×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

รู้จักศัพท์ลงทุนใน Fund Fact Sheet

8,809

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

หากคิดจะลงทุนในกองทุนสักกองทุนหนึ่ง Fund Fact Sheet เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องศึกษาและทำความเข้าใจ แต่ก็ต้องยอมรับว่า Fund Fact Sheet มีศัพท์ทางการเงินหลายคำที่เราอาจไม่คุ้นเคย คำเหล่านี้มีความหมายอย่างไรบ้าง มาทำความรู้จักกัน

 

ความผันผวนของผลการดำเนินงาน (Standard Deviation: SD)

เรียกกันง่ายๆ คือ การแกว่งตัวขึ้นลงของราคาหน่วยลงทุนนั่นเอง โดยค่าความผันผวนจะคิดจากราคาของกองทุนในแต่ละวันเทียบกับราคาเฉลี่ย ยิ่งค่าความผันผวนสูง ก็แสดงว่า ราคาแกว่งขึ้นลงแรง หรือความเสี่ยงสูงนั่นเอง

 

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ขอยกตัวอย่างค่าความผันผวนของกองทุนตลาดเงิน เทียบกับกองทุน LTF โดยกองทุน K-CASH ซึ่งเป็นกองทุนรวมตลาดเงินของบลจ.กสิกรไทย มีค่าความผันผวนอยู่ที่ 0.07% ต่อปี ขณะที่กองทุน KDLTF ซึ่งเป็นกองทุนรวมหุ้นระยะยาวของบลจ.กสิกรไทย มีค่าความผันผวนสูงถึง 12.73% ต่อปี

 

จากตัวอย่าง แม้กองทุน LTF มีความผันผวนสูงกว่ากองทุนตลาดเงิน แต่โดยปกติแล้วกองทุน LTF ก็ให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยที่สูงกว่า ดังคำกล่าวที่ว่า High Risk High Return

 

เปอร์เซ็นต์ไทล์ (Percentile)

ถูกใช้ในการเปรียบเทียบกองทุนที่เราพิจารณากับกองทุนอื่นที่เป็นกองทุนในกลุ่มเดียวกัน โดยเป็นการเปรียบเทียบ 2 ด้านคือ ด้านผลตอบแทนและด้านความผันผวนของกองทุน

 

ตัวเลขเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่แสดงใน Fund Fact Sheet มีตั้งแต่เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 5 ไปจนถึงเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 95 โดยเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 5 หมายถึง ผลงานในด้านนั้นๆ ติดอยู่ใน 5% แรก หรือเป็นตัวท็อปนั่นเอง

 

ยกตัวอย่างเช่น หากกองทุนในกลุ่มนั้นมีจำนวน 100 กองทุน กองทุนที่ติดเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 5 คือ กองทุนที่ติดอยู่ในอันดับ 1-5 จาก 100 กองทุน

 

ดังนั้น ยิ่งได้ค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่น้อย ก็ยิ่งดี โดยในด้านของผลตอบแทนแสดงว่า กองทุนทำผลตอบแทนได้สูงกว่ากองทุนอื่น และในด้านความผันผวน ยิ่งได้ค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์น้อย แสดงว่า ความเสี่ยงของกองทุนก็ยิ่งน้อยกว่ากองทุนคู่แข่งในกลุ่มเดียวกัน

 

ผลขาดทุนสูงสุด (Maximum Drawdown)

ตัวเลขนี้เป็นสิ่งที่บอกว่า ในช่วงที่ผ่านมากองทุนเคยขาดทุนมากที่สุดมากน้อยแค่ไหน โดยช่วงเวลาที่ใช้วัดคือ ช่วง 5 ปี แต่ถ้ากองทุนจัดตั้งไม่ถึง 5 ปี ก็จะนับตั้งแต่จัดตั้งกองทุน

 

การวัดผลขาดทุนสูงสุดจะช่วยให้เราพอเห็นภาพว่า ในช่วง 5 ปี กองทุนเคยขาดทุนมากที่สุดมากน้อยแค่ไหน และตัวเรารับได้หรือไม่ หากลงทุนไปแล้ว จะต้องพบกับผลขาดทุนในระดับดังกล่าว

 

อย่างไรก็ตาม กองทุนที่มีความเสี่ยงสูงอย่างกองทุนหุ้นมักมีตัวเลขผลขาดทุนสูงสุดที่สูงกว่ากองทุนประเภทอื่น แต่เมื่อถือลงทุนระยะยาว 5 ปีขึ้นไป ก็มีโอกาสสร้างผลตอบแทนในการลงทุนที่เป็นบวกได้

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats