×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

เรื่องต้องรู้เมื่อลงทุน FIF

4,869

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่า กองทุนหุ้นเทคโนโลยี กองทุน Healthcare กองทุนหุ้นตลาดเกิดใหม่ เป็นกองทุนที่นักลงทุนให้ความสนใจเป็นอย่างมากในช่วงนี้ สิ่งที่เหมือนกันของกองทุนกลุ่มนี้คือ การลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งความเสี่ยงที่นักลงทุนจะต้องพบคือ ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ถ้าสนใจลงทุนแบบนี้ ต้องทำความรู้จักกับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและวิธีการจัดการกับความเสี่ยงด้วย

 

ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงไป จนส่งผลกระทบกับผลตอบแทนจากการลงทุน ยกตัวอย่างเช่น หากลงทุนกองทุนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ด้วยเงินลงทุน 3,300 บาท ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับเงินบาทอยู่ที่ 33 บาท ดังนั้นเงินลงทุนเมื่อแปลงเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐจะเท่ากับ 100 ดอลลาร์ แต่ในช่วงที่ขายหน่วยลงทุน (ราคากองทุนในสกุลดอลลาร์สหรัฐไม่เปลี่ยนแปลง) แล้วค่าเงินบาทแข็งค่ามาที่ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เงินลงทุนดังกล่าวเมื่อแปลงกลับมาเป็นเงินบาทจะเท่ากับ 3,200 บาท หรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงิน 100 บาทนั่นเอง

 

อย่างไรก็ตาม ถ้าค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมาที่ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก็จะได้กำไรจากการลงทุน เพราะเมื่อแปลงมาเป็นค่าเงินบาท จะได้เงินกลับมา 3,400 บาท ดังนั้นความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนจึงมีทั้งด้านบวกและลบกับเงินลงทุนของเรา

 

กองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ

ซึ่งเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ และผลตอบแทนไม่สูงมากนัก ผู้จัดการกองทุนมักป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วยตราสารอนุพันธ์ ผู้ลงทุนจึงสบายใจได้ว่า จะไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน

 

กองทุนผสมหรือกองทุนหุ้นที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ

ผู้จัดการกองทุนกำหนดนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนแตกต่างกันไป โดยรูปแบบนโยบายมีดังนี้

 

  1. ไม่ป้องกันความเสี่ยง นักลงทุนมีโอกาสได้รับผลกระทบทั้งทางบวกและลบจากอัตราแลกเปลี่ยน หากเราคาดว่า ค่าเงินของกองทุนต่างประเทศที่จะลงทุนมีโอกาสแข็งค่าขึ้น ก็สามารถเลือกนโยบายแบบนี้เพื่อโอกาสในการได้กำไรจากค่าเงิน
  2. ป้องกันตามดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน การป้องกันความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้จัดการกองทุนว่า ควรใช้ตราสารอนุพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือไม่ โดยบางช่วงก็อาจเลือกไม่ป้องกันความเสี่ยง จึงเหมาะกับนักลงทุนที่เชื่อฝีมือของผู้จัดการกองทุนในการบริหารความเสี่ยงด้านค่าเงิน
  3. ป้องกันบางส่วน กองทุนจะกำหนดไว้ว่า ป้องกันความเสี่ยงในสัดส่วนที่กำหนดไว้ ซึ่งโดยปกติมักกำหนดในสัดส่วนที่สูง เช่น ไม่น้อยกว่า 75% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ จึงเหมาะกับผู้ที่ไม่ต้องการเผชิญกับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือมองว่า ค่าเงินของกองทุนต่างประเทศที่เลือกลงทุนมีโอกาสอ่อนตัวลง

 

นโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนที่กล่าวข้างต้นเป็นการป้องกันในสกุลเงินของกองทุนแม่ แล้วแปลงมาเป็นสกุลเงินบาท ยกตัวอย่างเช่น กองทุนกรุงศรีไชน่าเอแชร์อิควิตี้-สะสมมูลค่า (KFACHINA-A) ซึ่งมีนโยบายลงทุนในหุ้น A-shares ของจีน โดยกองทุนแม่อยู่ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นการป้องกันความเสี่ยงของผู้จัดการกองทุนในไทยจะป้องกันความเสี่ยงของสกุลเงินดอลลาร์ (ไม่ใช่สกุลเงินหยวนของจีน) เมื่อเทียบกับบาท ดังนั้นนักลงทุนจึงควรศึกษาข้อมูลส่วนนี้ให้เข้าใจก่อนลงทุนผ่าน Fund Fact Sheet

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats