×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

ผ่อนรถไม่ไหว ทำยังไงดี?

231

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Youtube | Facebook | TikTokInstagramLine 

 

สัญญาณเตือน ‘ผ่อนรถไม่ไหว’

 

  • เงินเดือนหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือน้อยลง: ภาระหนี้สินสูงขึ้น มีการผ่อนสินค้ามากเกินไป ส่งผลให้เงินไม่พอใช้จ่ายครบเดือน
  • รู้สึกเครียดเรื่องค่าผ่อน: กังวลเรื่องค่าใช้จ่ายจนส่งผลต่อสุขภาพจิต
  • เงินสำรองฉุกเฉินลดลง: เป็นตัวบ่งบอกว่าสภาพคล่องทางการเงินเริ่มตึงตัวมากขึ้น
  • เริ่มจ่ายค่างวดล่าช้า/มีหนี้สินอื่นเพิ่ม: เป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกถึงปัญหาการเงิน และภาระหนี้สินรวมที่สูงขึ้น ย่อมส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงิน

 

ทางแก้ ‘เมื่อผ่อนรถไม่ไหว’

 

1. เจรจาขอปรับลดค่างวด

 

เป็นการเจรจากับเจ้าหนี้เดิมเพื่อขอปรับเปลี่ยนแผนการผ่อนชำระ โดยเจ้าหนี้อาจพิจารณาให้ปรับลดค่างวดที่ต้องผ่อนต่อเดือนให้น้อยลง และยืดระยะเวลาการผ่อนชำระนานขึ้น หรือให้ผ่อนชำระแบบขั้นบันได 

 

ข้อดี:

  • ผ่อนชำระต่อเดือนสบายขึ้น
  • ยังมีรถไว้ใช้งาน
  • ไม่เสียประวัติทางเครดิต (ในปัจจุบันการปรับโครงสร้างหนี้ในขณะที่ยังไม่เป็นหนี้เสีย ข้อมูลในเครดิตบูโรจะบันทึกแตกต่างจากการปรับโครงสร้างหนี้ซึ่งเป็นหนี้เสียแล้ว ทำให้ลูกหนี้สามารถรักษาประวัติเครดิตที่ดีเอาไว้ได้)

 

ข้อเสีย:

  • ยังมีภาระในการผ่อนอยู่
  • อาจมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม

 

2. ขายดาวน์

 

คือการขายรถต่อให้บุคคลอื่นที่สนใจซื้อรถของเรา หากพิจารณาแล้วว่า ภาระทางการเงินที่มีอยู่ในตอนนี้ล้นมือจนไม่สามารถจัดการได้ เราสามารถขายดาวน์รถ แม้ราคาขายอาจขาดทุน ขายได้ไม่เท่าจำนวนเงินดาวน์และค่างวดที่จ่ายไป แต่ก็ช่วยลดภาระหนี้สินที่ตึงมือ และรักษาประวัติการเงินที่ดีเอาไว้ได้ 

 

ข้อดี:

  • ได้เงินก้อนมาใช้จ่าย
  • ปลดภาระค่าผ่อน
  • ไม่เสียประวัติทางเครดิต

 

ข้อเสีย:

  • อาจขายได้ราคาต่ำกว่าราคาที่ซื้อมา ทำให้ยังมีภาระต้องจ่ายส่วนต่าง
  • เสียเวลาในการหาผู้ซื้อ

 

3. รีไฟแนนซ์รถ

 

เป็นการทำสัญญาเช่าซื้อฉบับใหม่ มักปรับระยะเวลาการผ่อนชำระให้นานขึ้น ผ่อนต่องวดลดลง วิธีนี้ผู้ขอสินเชื่ออาจได้วงเงินเพิ่มหากราคาประเมินรถสูงกว่าภาระหนี้เดิมโดยที่ยังมีรถไว้ใช้งานอยู่ 

 

ข้อดี:

  • ช่วยปรับแผนการผ่อนชำระให้เหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้
  • ยังมีรถไว้ใช้งาน
  • ไม่เสียประวัติเครดิต
  • อาจได้วงเงินเพิ่ม

 

ข้อเสีย:

  • อาจเสียค่าธรรมเนียม
  • อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น

 

ทั้ง 3 ทางเลือกที่กล่าวมาต่างมีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกัน ซึ่งแนวทางที่เหมาะสมสำหรับแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน เช่น

 

  • หากคุณไม่มีความจำเป็นต้องใช้รถ ทางเลือกที่เหมาะสมคือการขายดาวน์เพื่อจบภาระการผ่อนชำระต่อเดือน และไม่ต้องเสียประวัติ
  • หากคุณยังมีความจำเป็นต้องใช้รถ เช่น การเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะไม่ตอบโจทย์ หรือจำเป็นต้องใช้รถสำหรับการประกอบอาชีพ ทางเลือกเจรจาขอปรับลดค่างวดหรือรีไฟแนนซ์รถเป็นวิธีที่ช่วยให้คุณยังมีรถไว้ใช้งานเหมือนเดิม
  • หากคุณยังมีความจำเป็นต้องใช้รถและต้องการเงินก้อนเพิ่ม ทางเลือกที่เหมาะสมคือการรีไฟแนนซ์รถซึ่งมีข้อดีตรงที่อาจได้วงเงินเพิ่ม แต่ควรพิจารณาให้ดีก่อนว่ามีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนนั้นหรือไม่ และเราจะใช้ประโยชน์จากเงินก้อนได้คุ้มค่ากับดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายไปหรือเปล่า อีกทั้งทางเลือกนี้ยังต้องขยายระยะเวลาการผ่อนชำระและเสียอัตราดอกเบี้ยตลอดสัญญามากขึ้นด้วย

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats