×

Wealth Me Up ใช้แรงทำเงิน

แบบไหน? ดาวเด่นไม่ปลื้ม

3,638

 

จะเฟ้นหา ‘คนดี คนเก่ง’ มาร่วมงานด้วยว่ายากลำบากแล้ว จะรักษาคนเหล่านั้นให้อยู่กับองค์กรอย่างมีความสุขเป็นเรื่องยากยิ่งกว่า

 

ถ้าไม่อยากสูญเสีย ‘คนดีมีฝีมือ’ ก็แค่หันกลับมาทบทวนดูว่าหัวหน้างานหรือบริษัทได้ทำข้อผิดพลาดแบบนี้บ้างหรือเปล่า เพราะสิ่งเหล่านี้คือปัจจัยเร่งเร้าให้พนักงานที่บริษัทอยากรักษาไว้ต้องโบกมือลาองค์กรไปในที่สุด

 

“ออกกฎหยุมหยิม” 

ความผิดพลาดที่องค์กรอาจคิดไม่ถึงคือ ‘การออกกฎหยุมหยิมสารพัด’ ทุกองค์กรจำเป็นต้องมีกฎระเบียบเป็นแนวทางให้พนักงานปฏิบัติ แต่ต้องดูให้ดีว่าเป็นกฎหยุมหยิม จนทำให้พนักงานดีๆ มีความรู้สึกว่าถูกผู้บริหาร ฝ่ายบุคคล หรือหัวหน้างานจับตามองอยู่ตลอดเวลาหรือเปล่า ทำให้พวกเขารู้สึกอึดอัดไหม

ถ้าพวกเขารู้สึกแบบนั้น และมีตัวเลือกงานใหม่ที่ดีกว่า องค์กรก็เตรียมตัวทำใจเลยว่า คนดีคนเก่งจะทิ้งองค์กรไปแน่นอน

 

“ดูแลทุกคนเท่าเทียมกัน” 

อีกเรื่องที่คนทำงานไม่ชอบก็คือ ‘องค์กรที่ดูแลพนักงานทุกกลุ่มเหมือนกัน’ ในสังคมโดยรวมคนเราอาจต้องการความยุติธรรม เรียกร้องความเสมอภาค แต่ในโลกของการทำงาน พนักงานที่อุทิศกายและใจให้กับงาน คนที่มีผลงานยอดเยี่ยมย่อมไม่อยากให้องค์กรปฏิบัติกับพวกเขาเหมือนกับพนักงานทั่วไป เช่น ไม่ว่าจะทำงานดีแค่ไหน แต่พอถึงเวลาประเมินผลงาน ทุกคนกลับได้ปรับเงินเดือนในอัตราเท่ากัน บอกเลยว่า พวกเขาไม่ปลื้มแน่ๆ

 

“ไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน” 

‘ดาวเด่น’ จะไม่ชอบองค์กรที่ไม่โชว์ ‘ภาพรวมและเป้าหมายที่ชัดเจน’ พวกเขาไม่ชอบหัวหน้าหรือองค์กรที่มอบหมายงานอย่างเดียว แต่ไม่อธิบายภาพรวมหรือเป้าหมายที่ต้องการอย่างชัดเจน คนกลุ่มนี้ทุ่มเทกับการทำงานมาก ดังนั้นพวกเขาต้องการรู้ว่างานที่ทำมีเป้าหมาย ไม่ชอบทำอะไรไปเรื่อยๆ ให้จบๆ แต่ไร้เป้าหมายอย่างสิ้นเชิง ถ้าพวกเขารู้สึกว่าทำไปไม่มีประโยชน์ ก็มีแนวโน้มจะออกไปค้นหางานที่มีความหมายในองค์กรอื่น

 

“ไม่เปิดโอกาสให้ใช้ความชอบส่วนตัว” 

พนักงานมากศักยภาพจะไม่ปลื้มองค์กรที่ ‘ไม่เปิดโอกาสให้พนักงานเติมเต็มความชอบส่วนตัว’ คนเก่งส่วนใหญ่มักมีความชอบหลงใหล (passion) สิ่งใดสิ่งหนึ่งเอามากๆ และบางองค์กรก็รู้จักหยิบจุดนี้มากระตุ้นให้พนักงานคิดสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ จากความชอบส่วนตัว เช่น Google กำหนดพนักงานใช้เวลาอย่างน้อย 20% ของเวลาทำงานทำอะไรก็ได้ที่พวกเขาคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับบริษัทมากที่สุด ซึ่งหลายโครงการที่พนักงานทำได้กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการของ Google ในภายหลังด้วย แถมยังช่วยสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมของพนักงานได้เป็นอย่างดี

ในทางกลับกัน บางองค์กรกลับรู้สึกว่าหากปล่อยให้พนักงานทำตามสิ่งที่ตัวเองชอบอาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงได้ ซึ่งก็เป็นความเชื่อที่ยังไม่มีอะไรมาพิสูจน์ว่าจะเป็นเช่นนั้น

 

“ชีวิตการทำงานไม่สนุก” 

พนักงานเก่งๆ ไม่ชอบองค์กร ‘ที่ไม่ทำให้ชีวิตการทำงานสนุก’ องค์กรที่ขึ้นชื่อว่าเป็นระดับสุดยอดของโลกที่ใครๆ ก็อยากทำงานด้วยมักเป็นองค์กรที่เข้าใจว่าควรปล่อยให้พนักงานรู้สึกผ่อนคลาย สนุกสนานบ้าง เช่น มีฟิตเนสหรือคลาสออกกำลังกาย จัดกิจกรรมสันทนาการต่างๆ ซึ่งนี่ก็เป็นไอเดียพื้นฐานง่ายๆ ว่า ถ้าทำงานแล้วสนุก คนก็จะทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ อยากใช้เวลาในออฟฟิศมากขึ้นและอยากอยู่กับองค์กรไปนานๆ

รู้แล้วว่าดาวเด่นขององค์กรไม่ปลื้มอะไร และหากไม่อยากสูญเสียพวกเขาไป ก็อย่าทำแบบนี้!

 

#WealthMeUp

 

กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

Related Stories

amazon anti fatigue mats