องมีผู้ใหญ่อยู่ด้วย อีกทั้งการกระตุ้นให้เด็กๆ สนใจตลอดเวลาอาจทำได้ยากขึ้น แต่สำหรับเด็กโตค่อนข้างคุ้นเคยกับการศึกษาออนไลน์มาบ้างจากการเรียนพิเศษ แต่ขณะนี้เป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หากเป็นปัญหาระยะยาวคงต้องปรับการเรียนการสอนอีกมาก

 

เด็กไทยเรียนจบ แต่ไม่ได้เรียนรู้

ปัญหาอันดับ 1 ของการศึกษาไทย คือ ปริมาณเนื้อหาที่เยอะมากเกินไป จนทำให้เด็กๆ ไม่มีเวลาไปทำอย่างอื่นเพิ่มเติม หรือพัฒนาความคิด เพราะเป็นระบบที่เน้นการสอบให้ผ่าน หรือแม้แต่การคัดเลือกที่ให้ความสำคัญกับคะแนนสอบเป็นหลัก โดยไม่สนับสนุนให้เกิดการคิด หรือเรียนรู้

 

3 สิ่งต้องมีเพื่อเสริม “กระบวนการเรียนรู้”

สิ่งแรกคือ Logic (ตรรกะ) ที่ถูกต้อง | สิ่งที่สองคือ ความรู้พื้นฐาน ทั้งคณิตศาสตร์ ภาษา วิทยาศาสตร์ และประวัติศาสตร์ | สุดท้ายคือ ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ โดยควรเรียนรู้จาก “ข้อมูล” (Data driven) โดยการใช้วิจารณญาณในการเข้าใจเรื่องต่างๆ

นอกจากนี้เด็กๆ ควรมองข้ามช็อตไปว่าเราสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกได้อย่างไรบ้าง ทั้งโครงการ งาน หรือความรู้ใหม่ๆ และผลักดันให้เกิดขึ้น เพื่อให้ตัวเองมีอิสระในการค้นคว้าหาข้อมูล และเรียนรู้ได้อย่างไร้ขีดจำกัด ไม่ใช่เพียงแต่จะเรียนให้จบแล้วสอบเข้ามหาวิทยาลัยเพียงเท่านั้น

 

“อยากรู้อยากเห็น-อยากทำของเจ๋งๆ” สิ่งที่เด็กไทยต้องมี

สิ่งที่สำคัญที่สุดในภาคการศึกษาคือปลูกฝังให้เด็กๆ “อยากรู้อยากเห็น” “อยากทำอะไรเจ๋งๆ” “อยากแก้ปัญหาของชาวโลก” เมื่อเด็กอยากรู้ อยากแก้ปัญหา ก็จะมีวิธีการหาความเป็นไปได้ และลงมือทำด้วยตนเอง โดยผู้ใหญ่ (คุณครู ผู้ปกครอง) มีหน้าที่ในการกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกเหล่านั้น และแสดงโอกาสความเป็นไปได้ให้เด็กๆ เห็น

 

3-5 ปีข้างหน้า “ความเฉื่อย” จะกลับมา

เรามักคิดว่าปัญหาเฉพาะหน้า “ใหญ่กว่าความเป็นจริง” เสมอ…เช่นสิ่งที่หลายคนคาดการณ์ถึง New Normal หลัง COVID-19 ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ แต่หลังจากนี้ 3-5 ปี มีความเป็นไปได้สูงว่าคนและสังคมจะกลับมาใช้ชีวิตแบบเดิม “ความเฉื่อย” จะกลับมา

สิ่งที่สังเกตได้คือการวิจัยวัคซีนในช่วงที่ผ่านมา (โรคซาร์ส โรคเมอร์ส) ที่ทำวัคซีนมาถึงขั้นตอนสุดท้าย แต่เมื่อโรคหายไป ทั้งเงิน และการวิจัย ก็ยุติไป ทั้งที่หากดำเนินการต่อ น่าจะสามารถต่อยอดได้มาก

 

ดร.โก้ มองว่า “มีสิ่งที่เลวร้ายกว่าที่เป็นอยู่เสมอ” ดังนั้นจงอย่ากังวลมากเกินกว่าสถานการณ์ตรงหน้า และจงแก้ปัญหาในสิ่งที่ตนเองแก้ไขได้ (การพยายามแก้ไขในสิ่งที่แก้ไม่ได้ ก่อให้เกิดความเครียด)

 

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats