×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

เรื่องต้องรู้...ก่อนทำธุรกรรมร่วม

3,457

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

คนมีคู่ก็มักต้องทำอะไรร่วมกัน ยิ่งเมื่อตกลงปลงใจเป็นคู่ชีวิตกันแล้วมักหนีไม่พ้นการทำธุรกรรมร่วม” 3 ธุรกรรมฮิตที่คู่รักมักทำร่วมกันมีอะไรบ้าง และมีสิ่งใดที่ต้องรู้บ้าง เรามาพบคำตอบนี้ไปพร้อมกัน

 

เงินฝากร่วม

ไม่ว่าจะเปิดบัญชีร่วมแบบและหรือหรือสิ่งที่ตามมาคือเรื่องภาษี โดยขึ้นอยู่กับสถานะทะเบียนสมรส

 

(1) “จดทะเบียนสมรส

ดอกเบี้ยที่ได้รับไม่จำเป็นต้องนำไปยื่นภาษีสิ้นปีอีก สรรพากรมองว่าเป็นบัญชีเงินฝากเพื่อใช้สอยในครอบครัว และถูกหักภาษี ที่จ่ายแล้ว

 

(2) “ไม่จดทะเบียนสมรส

ซึ่งตามกฎหมายเสมือนว่าเป็นเพื่อนหรือคนรู้จักมาเปิดบัญชีร่วมกัน ซึ่งสรรพากรไม่สามารถรู้วัตถุประสงค์ของการเปิดบัญชีนี้ได้ จึงมักตั้งสมมติฐานว่าเป็นการเปิดบัญชีเพื่อร่วมกันทำการค้าหรือแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งเข้าข่ายเป็น หสม. (ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน)

 

ซึ่ง หสม. มีหน้าที่ต้องนำดอกเบี้ยที่ได้รับจากบัญชีร่วม ไปยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ช่วง ..-มี.. ในปีถัดไป แม้ว่าดอกเบี้ยเงินฝากนั้นจะถูกหักภาษี ที่จ่าย แล้วก็ตาม

 

กรรมสิทธิ์บ้านร่วม

การถือกรรมสิทธิ์ร่วม ที่หลายคู่มักเชื่อว่าก็เป็นการแสดงความรักความผูกพันที่เหนียวแน่น แต่สิ่งที่ควรรู้และทำต่อมาคือการมีชื่อในทะเบียนบ้านให้ครบทั้งคู่ ซึ่งส่งผลต่อ

 

(1) “ภาษีที่ดิน

เนื่องจากเกณฑ์การมีชื่อในทะเบียนบ้านเพื่อได้รับยกเว้นภาษีในส่วนของมูลค่า 10 หรือ 50 ล้านบาทแรก ปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนในกรณีของการถือกรรมสิทธิ์ร่วม ดังนั้นเพื่อให้มั่นใจว่าคู่รักจะได้รับสิทธิ์นี้ หากถือกรรมสิทธิ์ บ้าน/คอนโด ร่วมกัน 2 คน ก็ควรมีชื่อในทะเบียนบ้านครบทั้ง 2 คน

 

(2) “ภาษีขาย

หากเป็นการขาย บ้าน/คอนโด หลังถือครองมากกว่า 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี จะถือว่าเป็นการขายโดยไม่แสวงหากำไร ซึ่งมีภาระภาษีขายที่ต่ำกว่าการขายแบบแสวงหากำไร ซึ่งการมีชื่อในทะเบียนบ้านให้ครบทั้ง 2 คน อย่างน้อย 1 ปี จะช่วยแสดงเจตนาการอยู่อาศัยที่ชัดเจน ไม่ตั้งใจแสวงหากำไร และลดภาษีขายลงได้

 

กู้บ้านร่วม

หลายคู่รักมักเลือกซื้อ บ้าน/คอนโด ด้วยการกู้ร่วม แต่ก็ต้องแลกกับบางสิ่ง ได้แก่

 

(1) “โอกาสขอกู้ในอนาคต

เนื่องจากหนึ่งในปัจจัยที่ธนาคารใช้พิจารณาวงเงินกู้ คือ ภาระผ่อนหนี้เทียบกับรายได้ที่มี ซึ่งในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดีหรือธนาคารต้องการควบคุมความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อ หากเดิมผู้ขอกู้มีการกู้ร่วมโดยผ่อนเดือน 10,000 บาท ธนาคารจะพิจารณาเสมือนว่าผู้ขอกู้มีภาระผ่อนอยู่เดือนละ 10,000 บาท ไม่ใช่ครึ่งหนึ่งหรือ 5,000 บาท อย่างที่หลายคนเข้าใจ

 

(2) “ความเสี่ยงที่ต้องผ่อนคนเดียว

หลายคู่ที่กู้ร่วมเพราะต้องการ บ้าน/คอนโด ที่ใหญ่และราคาสูงขึ้นแต่ไม่สามารถกู้คนเดียวได้ ซึ่งความเสี่ยงที่ตามคือ หากอนาคตมีคนหนึ่งขาดรายได้ เช่น ตกงาน เปลี่ยนงาน ประสบอุบัติเหตุจนทุพพลภาพหรือเสียชีวิต ฯลฯ อาจเป็นภาระที่สูงเกินไปสำหรับอีกคนหนึ่งที่ต้องแบกรับภาระผ่อนทั้งหมดเพียงคนเดียว

 

ธุรกรรมร่วม ไม่ได้จบแค่ตอนทำธุรกรรม แต่อาจตามมาด้วยภาระ พันธะ และผลกระทบต่างๆ ตามมาอีกมากมาย ดังนั้นต้องคิดให้รอบด้านก่อนทำธุรกรรมร่วมกัน

 

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats