×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

6 เรื่อง ‘การเงิน’ ต้องทบทวน ก่อนส่งท้ายปี

1,309

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

อยากชวนทุกคนมาทบทวนว่าในปีที่กำลังจะผ่านไป คุณได้เริ่มทำเรื่องเหล่านี้แล้วหรือยัง เพื่อให้การตั้งเป้าหมายของปีหน้าทำได้ชัดเจนและตอบโจทย์กับชีวิตของเราได้มากที่สุด ลองมาสำรวจตัวเองไปกับ 6 เรื่องสำคัญทางการเงินที่ต้องทบทวน ก่อนส่งท้ายปีกัน 

 

สำรวจความมั่งคั่ง 



อย่างแรกทุกคนควรรู้สถานะทางการเงินของตัวเอง ด้วยการจัดทำรายการสินทรัพย์และหนี้สิน เราจะได้เห็นว่าในแต่ละปี เรารวยขึ้นหรือจนลงเท่าไร 

 

ความมั่งคั่งสุทธิ = มูลค่าสินทรัพย์มูลค่าหนี้สิน

 

เพื่อให้เห็นภาพการเงินของเราให้ชัดขึ้น อาจแบ่งสินทรัพย์เป็น สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง และสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ เพื่อให้ประเมินสถานะทางการเงินได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น สำหรับหนี้สินควรแบ่งเป็นหนี้ดี ซึ่งได้แก่หนี้ที่สามารถใช้ในการต่อยอดสร้างรายได้ และหนี้สินที่พึงระวัง เช่น หนี้จากการบริโภค ซึ่งในส่วนนี้มักมีดอกเบี้ยสูงและเป็นหนี้ระยะสั้น ควรรีบจัดการจบหนี้ส่วนนี้ให้เร็วที่สุด 

 

ประเมินเงินสำรองฉุกเฉิน  



เงินสำรองฉุกเฉินเป็นเงินก้อนแรกที่ควรมีให้เพียงพอ ก่อนเริ่มต้นเก็บออมเงินส่วนอื่นๆ โดยควรมีประมาณ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือนสำหรับพนักงานประจำ และ 12 เท่าสำหรับฟรีแลนซ์  


รูปแบบสำหรับการเก็บเงินส่วนนี้ควรเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง สามารถดึงออกมาใช้ได้ง่ายเมื่อถึงคราวจำเป็น เช่น บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือ การลงทุนในกองทุนตลาดเงิน เป็นต้น 

 

สำรวจพฤติกรรมการใช้จ่าย 


หากเป็นไปได้ควรเริ่มจดบันทึกรายรับรายจ่ายของตัวเอง ซึ่งตอนนี้มีแอปพลิเคชันมากมายที่ช่วยให้การจดบันทึกทำได้ง่าย สะดวก ทำได้ทุกที่ทุกเวลา เพื่อให้เราใช้วิเคราะห์และควบคุมพฤติกรรมการใช้จ่ายของตัวเองได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย 

 

ทบทวนแผนเกษียณ 



ส่วนนี้ถือเป็นเป้าหมายที่ระยะยาวที่สุดก็ว่าได้ ควรเริ่มต้นให้เร็วที่สุด เพราะเป็นแผนการเงินที่ต้องอาศัยเวลา และความมีวินัยอย่างต่อเนื่อง จึงอยากแนะนำให้แบ่งเป้าหมายออกเป็นย่อยๆ โดยการตั้งเป้าว่าในแต่ละปีเงินส่วนนี้ควรจะเติบโตขึ้นเป็นเท่าไร นอกจากนี้ ทุกๆ ปีควรมีการทบทวนและอาจต้องปรับแผน หากมีปัจจัยมากระทบและทำให้เป้าหมายเดิมที่วางไว้ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป 

 

ทบทวนแผนประกันภัย

 

ลองทบทวนดูว่า ประกันภัยที่มีอยู่แล้ว รวมกับสวัสดิการที่ได้รับจากบริษัท หรือ ภาครัฐเพียงพอในการรองรับเหตุฉุกเฉินหรือความเจ็บป่วยได้แค่ไหน รวมทั้งทรัพย์สินที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น บ้าน รถ ก็ควรมีประกันภัยที่ครอบคลุมความเสี่ยงภัยที่อาจเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน และสิ่งที่อยากฝากไว้คือการทำประกันภัยยิ่งทำเร็วก็ย่อมดีกว่า เพราะความคุ้มครองจะยิ่งเริ่มต้นได้เร็วขึ้น

 

วางแผนภาษี 

 

ภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถวางแผนให้ประหยัดภาษีเพิ่มขึ้นได้ ด้วยการวางแผนการลงทุนและการทำประกันภัยประเภทที่ให้สิทธิในการลดหย่อนภาษี เช่น กองทุนรวม SSF RMF ประกันชีวิต และประกันสุขภาพ เป็นต้น 

 

โดยการวางแผนภาษีต้องเริ่มจากการสรุปรายได้ตลอดทั้งปี แล้วพิจารณาว่าสามารถหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอะไรได้บ้าง ซึ่งในส่วนค่าลดหย่อนนี้เองที่เราสามารถวางแผนได้ ว่าหากต้องการลดหย่อนภาษีเพิ่มขึ้น จะสามารถลงทุนหรือทำประกันภัยแบบใดที่จะได้สิทธิในการลดหย่อนภาษีได้บ้าง ทั้งนี้ เนื่องจากการลงทุนเพื่อสิทธิในการลดหย่อนภาษีมักกำหนดระยะเวลาในการถือครองไว้ค่อนข้างยาว การตัดสินใจลงทุนหรือทำประกันภัยจึงควรพิจารณาถึงความจำเป็นในการใช้เงินก้อนนี้ในอนาคตด้วย 

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats