×

Wealth Me Up ใช้แรงทำเงิน

เปิด 14 คำแนะนำ บริษัทจดทะเบียน รับวิกฤติ COVID-19

3,425

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

บริษัทจดทะเบียนหลายแห่งเจอเหตุการณ์ หุ้นตก| มูลค่าบริษัทลด | Fixed Cost สูง | รายได้ลด จากพิษ #COVID19

 

ดร.พยัต วุฒิรงค์ ที่ปรึกษาบริษัทชั้นนำ เขียนคำแนะนำ 14 ข้อ ที่ทั้งบริษัทจดทะเบียน และธุรกิจน้อย-ใหญ่ สามารถนำมาปรับใช้ได้ในภาวะวิกฤติเช่นนี้

 

1. มีเงินสดในมือเหลือเท่าไหร่ อยู่ได้กี่เดือน (สำหรับจ่าย Fixed Cost) . ถึงเวลานี้ ทุกองค์กร ทุกคน ต้องประเมินความพร้อมของตัวเองก่อน ถึงจะรู้ว่าจะเดินอย่างไรต่อไป ถ้าไม่มีเงินสดเหลือเลย หรือเหลือน้อยมาก ก็จะอึดอัดหน่อย ต้องแก้ปัญหาให้เร็ว แล้วทำตามข้อต่อๆ ไป

 

2. ลด Fixed Cost ให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้  Fixed Cost คือต้นทุนที่ไม่ว่าจะผลิตหรือไม่ผลิตสินค้าหรือบริการก็ต้องจ่ายเงินออก เช่น รถ อาคาร ดอกเบี้ย พนักงาน

 

3. เจรจายืดเวลาการชำระหนี้ ลดยอดเงินที่ต้องจ่ายออกให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อเพิ่มเงินสดคงเหลือในมือ

 

สามข้อแรกเป็นเพียงการทำให้เงินไหลออกช้าลง แต่ไม่ช่วยเพิ่มการอยู่รอด ทางรอดคือการปรับองค์กรหารายได้เพิ่ม ปรับวิธีการ สร้างคุณค่าเพิ่มจากสิ่งที่มีอยู่

 

4. สำรวจสินค้าคงคลัง วัตถุดิบใน stock ว่าจะเปลี่ยนเป็นอะไรได้บ้าง ตอนนี้ไม่มีคนซื้อของ หรือ คนซื้อของลดลง ให้ดูว่าจะขายเป็นเงินได้หรือไม่ ให้ดูว่าสามารถแปรรูปเป็นอย่างอื่นที่เหมาะกับสถานการณ์ได้หรือไม่ เช่น ร้านอาหาร จะเปลี่ยนรูปแบบเป็น delivery ก็ต้องทำ ดีกว่าหยุด มูลค่าเป็นศูนย์

 

5. พยายามขาย และ แปรรูป สินค้าและบริการโดยขายให้ได้เงินสดมากที่สุด งดเครดิต หรือ เครดิตให้น้อยที่สุด ช่วงนี้ ขายถูกได้เงินสด ดีกว่า ขายแพงเป็นเครดิต รายย่อย และค้าปลีก ยังต้องกินต้องใช้

 

6. คุยกับลูกค้าประจำ ขอความช่วยเหลือกัน รู้ว่าทุกคนหนัก แต่มีคนหนักมาก หนักน้อย แตกต่างกัน เพื่อนจะช่วยเพื่อนได้เสมอยามลำบาก ศักดิ์ศรี และ ego บางอย่าง ปล่อยไปก่อน เอาชีวิตให้รอด

 

7. ใช้สิ่งที่มีและทรัพยากรทุกอย่างที่มีอยู่ต่อยอดสร้างคุณค่าเพิ่ม เช่น ชื่อเสียงการทำธุรกิจ ระบบงาน มาตรฐานการทำงาน หรือ ทักษะและจำนวนพนักงานที่มี ไม่มีใครอยากอยู่บ้านเฉยๆ บริษัทต้องหาอาชีพให้พนักงาน บริษัทเป็นคนทำระบบ พนักงานทำงานจากบ้าน ช่วยเหลือกันไป ไม่ทิ้งกัน

 

8. สร้างคุณค่าเพิ่ม/นวัตกรรมของสินค้าและบริการ อะไรไม่เคยทำก็เริ่มทำดู คนยังต้องกินต้องใช้ แต่เปลี่ยนรูปแบบไปเป็น Online ทำความเข้าใจ Customer Journey ใหม่ในภาวะวิกฤต . ข้อดีขององค์กรใหญ่คือ มีความน่าเชื่อและมีความเป็นมาตรฐานมากกว่า ข้อดีขององค์กรเล็กคือ ปรับตัวได้เร็วกว่า ต้องดึงข้อดีขององค์กรทั้งสองแบบมาใช้ในช่วงวิกฤต

 

9. ตัดขายสินทรัพย์ถ้าจำเป็น ดังคำกล่าวที่ว่า เสียอวัยวะดีกว่าเสียชีวิต ขอแค่รักษาบริษัทได้ เมื่อทุกอย่างดีขึ้น พร้อมแล้ว ค่อยเอากลับมาก็ไม่สาย

 

10. ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ อย่าทิ้งพนักงาน พยายามใช้วิธีอื่นตามที่บอกมาแล้ว พนักงานคือสิ่งสุดท้ายที่บริษัทต้องทิ้ง เพราะเมื่อวิกฤตคลาย พนักงานที่มีอยู่จะทำให้องค์กรเดินหน้าได้ทันที

 

11. ปรับตัว วางแผน และเตรียมพร้อมการก้าวกระโดดหลังจากวิกฤตคลี่คลาย ช่วงวิกฤตคือช่วงที่ทุกคนต้องทบทวนสิ่งที่ทำมา อะไรดี อะไรผิดพลาด อะไรคือเป้าหมายต่อไป เมื่อรู้แล้ว ให้เริ่มวางแผนและทำในช่วงที่งานไม่ล้นมือ เพื่อเดินหน้าต่อไปอย่างมั่นคง

 

12. รักษาความน่าเชื่อถือเท่าชีวิต อย่าผิดคำพูด อย่าเอาตัวรอดไปวันๆ อย่าทำสิ่งที่ไม่ได้มาตรฐาน เพราะเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น คนจะจำ!!

 

13. นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้และปรับตัวให้ทันความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมลูกค้า พนักงานและโลกหลังวิกฤต ศึกษาการทำงาน การทำธุรกิจผ่านดิจิทัลให้ได้แบบ 100%

 

14. ให้มีสติ และอย่าวิตกจริต จนเกินไป ค่อยๆ คิด ค่อยๆ แก้ทีละปัญหา ถ้าคิดไม่ออกก็หาคนช่วย อย่างที่บอกตอนต้น ถ้าเราเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา เราจะเห็นแต่ปัญหา หาคนช่วยมองจากวงนอก แล้วค่อยๆ ลงมือทำ  ที่สำคัญอย่า ego มาก รับฟัง ปรับตัว ร่วมด้วยช่วยกัน แล้วทุกคนจะรอด

 

 

#WealthMeUp

 

ที่มา : Phayat Wutthirong

Related Stories

amazon anti fatigue mats