×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

ชีวิตดี๊ดีแค่ “วางแผนภาษี”

3,877

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

มีคำกล่าวที่ว่า “ที่ใดภาษีแพง ที่นั่นย่อมมีการวางแผนภาษี”

 

เพราะภาษีถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สำคัญตัวหนึ่ง แถมยังเป็นค่าใช้จ่ายจำนวนไม่น้อย ทำให้ใครหลายคนพยายาม วางแผนภาษี กัน ไม่ว่าจะใช้วิธีที่ถูกกฎหมายหรือไม่ก็ตาม อย่างที่เป็นข่าวดังเมื่อปี 2559 ที่ผ่านมา กรณี ปานามา เปเปอร์ ที่สมาคมผู้สื่อข่าวสอบสวนนานาชาติ (ICIJ) ได้เปิดเผยเอกสารลับการทำงานของบริษัทกฎหมายสัญชาติปานามาแห่งหนึ่งที่ช่วยเหลือลูกค้ารายใหญ่ ทั้งนักการเมือง และผู้นำประเทศทั่วโลก เพื่อฟอกเงินและหลีกเลี่ยงภาษี เป็นต้น

 

คำถามก็คือ…ทำไมคนถึงสนใจ วางแผนภาษี?

ก็เพราะในแต่ละปีที่เราต้องทำงานหนัก เงินที่หาได้นอกจากจะเก็บไว้ใช้ส่วนตัวแล้ว คนส่วนใหญ่ก็ตั้งใจเก็บให้คนที่เรารัก เช่น คนในครอบครัว…แต่ถ้าวันดีคืนดี มีคนที่เราไม่รู้จัก มาขอเงินที่เราต้องใช้หยาดเหงื่อแรงกายแลกมาดื้อๆ เราจะให้มั๊ย? คำตอบก็คือ…ไม่ให้!

 

ในชีวิตจริง…ก็มีกรมสรรพากรนี่แหละที่มาขอเงินเราดื้อๆ (ขอไม่น้อยด้วย) แถมเรายังไม่สามารถปฏิเสธได้อีกด้วย (จ่ายช้าก็โดนค่าปรับ) เช่น ถ้าเรามีเงินได้ส่วนที่ต้องเสียภาษีในอัตรา 30% (เงินได้สุทธิ 2 ล้าน – 5 ล้านบาท) เท่ากับว่าทุก 100 บาทที่เราหาได้มากขึ้น กรมสรรพากรก็จะมาขอไป 30 บาท เหลือให้ตัวเองแค่ 70 บาทเท่านั้น! แล้วอย่างนี้จะไม่ วางแผนภาษี ได้หรือ? (ประเทศไทยมีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขั้นสูงสุด (35%) มากที่สุดในกลุ่มอาเซียนด้วย)

 

แต่เดี๋ยวก่อน ถ้าคิดจะว่า วางแผนภาษี ก่อนอื่นต้องเข้าใจข้อแตกต่างระหว่าง 3 คำนี้ก่อน

  • “การวางแผนภาษี” คือ การศึกษาและปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้เสียภาษีน้อยลงหรือไม่เสียเลยโดย “ไม่ผิดกฎหมาย”
  • “การหลบหลีกภาษี” คือ การศึกษาและปฏิบัติที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยลงเหมือนกัน ต่างกับการวางแผนภาษีตรงที่การหลบหลีกภาษีจะมองหาช่องโหว่ของกฎหมายและใช้ประโยชน์ตรงจุดนั้น ดังนั้นการหลบหลีกภาษีอาจถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมายก็ได้ ขึ้นอยู่กับการตีความของกรมสรรพากรหรือศาลภาษี
  • “การหนีภาษี” คือ การฝ่าฝืนกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงให้เสียภาษีน้อยลง หรือ ไม่เสียเลย กรณีนี้ผิดกฎหมายแน่นอน ถ้ากรมสรรพากรตรวจเจอ ต้องเสียค่าปรับ เงินเพิ่ม และปัจจุบันพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร กรณีหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงตั้งแต่สิบล้านบาทต่อปีภาษีขึ้นไป และขอคืนภาษีฉ้อโกงตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป เข้าข่ายเป็นฐานความผิด ตามกฎหมายฟอกเงินมีผลบังคับใช้แล้ว หลังมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 เม.ย.60 ที่ผ่านมานี้

 

ดังนั้นเราจะหยิบยกประเด็น “การวางแผนภาษี” เท่านั้น โดยกลยุทธ์นี้จะมุ่งไปที่เป้าหมาย 3 ข้อ คือ

  • ถ้าต้องเสีย เสียให้น้อยที่สุด
  • ถ้าต้องเสีย เสียให้ช้าที่สุด
  • ถ้าเรียกคืนได้ เรียกคืนให้เร็วที่สุด

 

#WealthMeUp

 

Related Stories

amazon anti fatigue mats