×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

3 วิธีแชร์ค่าใช้จ่าย สำหรับคนมีคู่

5,992

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

ก่อนแต่งงาน มีหลายคู่ที่ลืมปรึกษากันเรื่องว่าฝ่ายไหนจะออกค่าใช้จ่ายภายในบ้านเท่าไหร่ ถึงแม้กลับจากฮันนี่มูนก็ยังถกเถียงกันต่อว่า ฝ่ายไหนจะออกค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ แล้วค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมันรถ ใครเป็นจ่าย

 

เมื่อแต่งงานไปแล้ว การสร้างครอบครัวที่มั่นคงเป็นเป้าหมายสำคัญของคู่บ่าวสาว ซึ่งนอกจากการเตรียมพร้อมและวางแผนการเงินเพื่อให้เหมาะสม เป็นเรื่องที่ต้องคุยกันแล้ว เรื่องค่าใช้จ่ายภายในบ้านก็ต้องคุยกันให้เสร็จสรรพด้วยว่าควรจะแบ่งกันรับผิดชอบแบบไหน รวมถึงการตัดสินใจใช้บัญชีร่วมกันหรือแยกกัน ซึ่งต้องช่วยกันคิดว่าจะจัดสรรกันอย่างไร โดยหลักๆ แล้วมี 3 รูปแบบให้เลือก

 

ออกค่าใช้จ่ายคนละเท่าๆ กัน

 

โดยให้ออกเงินฝ่ายละเท่ากัน เช่น ฝ่ายละ 10,000 บาท จากเงินเดือนที่แต่ละฝ่ายได้รับ จากนั้นก็นำไปฝากบัญชีออมทรัพย์หรือกระแสรายวัน เป็นบัญชีกลางที่ไว้ใช้จ่ายประจำของครอบครัว เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าบ้าน ค่าอาหาร และบางส่วนแบ่งเป็นเงินลงทุนเพื่อเป้าหมายทางการเงินในอนาคต

 

ส่วนเงินส่วนที่เหลือของแต่ละฝ่าย ก็สามารถนำไปใช้ได้อย่างที่ต่างฝ่ายต่างต้องการ เป็นอิสระกันและกัน

 

แต่รูปแบบนี้อาจเกิดปัญหาขึ้นได้ คือ เมื่อรายได้ของทั้งคู่ไม่เท่ากัน ฝ่ายที่รายได้น้อยจะรู้สึกไม่ดีที่ต้องจ่ายเท่ากับฝ่ายที่มีเงินเดือนเยอะกว่า ดังนั้น ต้องปรึกษาหาข้อสรุปให้ได้

 

ออกค่าใช้จ่ายตามสัดส่วนรายได้

 

โดยแต่ละฝ่ายจะออกเงินตามสัดส่วนรายได้ของตัวเอง รายได้มากจ่ายมาก รายได้น้อยจ่ายน้อย เช่น ฝ่ายไหนที่รายได้มากก็ออก 60% ของรายได้ ฝ่ายไหนมีรายได้น้อยก็ออก 40% ของรายได้

 

ส่วนเงินที่เหลือของแต่ละฝ่ายก็นำไปใช้ได้ตามต้องการ ข้อดีของรูปแบบนี้ คือ แต่ละฝ่ายจะออกเงินตามความสามารถในการจ่าย แต่อาจมีข้อสงสัยตามมา คือ แล้วจะออกฝ่ายละกี่เปอร์เซ็นต์ ต้องปรึกษากันให้ดี

 

นำรายได้มารวมเป็นกองเดียว

 

ข้อดีของรูปแบบนี้ คือ ไม่ต้องคิดมาก มีเท่าไหร่ก็เท่านั้น ใช้เงินกระเป๋าเดียวกัน จ่ายทั้งรายจ่ายของครอบครัวและรายจ่ายส่วนตัวของแต่ละคน ถือเป็นเรื่องยุติธรรมเท่าเทียมกัน แต่ข้อเสียที่อาจเจอในอนาคต คือ แต่ละฝ่ายที่อาจอึดอัดขัดข้องใจหรือปิดบังค่าใช้จ่ายของตัวเองในบางรายไม่ให้อีกฝ่ายรับรู้

 

เมื่อตกลงว่าจะใช้รูปแบบไหนแล้ว สิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้ คือ ฝ่ายไหนจะเป็นผู้ดูแลเงินก้อนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของครอบครัว เพราะมีความจำเป็นต้องวางแผนอย่างรัดกุม ต้องรู้จักแบ่งค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและไม่จำเป็น ค่าใช้จ่ายใดเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ ค่าใช้จ่ายใดเป็นค่าใช้จ่ายผันแปร ค่าใช้จ่ายใดเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อลงทุน โดยจะต้องบริหารค่าใช้จ่ายต่างๆ เหล่านี้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ต้องทำความตกลงกันให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง

 

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats