×

Wealth Me Up ข่าวสั้น ทันเศรษฐกิจ

ติดซีรีส์! ไม่หลับไม่นอน ประสิทธิภาพการทำงานลด แก้ยังไงดี?

34

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Youtube | Facebook | TikTokInstagramLine 

 

Binge-Watching ชีวิตติดซีรีส์ จนหยุดดูไม่ได้ 

 

จะไม่ให้เราติดได้อย่างไร ก็ในเมื่อซีรีส์ถูร้างมาโดยมุ่งหวังให้คนดูชอบและติดตามผ่านกระบวนการการถ่ายทอด ทั้งในแง่นักแสดง เนื้อหา ภาพ เพลงประกอบ ล้วนแล้วแต่กระตุ้นให้สมองตื่นตัวและติดตาม ความพึงพอใจที่เกิดขึ้นจะทำให้สมองสร้างสารสื่อประสาทอย่าง “โดปามีน (Dopamine)” ซึ่งเป็นตัวหลักใน Reward pathway ซึ่งทำให้รู้สึกมีความสุข จากนั้นโดปามีนจะลดลงเมื่อไม่ถูกกระตุ้น ระดับความสุขจะลดลง อย่างไรก็ตามหากสมองได้รับโดปามีนในปริมาณมากและบ่อยครั้งเกินไป จะทำให้สมองเริ่มคุ้นชิน และต้องการการกระตุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสพติด เช่น การ Binge-watching ที่ไม่สามารถหยุดได้ง่ายๆ 

 

หลายครั้งเมื่อชีวิตตึงเครียด เราจึงเลือกดูซีรีส์เพื่อผ่อนคลายความเครียดที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ให้ความบันเทิงได้ง่ายและช่วยให้ลืมเรื่องราวอันน่าปวดหัวได้ ปัญหาอยู่ที่มันทำได้แค่ชั่วคราวเท่านั้น หากใช้การดูซีรีส์เป็นวิธีเดียวในการผ่อนคลาย อาจทำให้เกิดการพึ่งพาและติดงอมแงมได้ 

 

4 Steps แก้ปัญหาติดดูซีรีส์  

 

1. ถามตัวเองว่าในช่วงนี้มีอะไรที่ทำให้เครียดหรืออยากหลีกหนีมันหรือไม่ ให้จัดการกับมันโดยตรง และรับมือกับมันโดยวิธีที่หลากหลายและเหมาะสม หากรับมือเองคนเดียวไม่ไหว การหาตัวช่วยหรือหาคนปรึกษาก็เป็นทางออกที่ดี

 

2. ตั้งขีดจำกัดเวลาในการดู เช่น เหลือแค่วันละ 1 ตอน เป็นต้น

 

3. ค้นหากิจกรรมผ่อนคลายความเครียดอื่นๆ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง เล่นดนตรี เลี้ยงแมว

 

4. ฝึกเทคนิคการควบคุมอารมณ์เพื่อลดความเครียดระหว่างวัน จะได้ไม่ต้องรอการระบายผ่านการดูซีรีส์ เช่น การฝึกการหายใจ

 

โดยสรุป…เราต้องสร้างสมดุลในการดูซีรีส์ 

 

การแก้ปัญหาการติดดูซีรีส์ไม่ได้แปลว่าต้องเลิกดูซีรีส์ แต่เป็นการสร้างสมดุลและการเลือกวิธีผ่อนคลายที่เหมาะสม หากเราสามารถจัดการเวลาดูซีรีส์ให้เหมาะสม รวมถึงพัฒนากลยุทธ์การจัดการความเครียดและอารมณ์โดยไม่ต้องพึ่งพาโดปามีนจากการดูซีรีส์เพียงอย่างเดียว ก็จะสามารถลดการเสพติดได้ และทำให้การดูซีรีส์เป็นกิจกรรมที่ให้ความสุขโดยไม่เกิดผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ

 

ที่มา: พญ.ฉัตรกนิษฐ์ สราญฤทธิชัย จิตแพทย์ Morning Mind Clinic

Related Stories

amazon anti fatigue mats