×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

เช็กรายได้ ก่อนซื้อ LTF/RMF

4,888

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

ซื้อกองทุน LTF/RMF ทั้งที หากตั้งใจซื้อเต็มสิทธิก็อย่าลืมเช็กว่าปีนี้มีรายได้จากไหนบ้าง เพื่อจะได้คำนวณสิทธิ “15%ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษี และสูงสุดไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งรายได้ที่ว่านั้นหลักๆ มีอะไรบ้าง ลองมาดูกัน

 

เงินเดือน ค่าล่วงเวลา และโบนัส

ที่ใช้เป็นฐาน x15% เพื่อซื้อ LTF/RMF นั้น ต้องใช้ยอดไหนระหว่าง (ก) ยอดเงินเข้าบัญชีจริงหลังถูกหักค่าต่างๆ เช่น ประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ฯลฯ ไปแล้ว หรือ (ข) ยอดเงินก่อนหักค่าเหล่านั้น คำตอบคือยอดเงินก่อนหักฯ โดยสามารถเช็กยอดที่ว่าได้จากสลิปเงินเดือนในแต่ละเดือนที่ผ่านมา

 

รายได้จากอาชีพเสริม

ที่มักเป็นเงินได้ประเภท 40(2) หรือ 40(8) ก็นำมาเป็นฐาน x15% ได้ โดยหากยอดเงินนั้นถูกผู้ว่าจ้างหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ให้ใช้ยอดเงินก่อนหักมาคำนวณ ดังนั้นอย่าลืมเก็บเอกสารรับรองเงินได้หรือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ไว้มาเป็นหลักฐาน หรือควรจดบันทึกทุกครั้งที่ได้รับเงิน

 

ดอกเบี้ยเงินฝากและเงินปันผลจากกองทุน

ส่วนที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% และ 10%ตามลำดับ นำยอดเงินก่อนหักภาษีมาเป็นฐาน x15% ได้ โดยสามารถขอหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย เพื่อเป็นหลักฐานในการแสดงรายได้ส่วนนี้จากธนาคารและ บลจ. ได้

 

เงินปันผลจากหุ้นสามัญ

นำยอดเงินก่อนหักภาษีมาเป็นฐาน x15% ได้ และหากนักลงทุนเลือกใช้สิทธิขอเครดิตภาษีเงินปันผลด้วยแล้ว สามารถนำเครดิตภาษีเงินปันผลนั้นมาเป็นฐาน x15% ได้เช่นกัน แต่ไม่รวมเงินปันผลที่ได้รับสิทธิ BOI

 

เช่น นักลงทุนได้รับเงินปันผลจำนวน 1,000 บาท (ก่อนหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%) จากบริษัทที่เสียภาษีนิติบุคคล 20%แล้ว สามารถนำเครดิตภาษีเงินปันผล (250 บาท = 1,000 x 20% ÷ [100%-20%]) และเงินปันผลรับ รวมเป็น 1,250 บาท มาเป็นฐาน x15% ได้

 

เงินก้อนที่ได้รับเมื่อเกษียณ

กรณีเกษียณตั้งแต่อายุ 55 ปีขึ้นไป ซึ่งมีเงินบางส่วนที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานและเงินบำเหน็จหรือเงินก้อนอื่นที่ได้จากนายจ้าง ไม่ว่าจะเสียภาษีแบบทั่วไปหรือแบบใบแนบฯ ก็นำยอดเงินก่อนหักภาษีมาเป็นฐาน x15%ได้

 

สำหรับกรณีเกษียณก่อนอายุ 55 ปี จะมีเงินก้อนอีกส่วนหนึ่งที่ต้องเสียภาษี คือ เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่จะเสียภาษีเฉพาะ 3 ใน 4 ส่วน ได้แก่ เงินสมทบส่วนของนายจ้าง ผลตอบแทนจากการลงทุนในส่วนของเงินสมทบนายจ้าง และผลตอบแทนจากการลงทุนในส่วนของเงินสะสมของตนเอง (เงินสะสมส่วนของตนเอง ได้รับการยกเว้นภาษี) ซึ่งนำมาเป็นฐาน x15% ได้เช่นกัน
ซื้อ LTF/RMF แต่ละปีอย่าแค่ซื้อด้วยความเคยชิน ต้องตรวจสอบสิทธิของตนเองว่าครบถ้วนแล้วหรือยัง อีกทั้งสิทธิลดหย่อนในแต่ละปีอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้นด้วย

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats