×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

สูตรใช้เงิน ช่วงCOVID-19

6,586

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

ในช่วงเกิดวิกฤติ เช่นเชื้อไวรัส COVID-19 ยังระบาด หลายคนมองว่าเป็นช่วงที่ต้องกันเงินทั้งหมดที่มีในแต่ละเดือนเอาไว้ใช้จ่าย แม้กระทั่งเงินที่เคยแบ่งไปเก็บออมหรือลงทุนก็ยังดึงมาเป็นค่าใช้จ่าย คำถามคือ ควรหยุดเก็บเงินในช่วงวิกฤติหรือเปล่า

 

สถานการณ์ปกติ

 

หากมีรายได้ เงินเดือน มีค่าใช้จ่ายตามปกติ หลายคนอาจแบ่งเงินออกเป็น 3 ก้อน เช่น 50 : 30 : 20

 

50% คือ เงินใช้จ่ายประจำเดือน

เช่น ค่าอยู่ ค่ากิน จ่ายหนี้ต่างๆ ทั้งผ่อนบ้าน ผ่อนรถบัตรเครดิต

 

30% คือ เงินเพื่อใช้สร้างความสุขให้ตัวเอง

เช่น ช้อปปิ้ง ท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ามือถือ รวมถึงให้พ่อแม่

 

20% คือ เงินเก็บออมและลงทุน

โดยแบ่งเป็นก้อนๆ ตามเป้าหมาย เช่น เก็บเพื่อฉุกเฉิน เก็บซื้อบ้าน ลงทุนเพื่อวัยเกษียณ

 

เช่น มีรายได้หลังหักภาษีเหลือเงิน 25,000 บาทต่อเดือน จะแบ่งเงินตามวัตถุประสงค์ คือ 12,500 บาท : 7,500 บาท : 5,000 บาท

 

สถานการณ์COVID-19

 

โดยในช่วงเชื้อไวรัส COVID-19 ระบาด รายได้ที่เข้ามาแต่ละเดือนอาจลดลง ย่อมกระทบกับสถานะทางการเงิน จึงต้องแบ่งเงินกันใหม่ เพื่อให้รอดจากช่วงวิกฤตินี้ไปได้ ด้วยสูตร 60 : 30 : 10

 

60% คือ เงินใช้จ่ายประจำเดือน

ถึงแม้ว่าช่วงนี้ภาครัฐและสถาบันการเงินจะออกมาตรการต่างๆ เพื่อเยียวยาประชาชน เช่น หยุดให้จ่ายหนี้ทั้งต้นทั้งดอก จ่ายเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วง COVID-19 ค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น เพราะต้องซื้ออุปกรณ์ป้องกันเชื้อไวรัส รวมถึงซื้อของกินของใช้มาเก็บสำรองไว้ ขณะเดียวกันราคาเพิ่มสูงขึ้นอีกพอสมควร หรือหนี้บางอย่างก็ยังต้องชำระคืน ดังนั้น เพื่อให้เกิดความสบายใจ ควรกันเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น จาก 12,500 บาท เป็น 15,000 บาท

 

30% คือ เก็บเพื่อฉุกเฉิน

ในช่วงปกติ เงินส่วนนี้จะเป็นเงินเพื่อใช้สร้างความสุขให้ตัวเอง แต่ในภาวะวิกฤติ คงไม่สามารถไปท่องเที่ยวหรือทานอาหารนอกบ้านได้ จึงควรเปลี่ยนเป็นเงินเก็บเพื่อเตรียมไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เช่น กรณีเจ็บป่วยต้องเข้ารักษาโรงพยาบาล รวมถึงค่าใช้จ่ายเล็กๆ  น้อยๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ามือถือ

 

10% คือ เงินเก็บออม

หลายคนมองว่าช่วงวิกฤติคงต้องหยุดเก็บเงินและลงทุน แต่ความจริงแล้วต้องมีต่อไป เพียงแต่ลดจำนวนลง เช่น จากเดิมเคยเก็บ 5,000 บาทต่อเดือน อาจเหลือ 2,500 บาทต่อเดือน หรือถ้ารู้สึกว่าเงินตึงเกินไปก็เหลือเดือนละ 1,000 บาทก็ได้ โดยเงินก้อนนี้ให้นำไปเก็บเพื่อเป้าหมายเพื่อวัยเกษียณเป็นอันดับแรก เช่น ซื้อกองทุน RMF ส่วนเป้าหมายอื่นๆ ให้ชะลอออกไปก่อน

 

หากใช้สูตร 60 : 30 : 10 ในช่วง COVID-19 แปลว่า มีเงินไว้ใช้จ่ายถึง 60% ของรายได้ แถมยังมีเงินสำรองเพื่อเตรียมไว้ใช้อีก 30% พูดง่ายๆ เงินที่เตรียมไว้ใช้จ่ายมีสูงถึง 90%

 

นี่จึงเป็นเหตุผลว่าถึงแม้จะอยู่ในช่วงวิกฤติ ก็ควรกันเงินไปเก็บออมหรือลงทุนอยู่เสมอ

 

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats