×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

3 ภูมิต้านทาน ลดอาการ “เดือนชนเดือน”

4,299

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

เชื่อหรือไม่ 41.4%ของคนส่วนใหญ่* มีรายได้แบบเดือนชนเดือน จึงไม่แปลกที่คนส่วนใหญ่มักไม่มีเงินก็บสักที ทำให้เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น COVID-19 ที่ผ่านมา ได้เห็นข่าวต่างๆ ว่า มีหลายคนที่ถึงขั้นไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้าน จนต้องออกมาอาศัยตามสถานที่สาธารณะต่างๆ

 

สิ่งที่ควรให้ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่วันนี้เราเป็นหนึ่งในคนกลุ่มนั้นหรือไม่ แต่อยู่ที่เราจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เป็นคนกลุ่มนั้นต่างหาก โดยสิ่งที่ควรทำ ได้แก่

 

ผ่อนหนี้อย่าเกิน 40%ของรายได้

 

ผ่อนหนี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ ที่ต้องจ่ายให้เจ้าหนี้ในจำนวนที่แน่นอนตามสัญญา ไม่ว่าเดือนนั้นๆ จะมีรายได้เท่าเดิม ลดลง หรือตกงานก็ตาม

 

ดังนั้นหากมีภาระผ่อนหนี้สูงเกินไป เกิดเดือนไหนรายได้ลดลง และการจ่ายหนี้นั้นเป็นการหักเงินอัตโนมัติจากบัญชีเงินเดือน เงินที่เหลือจากการผ่อนหนี้ก็อาจไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายส่วนตัวได้ หรือหากเป็นการจ่ายโดยชำระตามใบแจ้งหนี้แต่ไม่สามารถจ่ายขั้นต่ำตามเงื่อนไขได้ ก็จะส่งผลต่อประวัติด้านหนี้สินและการขอกู้ในอนาคต

 

ออมเงินให้ได้ 20%ของรายได้

 

การเก็บเงินให้ได้ทุกๆ เดือน นอกจากช่วยให้มีเงินเก็บเพื่อสร้างความมั่นคงกับชีวิต หรือเพื่อเป้าหมายในอนาคตแล้ว ยังเป็นการควบคุมค่าใช้จ่ายและสามารถเป็น Budget สำรองในแต่ละเดือนได้ด้วย

 

เช่น หากสามารถเก็บออมได้ 20%ของรายได้ทุกเดือน เกิดเดือนไหนรายได้ลดลง แต่ยังลดไม่ถึง 20%จากรายได้ปกติ ก็ถือว่ายังไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะในเดือนนั้นๆ อาจแค่ลดการเก็บออมลงชั่วคราวเพื่อให้มีเงินเหลือเพียงพอต่อการใช้จ่ายได้

 

มีรายได้อย่างน้อย 2 ทาง

 

ชีวิตนั้นไม่แน่นอน ใครจะรู้ว่างานที่ทำหรือธุรกิจที่มีอนาคตจะเป็นอย่างไร หากฝากชีวิตทั้งหมดไว้กับรายได้แห่งเดียว หากตกงาน ถูกลดเงินเดือน หรือนโยบายสวัสดิการเปลี่ยนไป ก็ย่อมกระทบกับเงินที่จะใช้จ่ายในแต่ละเดือนด้วย

 

ดังนั้นการมีอาชีพเสริมหรือธุรกิจสำรองไว้ก็เป็นสิ่งจำเป็น ที่สำคัญต้องไม่ใช้เงินเยอะจนกลายเป็นภาระเกินไป และควรมีความแตกต่างจากงานหลัก เพื่อที่เมื่อเกิดวิกฤตผลกระทบที่เกิดขึ้นจะได้ต่างกัน

 

นอกจากการคุมรายจ่ายและมีรายได้ที่เพียงพอแล้ว จากวิกฤติที่ผ่านมาจนหลายคนต้องขาดรายได้ไปหลายเดือน คงต้องยอมรับว่าเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินในเงินฝากออมทรัพย์หรือ e-Savings ในจำนวนที่เพียงพอนั้นสำคัญเพียงใด และการมีเงินสำรองอย่างน้อยๆ 6-12 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน ก็ไม่ใช่จำนวนที่มากเกินไปเลย

 

ใช้จ่ายต้องระวังอย่าให้เกินตัว เพราะอาจต้องปวดหัว เมื่อถึงวันที่ชีวิตถึงคราวต้องเปลี่ยนไป

 

* “สภาวการณ์ทางการเงินของคนไทย ในปี 2563” ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats