ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Facebook | Line | Youtube | Instagram
“ต้องกดเงินเฟ้อให้ลงไป 2%”
Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ระบุว่า เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา (ล่าสุดเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือนพฤษภาคม พุ่งแตะ 8.6% สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1981 หรือในรอบ 41 ปี) พร้อมกับปัจจัยอื่นๆ ที่อาจเข้ามาเซอร์ไพรส์ในอนาคต จึงจำเป็นที่ต้องตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ อย่างรวดเร็ว เพราะหากไม่สามารถควบคุมเงินเฟ้อให้กลับไปอยู่ในระดับ 2% ได้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเผชิญกับความเสี่ยง
อย่างไรก็ตามประธาน Fed เชื่อมั่นว่าขณะนี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความแข็งแกร่งมากพอที่จะรับมือกับนโยบายการเงินแบบตึงตัว พร้อมทั้งพูดถึงความกังวลใจต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ด้วยว่า Fed ไม่ได้พยายามกระตุ้นให้เกิด Recession และแม้จะยังไม่เห็นสัญญาณการเกิด Recession ในเร็วๆ นี้ แต่ “มีความเป็นไปได้แน่นอน” (certainly a possibility) เนื่องจากไม่มีเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ที่ทำให้ Fed ทำงานยากเท่ากับ การพยายามกดเงินเฟ้อให้ลดลง ขณะที่ตลาดแรงงานยังแข็งแกร่งอย่างมาก (อัตราการว่างงานเดือนพ.ค. แตะ 3.6% ต่ำที่สุดในรอบเกือบ 50 ปี)
ประเด็นเรื่อง Soft Landing นั้นประธาน Fed ระบุว่าเป็นเป้าหมายที่ผู้กำหนดนโยบายการเงินต้องการให้เป็นเช่นนั้น แต่เป็นเรื่องที่ “มีความท้าทายอย่างมาก” เนื่องจากสงคราม ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูง และปัญหา Supply Chain ยังคงกดดัน
“คาดขึ้นดอกเบี้ยแตะ 3.6% กลางปีหน้า”
นักลงทุนในตลาดประเมินว่า Fed มีแนวโน้มจะขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องไปจนถึงระดับ 3.6% ในช่วงกลางปี 2023 จากปัจจุบันที่ระดับ 1.5 – 1.75% (หลังขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ครั้งแรกในรอบ 28 ปีในการประชุมครั้งล่าสุด) โดยประธาน Fed ตอกย้ำความจำเป็นในการขึ้นดอกเบี้ยเช่นกัน ด้วยเหตุผลที่ว่า สถานการณ์ตลาดเงินในปัจจุบันมีความเหมาะสมที่จะต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อไป
“เงินเฟ้อ 3% ต่อเนื่อง 5-10 ปี”
ข้อมูลจาก University of Michigan ระบุว่าชาวอเมริกันเริ่มประเมินอัตราเงินเฟ้อระดับสูงจะอยู่ยาวนานขึ้น โดยคาดการณ์ว่า เงินเฟ้อในอีก 5-10 ปี ข้างหน้าจะอยู่ในระดับ 3.3% ซึ่งถือเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008 และมากกว่าคาดการณ์เดือนพ.ค. ที่ 3%
#WealthMeUp
ที่มา: https://www.bloomberg.com/…/powell-sees-ongoing-rate…