สรุปภาพรวมผลตอบแทน กองทุนรวมตราสารหนี้โลก ปี 66
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Youtube | Facebook | TikTok | Instagram | Line
เมื่อย้อนกลับไปดูภาพการลงทุนปี 2566 มีทั้ง “รอยยิ้ม” และ “น้ำตา” เนื่องจากมีปัจจัยและสถานการณ์หลากหลายเข้ามาจนส่งผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบต่อการลงทุน โดยเฉพาะนโยบายการเงินที่ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการลงทุน
ข้อมูลจาก บลจ.บัวหลวง อธิบายว่าตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ ในช่วงปี 2564–2565 โดยในช่วง เดือนธันวาคมปี 2564 ตลาดคาดหวังว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2565 จะอยู่ที่ 0.75% กลับกลายเป็นว่าธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) ทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคม–ธันวาคมปี 2565 ทั้งสิ้น 7 ครั้ง ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายยืนอยู่ที่ 4.5%
เหตุการณ์นี้มีความคล้ายกับปี 2566 ที่ตลาดมองว่าสหรัฐอเมริกาจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้เฟดจะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง แต่กลายเป็นว่ายังขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปจนกระทั่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบัน ขยับมาที่ 5.5% เป็นการขยับขึ้นต่ออีก 4 ครั้งในปีที่ผ่านมา
สำหรับสินทรัพย์ลงทุนที่ถือว่าโดดเด่นตลอดปี 2566 คือ กองทุนรวมตราสารหนี้ เนื่องจากภาวะตลาดการลงทุนที่ผันผวน ทำให้ตราสารหนี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เพราะนักลงทุนจะประเมินล่วงหน้าก่อนตัดสินใจลงทุน เช่น หากคาดว่าเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ราคาตราสารหนี้มักจะปรับสูงขึ้น ขณะที่ราคาหุ้นโดยรวมจะปรับลดลง โดยที่ผ่านมานักลงทุนเทขายหุ้นก่อนที่จะเกิดสถานการณ์เลวร้าย เช่น วิกฤตซับไพรม์ หรือช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ราคาตราสารหนี้จึงปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ตลาดหุ้นผันผวนและปรับลดลง
ที่สำคัญนักลงทุนยังประเมินว่าเศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอย ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ และเชื่อว่าตลาดหุ้นจะปรับลดลง ทางเลือกที่น่าสนใจท่ามกลางความไม่แน่นอน คือ เน้นการลงทุนแบบระมัดระวัง หนึ่งในนั้น คือ การลงทุนกองทุนตราสารหนี้
มาดูกันว่าภาพรวมผลตอบแทนกองทุนรวมตราสารหนี้ ปี 66 เป็นอย่างไรกันบ้าง…