×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

กระจายลงทุน รับตลาดผันผวนกับ “PRINCIPAL iBALANCED”

3,003

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

ในยุคที่เศรษฐกิจเปราะบาง การลงทุนผันผวน คาดเดาทิศทางสินทรัพย์ลงทุนได้ยาก คำถามคือ…ควรทำอย่างไรกับเงินที่มีอยู่ เพื่อให้เงินทำงาน?

 

ทุกสินทรัพย์ = ผันผวน

 

ในช่วง 2 ม.ค. – 31 ก.ค. 2563 นานาประเทศต่างได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤต COVID-19 โดยหากนักลงทุนถือครองสินทรัพย์ต่างๆ ในช่วงนี้ จะเผชิญกับความผันผวนที่เกิดขึ้นในทุกสินทรัพย์ และทุกภูมิภาค โดยหากพิจารณาช่วงเวลาที่แต่ละสินทรัพย์มีผลขาดทุนที่สุด

 

  • (2 ม.ค. – 23 มี.ค. 2563) หุ้นไทย -35.38%
  • (2 ม.ค. – 23 มี.ค. 2563) หุ้นจีน -13.63%
  • (2 ม.ค. – 23 มี.ค. 2563) ทองคำ -1.88%

 

(ที่มา: ผลตอบแทนของสินทรัพย์ต่างๆ จากข้อมูล NAV ของกองทุนเปิดพรินซิเพิล เดลี่ เซ็ท 50 อินเด็กซ์ A, กองทุนเปิดพรินซิเพิล ไชน่า อิควิตี้ A, กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลด์ อินคัม A)

ในทางตรงกันข้ามหากพิจารณาช่วงเวลาที่แต่ละสินทรัพย์ทำกำไรมากที่สุด

 

  • (2 ม.ค. – 13 ก.ค. 2563) หุ้นจีน +19.28% | หุ้นไทย -17.73%
  • (2 ม.ค. – 29 ก.ค. 2563) ทองคำ +27.73% | หุ้นไทย -18.39%

 

(ที่มา: ผลตอบแทนของสินทรัพย์ต่างๆ จากข้อมูล NAV ของกองทุนเปิดพรินซิเพิล เดลี่ เซ็ท 50 อินเด็กซ์ A, กองทุนเปิดพรินซิเพิล ไชน่า อิควิตี้ A, กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลด์ อินคัม A)

 

สังเกตได้ว่าในช่วงเวลาเดียวกันแม้บางสินทรัพย์ทำกำไรได้อย่างโดดเด่น (หุ้นจีน และทองคำ) แต่บางสินทรัพย์กลับให้ผลในทางตรงกันข้าม (หุ้นไทย)

 

สถานการณ์ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นสะท้อนภาพความผันผวนในโลกการลงทุน และตอกย้ำแนวคิดที่ว่า “อย่าควรใส่ไข่ทุกใบไว้ในตะกร้าเดียวกัน” หรืออย่าลงทุนแบบกระจุกตัว แต่ควร “กระจายการลงทุน”

 

กระจายการลงทุน = ลดความเสี่ยง

 

กลยุทธ์หลักในโลกการลงทุนก็คือการ “กระจายการลงทุน” หรือทำ Asset Allocation ด้วยการแบ่งเงินเป็นส่วนๆ ไปลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ เพื่อช่วยลดความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทน

 

ตัวอย่างเช่น หากมีสินทรัพย์ให้เลือกลงทุน 5 ประเภท ได้แก่ หุ้นไทย หุ้นจีน หุ้นยุโรป อสังหาริมทรัพย์ และทองคำ การตัดสินใจนำเงินที่มีไปลงทุนในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่ง (1-5) เปรียบเทียบกับกระจายลงทุนในสัดส่วนที่เท่าๆ กัน (6) ตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค. – 31 ก.ค. 2563 กำไร-ขาดทุน ที่เกิดขึ้นในทุกสิ้นเดือนจะเป็นดังนี้

 

 

จะเห็นว่าการ “กระจายการลงทุน” ในช่วงดังกล่าว แม้ไม่ทำให้ได้กำไรสูงเท่าการลงทุนในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่ง เช่น หุ้นไทย หรือหุ้นจีนอย่างเดียว (ที่อาจทำกำไรสูงสุดได้กว่า 16% และ 13% ในเดือนเดียว)

 

แต่การ “กระจายการลงทุน” ก็ไม่ได้ขาดทุนหนักเท่ากับการลงทุนหุ้นไทย หรืออสังหาริมทรัพย์แบบจัดเต็ม (ที่อาจขาดทุนหนักกว่า 14% และ 18% ในเดือนเดียว)

 

ดังนั้นกลยุทธ์ที่เหมาะสำหรับการลงทุนในระยะยาวก็คือ Stay Invested, Stay Diversified

 

กองทุนรวมผสม” ตัวช่วย “กระจายการลงทุน”

 

แม้รู้ว่าการกระจายลงทุนเป็นสิ่งจำเป็น แต่คำถามยอดฮิตคือ

 

  • ควรแบ่งเงินไปลงทุนสินทรัพย์ไหน?
  • ควรลงทุนสัดส่วนเท่าไร?
  • เมื่อไรถึงควรกลับมาติดตามและปรับสัดส่วนเงินลงทุน?

 

ทางเลือกที่ง่ายกว่าสำหรับคำถามเหล่านี้ก็คือการลงทุนใน “กองทุนรวมผสม” ที่ลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย (Asset Allocation) มีผู้จัดการกองทุนคอยติดตามข้อมูล และตัดสินใจปรับเปลี่ยนสัดส่วนเงินลงทุน (Rebalance) เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดี ควบคู่กับการบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

 

กระจายลงทุน ผลงานโดดเด่น = PRINCIPAL iBALANCED

 

กองทุนเปิดพรินซิเพิล บาลานซ์ อินคัม (PRINCIPAL iBALANCED) กองทุนรวมผสมที่ตอบโจทย์ผู้ลงทุนที่ต้องการ “กระจายการลงทุน” ผ่านสินทรัพย์หลากหลายประเภท ด้วยจุดเด่น 4 ด้านคือ

 

1.ผลตอบแทนสม่ำเสมอ-จำกัดความเสี่ยง

 

โดย กองทุน PRINCIPAL iBALANCED เป็นกองทุนรวมที่เน้นสร้างผลตอบแทนสม่ำเสมอ พร้อมบริหารความเสี่ยงด้วยวิธีการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลาย เช่น หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ อสังหาริมทรัพย์ ตราสารหนี้ ทองคำ ฯลฯ

 

2.ยืดหยุ่น-ปรับสัดส่วนลงทุนได้

 

เนื่องจากนโยบายการลงทุนสามารถปรับสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ได้ตั้งแต่ 0-100% ทำให้สามารถบริหารพอร์ตท่ามกลางสภาวะตลาดผันผวนได้อย่างคล่องตัว ตอบโจทย์เรื่องการทำ Asset Allocation และ Rebalance

 

3.ผลงานดี-สม่ำเสมอ

 

กองทุน PRINCIPAL iBALANCED สามารถทำผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี (ข้อมูล ณ 13 ส.ค. 2563) สูงเป็นอันดับ 7 จากกองทุนในกลุ่มเดียวกัน (Aggressive Allocation) ซึ่งมีทั้งหมด 110 กองทุน (ที่มา: Morningstar Thailand) อีกทั้งยังได้รับการจัดลำดับผลการดำเนินงานดีสม่ำเสมอจาก Morningstar Thailand ถึง 4 ดาว (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ก.ค. 2563) สะท้อนความเชี่ยวชาญของทีมงานผู้จัดการกองทุนในช่วงที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี

 

4.เลือกได้ “สะสม” หรือ “ทยอยรับเงิน”

 

แม้ความต้องการของผู้ลงทุนจะหลากหลาย แต่ กองทุน PRINCIPAL iBALANCED สามารถเลือก 3 รูปแบบ สำหรับผู้ที่ต้องการรายได้สม่ำเสมอ สามารถเลือกแบบ “ขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ Auto-redemption” หรือ “เงินปันผล” ไม่เกินปีละ 12 ครั้ง ปัจจุบัน 4 ครั้งต่อปี หรือแบบ “สะสมมูลค่า” (PRINCIPAL iBALANCED-A) ที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการเพิ่มมูลค่าเงินที่มีเพื่อเป้าหมายเงินก้อนในระยะยาว  ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขในแต่ละแบบได้ที่หนังสือชี้ชวน

 

หมายเหตุ: ได้รับ Morningstar 4 ดาว ณ วันที่ 31 ก.ค. 2563

 

สำหรับใครที่สนใจลงทุนใน กองทุน PRINCIPAL iBALANCED สามารถเริ่มต้นลงทุนได้ทันที โดยสามารถเปิดบัญชีและลงทุนผ่านแอปพลิเคชัน Principal TH ได้ และยังทำให้การซื้อ ขาย สับเปลี่ยน ติดตามมูลค่าเงินลงทุน เช็กประวัติการทำรายการย้อนหลัง ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านมือถือของตัวเอง

 

ดาวน์โหลดได้แล้วที่

iOS: https://apple.co/32ihRbQ

android: https://bit.ly/3hgqiut

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.principal.th/ หรือโทร. 02 686 9595

 

คำเตือน:

– ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

– ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต

– ผู้ลงทุนควรศึกษาผลการดำเนินงานของหน่วยลงทุนแต่ละชนิดของกองทุน ได้ที่ https://www.principal.th/th/mutual-fundth

– ทั้งนี้ โปรดศึกษารายละเอียดเงื่อนไขการจ่ายเงินปันผลและการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเพิ่มเติมในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการ

– คำเตือนของ Morningstar Copyright @ 2020 บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสริช์ ประเทศไทย สงวนลิขสิทธิ ข้อมูลที่ประกอบในเอกสารนี้ :

(1) เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทมอร์นิ่งสตาร์ และ/หรือ ผู้ให้บริการข้อมูล

(2) บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการทำซ้ำ หรือเผยแพร่

(3) บริษัทขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับผิดชอบต่อความถูกต้อง ครบถ้วน และความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นทุกกรณีจากการนำข้อมูลไปใช้อ้างอิง ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

– การนำเสนอข้อมูลดังกล่าวมิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน และผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลดังกล่าว

 

หมายเหตุ:

– อ้างอิงผลตอบแทนของสินทรัพย์ต่างๆ จากข้อมูล NAV ระหว่างวันที่ 2 ม.ค. – 31 ก.ค. 2563 ของกองทุน ดังนี้ กองทุนเปิดพรินซิเพิล คอร์ ฟิกซ์ อินคัม A, กองทุนเปิดพรินซิเพิล เดลี่ เซ็ท 50 อินเด็กซ์ A, กองทุนเปิดพรินซิเพิล พร็อพเพอร์ตี้ อินคัม A, กองทุนเปิดพรินซิเพิล ไชน่า อิควิตี้ A, กองทุนเปิดพรินซิเพิล ยูโรเปี้ยน อิควิตี้, กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลด์ อินคัม A

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats